เปิดข้อมูลเส้นความยากจน-สัดส่วนคนจนในไทย

กทม. 9 ม.ค. – เครื่องมือกำหนดเกณฑ์ความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำของบุคคล คือ เส้นความยากจน โดยมีเกณฑ์วัดเป็นรายปี หากบุคคลใดมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนจน ในปี 2559 เส้นความยากจนทั่วประเทศอยู่ที่ 2,667 บาทต่อคนต่อเดือน แม้เส้นความยากจนเพิ่มสูงขึ้น แต่ภาพรวมไทยมีคนจนลดลงชัดเจน


 

ข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ประจำปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ในปี 2531 ไทยมีเส้นความยากจนที่ 879 บาทต่อคนต่อเดือน ถัดมาในปี 2541 ขยับขึ้นมาที่ 1,533 บาทต่อคนต่อเดือน จากนั้นในปี 2549 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2,667 ต่อคนต่อเดือน ต่อเนื่องในปี 2554 และ ปี 2557 ขยับมาที่ 2,415 บาท และ 2,647 บาทต่อคนต่อเดือน และล่าสุดในปี 2559 เส้นความยากจนอยู่ที่ 2,667 บาทต่อคนต่อเดือน


แม้ตัวเลขรายได้เส้นความยากจนเพิ่มสูงขึ้นตามสภาวการณ์โลก แต่ไม่ได้กระทบกับการแก้ไขปัญหาคนยากจน พบว่าปี 2531 ไทยมีคนจนถึง 34.1 ล้านคน หรือร้อยละ 65.17 ต่อมาอีก 10 ปีให้หลังปี 2541 สถานการณ์ดีขึ้น มีคนจน 22.7 ล้านคน หรือร้อยละ 38 ถัดมาปี 2554  มีคนจน 8.8 ล้านคน ปี 2557 มีคนจน 7.1 ล้านคน หรือร้อยละ 10.53 และท้ายสุดปี 2559 มีคนจนลดลง เหลือเพียง 8.61 ล้านคน หรือร้อยละ 5.8 

หากแบ่งเป็นรายภาคพบว่า ในปี 2559 ประชากรภาคอีสานมีสัดส่วนคนจนมากที่สุดที่ร้อยละ 12.96 รองลงมาคือภาคใต้ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ตามมาด้วยภาคเหนือและภาคกลาง และในกรุงเทพมหานคร มีคนจนน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 1.36 


เจาะลึกลงไปในรายจังหวัด ข้อมูลจาก สศช. ระบุว่า จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 ลำดับแรกปี 2559 พบว่า แม่ฮ่องสอนมีสัดส่วนคนจนมากที่สุด คือ ร้อยละ 39.21 รองลงมา นราธิวาส ปัตตานี กาฬสินธุ์ นครพนม ชัยนาท ตาก บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ และน่าน 

นอกจากนี้พบว่ามีทั้งแม่ฮ่องสอน นราธิวาส ปัตตานี กาฬสินธุ์ ตาก และบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง และมีสัดส่วนคนจนอยู่ในลำดับสูงสุด 10 ลำดับแรกเกือบทุกปีตั้งแต่ 2543-2559

ขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจสังคมในครึ่งปีแรกของ 2560 แบ่งกลุ่มครัวเรือนตามรายรับเป็น 5 กลุ่ม จะเห็นได้ว่าเกิดความเหลื่อมล้ำชัดเจน โดยกลุ่มที่ 1 มีรายรับปี 2558 ที่ 1,973 บาทต่อคนต่อเดือนเพิ่มขึ้นมาเป็น 2,496 บาทต่อคนต่อเดือน แต่หากเทียบกับกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง พบว่าห่างจากกลุ่ม 1 กว่า 10 เท่า หรือหากเปรียบเทียบรายได้กลุ่มที่ 5 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันกว่า 2 เท่า

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์ในไทยเป็นอย่างไร แต่ตัวชี้วัดเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก พบว่าธนาคารโลกจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง คือครัวเรือนละ 3,956-12,235 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 127,000-394,000 บาทต่อปี ซึ่งประเทศที่มีรายได้ปานกลางในแถบอาซียนคือ มาเลเซีย ส่วนกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงคือ ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ส่วนในสมาชิกอาเซียนมีทั้งสิงคโปร์ และบรูไน. – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

เปิดปมสังหารยกครัว 4 ศพ แค้นชู้สาว

เปิดปมเหตุสลดฆ่ายกครัว 3 ศพ ก่อนผู้ก่อเหตุยิงตัวเองเป็นศพที่ 4 ใน จ.สมุทรปราการ พบข้อมูลว่าความแค้นครั้งนี้มาจากเรื่องชู้สาว แต่ลูกชายของผู้ตายยังไม่เชื่อว่าแม่มีความสัมพันธ์กับมือปืน แต่ยอมรับมือปืนให้เงินแม่ใช้ทุกวัน

ศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” ชี้พฤติการณ์ร้ายเเรง

ทนายเผยศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” เพราะพฤติการณ์ร้ายเเรง เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งประกัน ด้าน “แม่สามารถ” วอนผู้มีอำนาจอย่าเอาความลูกชายตน ลั่นหลังจากนี้จะสู้เพื่อความยุติธรรม