บีโอไอตั้งเป้ายอดขอส่งเสริมลงทุนปีนี้ 720,000 ล้านบาท

กรุงเทพฯ  12 ม.ค. – บีโอไอตั้งเป้ายอดขอส่งเสริมลงทุนปีนี้ 720,000 ล้านบาท เพิ่มร้อยละ 12 จากเป้าปี 60 ส่วนผลงานปี 60 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมูลค่า 641,978 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 600,000 ล้านบาท


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และมอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนปี 2561 โดยนายสมคิด ระบุว่า ยอดยื่นโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2560 เกินเป้าหมายร้อยละ 22 ในจำนวนนี้เป็นโครงการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษหรืออีอีซีถึงร้อยละ 46  สำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนปีนี้ได้มอบหมายให้บีโอไอจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมการเกษตรมากขึ้นทั้งการเพิ่มผลิตภาพในการผลิตการแปรรูปอาหารแห่งอนาคต ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในประเทศไทยรวมถึงไบโอเทคโนโลยี และส่งเสริมการลงทุนในอุุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวครบวงจร ส่งเสริมการลงทุนในสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลและอื่น ๆ เพื่อรองรับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งในสถาบันการศึกษาและภายในบริษัทเอง 

นอกจากนี้ บีโอไอจะจัดงานที่ Opportunity Thailand วันที่ 19 มีนาคม 2561 โดยปีนี้จัดภายใต้แนวคิด Thailand taking off เพื่อแสดงความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาค รวมถึงให้นักลงทุนทราบถึงความคืบหน้าและผลจากการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และเข้าใจจุดเปลี่ยนของช่วงของเศรษฐกิจประเทศไทย


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดงาน Thailand taking off ถือเป็นงานที่แสดงถึงจุดเปลี่ยนสำคัญการลงทุนของประเทศไทยและเป็นจุดเริ่มการลงทุนรอบใหม่ หลังจากปีที่ผ่านมามีการปลดล็อคหลายเรื่องทั้งกฎหมายและเรื่องอื่น ๆ รวมถึงการทำสมาร์ทวีซ่า การจัดงานครั้งนี้จัดช่วงเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น โดยธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มั่นใจว่าการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ.อีอีซี จะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนเดือนมีนาคมนี้ รวมถึงทีโออาร์ของรถไฟความเร็วสูงก็จะจัดทำเสร็จช่วงนี้เช่นกันขณะที่การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะทำ market sounding ครั้งแรก ทั้งนี้ การกระชับความสัมพันธ์เป็นการปลดล็อคทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่นักลงทุนจะสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันนักลงทุนที่เข้ามาในประเทศไทยเป็นนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นสำคัญ

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ เปิดเผยว่า ปี 2561 บีโอไอตั้งเป้าหมายยอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 720,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายปี 2560 ที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 นับเป็นการตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นแล้วจากที่ปกติจะตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 สำหรับผลการดำเนินงานนปี 2560 มียอดนักลงทุนยื่นโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมรวม 1,456 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 641,978 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการยื่นขอลงทุนในพื้นที่อีอีซี 388 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 296,889 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด 641,978 ล้านบาท เป็นการยื่นขอรับส่งเสริมใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นมูลค่า 392,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 241,055 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่หรือ new s Curve 151,087 ล้านบาท ส่วนปี 2561 มีแผนส่งเสริมการลงทุนเพื่อสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 และผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี

เลขาธิการบีโอไอ กล่าวเพิ่มเติมว่า บีโอไอยังคงมีแผนเดินสายชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศและกำหนดประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ยุโรป เป็นต้น เพื่อเผยแพร่นโยบายและรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอและรัฐบาล ในการเดินสายชักจูงการลงทุน ประกอบด้วยคณะชักจูงการลงทุนที่นำโดยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีรวมไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และคณะชักจูงการลงทุนซึ่งนำโดยผู้บริหารบีโอไอกว่า 30 ครั้ง ในปีนี้บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนในพื้นที่อีอีซี อีกไม่น้อยกว่า 15 ครั้ง โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการชักจูงการลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ หรือ FDI ปี 2560 พบว่าอันดับ 1 โครงการลงทุนจากญี่ปุ่น มูลค่า 133,002 ล้านบาท อันดับ 2 สิงคโปร์ มูลค่า 40,366 ล้านบาท อันดับ 3 จีน 27,514 ล้านบาท อันดับ 4 สหรัฐอเมริกา 20,022 ล้านบาท และอันดับ 5 เนเธอร์แลนด์ 15,842 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

กต.ย้ำมีแผนพร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอล-เลบานอน

กต.ประชุมประเมินสถานการณ์อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ย้ำมีแผนอพยพพร้อม เผย 5 แรงงานไทยเตรียมเดินทางกลับ แนะประชาชนตัดสินใจก่อนน่านฟ้าปิด

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ