กรุงเทพฯ 3 ม.ค. – หนึ่งในหัวข้อที่แชร์กันมากบนสังคมออนไลน์ คือ การแนะนำสารพัดอาหารมหัศจรรย์ต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเรื่องเป็นความจริง ติดตามวิธีแยกแยะตรวจสอบจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์. – สำนักข่าวไทย
บทสรุป : แชร์ต่อได้ หากข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือ ไม่โอ้อวด
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีมีการแชร์ข้อมูลอาหารมหัศจรรย์ต่างๆ ว่า ข้อมูลอาหารที่ไม่ถูกต้องอาจกระทบต่ออาการป่วยของคนไข้ การที่เตือนเพราะมีการสืบค้นข้อมูลมาแล้วว่ามีงานวิจัยรองรับ, มีการศึกษาในสัตว์ทดลองหรือคนจริงๆ อย่างไรก็ตาม การจัดอาหารให้ดีช่วยให้คนไข้มีอายุยืนยาว งดการกินยาได้
นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอิสระ ระบุไม่ควรเชื่อการอวดอ้างสรรพคุณของอาหาร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ไม่มีการอ้างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ย้ำว่า “อาหาร” รักษาโรคไม่ได้ แต่ช่วยเสริมสร้างการรักษาได้ ยกเว้นกินอาหารแบบเดิม รับสารอาหารซ้ำๆ มากเกินไป กลับเป็นผลร้ายต่อร่างกาย
ผู้เชี่ยวชาญย้ำว่าควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลากหลาย ถูกสุขลักษณะ ไม่หวาน-มัน-เค็มจัด ออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ ไม่เครียด
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter