กรุงเทพฯ 1 ม.ค.-หนึ่งในข้อมูลที่มักมีการแชร์บนโซเชียล คือ การเตือนภัยสภาพอากาศและภัยธรรมชาติต่างๆ เราจะมีวิธีแยกแยะข้อมูลจริงและเท็จอย่างไร? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป : จริง แชร์ต่อได้
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงการเตรียมตัวกรณีได้รับข่าวสารสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติว่า ส่วนมากเป็นข่าวเท็จ, ลวง จึงควรใช้สติในการรับฟังข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ล่วงหน้าถึง 15 วัน “เตือนภัยพายุ” กรมฯ จะเตือนเมื่อพายุเข้าไทยในรัศมีที่จะส่งผลต่อไทยในอนาคต ประกาศเป็นทางการเฉพาะพายุที่มีผลกระทบต่อไทยเท่านั้น ยืนยันว่าการประกาศเตือนของกรมฯ ประชาชนสามารถเตรียมตัวรับมือทัน
อธิบดีกรมอุตุฯ ย้ำว่ากรมฯ จะไม่ประกาศเตือนเรื่องที่ไม่มั่นใจ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ที่ผ่านมาเรื่อง “อากาศร้อน” เป็นเรื่องที่กรมฯ พยากรณ์อากาศได้ตรงที่สุด เนื่องจากมีสาเหตุที่ชัดเจน “อากาศหนาว” รองลงมา ตามด้วย “พายุ”
แนะนำว่าเมื่อได้รับการแชร์ข้อมูลสภาพอากาศ หากไม่ผ่านระบบทางการงดแชร์ต่อ แต่หากอยากแชร์ควรตรวจสอบกับกรมอุตุฯ ที่สายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ของกรมอุตุฯ โดยตรง
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter