เอกชนคาดหวังรัฐเปิดผลิตไฟฟ้าขยะชุมชนรอบใหม่

กรุงเทพฯ 14 ธ.ค. – เอกชนหาผู้ร่วมทุนผลิตไฟฟ้าโครงการขยะชุมชน Quick Win Projects และหวังภาครัฐเปิดรอบใหม่อีก 50 เมกะวัตต์หรือไม่ กกพ.ชี้รอนโยบายกระทรวงพลังงาน


นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า หลังจากที่ กกพ.ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) เพื่อรับซื้อไฟฟ้าประมาณ 78 เมกะวัตต์ โดยบัญชีผู้ดำเนินการเป็นไปตามโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และข้อมูลศักยภาพระบบไฟฟ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการระยะแรก หรือ Quick Win Projects ที่ได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร พบว่าขณะนี้มีการร้องเรียนเรื่องการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่บางรายดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ทาง กกพ.ก็ขอยืนยันว่าจะทำอีไอเอได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ) เรียบร้อยแล้วเท่านั้น ส่วนจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากขยะรอบใหม่ที่เหลืออีก 50 เมกะวัตต์เมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายกระทรวงพลังงาน

สำหรับกรณีการเปิดดำเนินการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ 70 เมกะวัตต์ ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP ที่จะนำมารวมกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทั้ง 30 เมกะวัตต์ที่มีอยู่เดิม เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าเอสพีพีแบบ NON FIRM 90 เมกะวัตต์นั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดดำเนินการผลิต หรือ COD ได้  ล่าสุด กกพ.ได้สอบถามไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ว่าการมีพีพีเอจำนวน 1 สัญญา แต่รายงานการวิเคราะห์อีไอเอคนละฉบับจาก 2 โรงไฟฟ้า ซึ่งรวมเป็น 1 โรงนั้นจะทำให้ปริมาณมลพิษเกินกว่ากำหนดหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ TPIPP ต้องจัดทำอีไอเอใหม่อีกรอบ เพื่อรวมเป็นฉบับเดียวหรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังต้องรอคำตอบจากทาง สผ.ก่อน


นายวรวิทย์ เลิศบุษศราคาม รองผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายโรงงาน TPIPP กล่าวว่า ขณะนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลายพื้นที่เตรียมให้เอกชนยื่นประมูล เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินโครงการไฟฟ้าขยะชุมชนรอบใหม่ที่รัฐจะประกาศ  เช่น อบจ.นนทบุรี 1 โครงการ กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ รู้ผลผู้ชนะการประมูลช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ขณะที่จังหวัดอุบลราชธานี , อุดรธานี  ,สงขลา ก็เตรียมพร้อมที่จะประกาศทีโออาร์เชิญชวนการลงทุนเช่นกัน คาดว่าพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์  โครงการ กทม. 2 โครงการ โครงการละ 20 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันโครงการควิกวิน 78 เมกะวัตต์เอกชนผู้ร่วมทุนรายเดิมก็หาผู้ร่วมทุนใหม่ ก็นับเป็นโอกาสที่บริษัทจะได้เข้าร่วมทุนด้วย 

“องค์กรท้องถิ่นและภาคเอกชนอยากเห็นภาครัฐเปิดให้ดำเนินการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนรอบใหม่โดยเร็ว ส่วนโครงการควิกวินมีเอกชนผู้ร่วมดำเนินการกับ อบต. อบจ.หลายแห่งเริ่มหาผู้ร่วมทุน ซึ่งบริษัทจะเข้าร่วมหรือไม่ ก็ขอดูจุดคุ้มทุนด้วย เพราะโครงการนี้จะไม่ได้ค่ากำจัดขยะจะได้เพียงค่าไฟฟ้า FIT เท่านั้น” นายวรวิทย์ กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาโอกาสเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นที่ดิน (โซลาร์ฟาร์ม) เพื่อเสริมรายได้  โดยปีหน้าบริษัทคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 440 เมกะวัตต์ หลังจากสิ้นปีนี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 220 เมกะวัตต์ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน 150 เมกะวัตต์ (TG 8) ก่อสร้างล่าช้าไปจากแผนทำให้ต้องเลื่อนเข้าระบบไปเป็นช่วงไตรมาส 1 ปีหน้าและโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 70 เมกะวัตต์ (TG 6) ที่ติดปัญหาเรื่องใบอนุญาตซ้ำซ้อนจาก กกพ.คาดว่าจะมีความชัดเจนต้นปีหน้า 


ทั้งนี้ โครงการควิกวินที่ กกพ.เปิดรับซื้อ 78 เมกะวัตต์นั้น ได้เปิดให้ยื่นคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2560-30 มีนาคม 2561 และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกภายในวันที่ 30 เมษายน 2561 โดยบัญชีเจ้าของโครงการ คือ อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น ประกอบด้วย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 21 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเจ้าของโครงการ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งโรงไฟฟ้า ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล 1 โครงการ 5 เมกะวัตต์ , เจ้าของโครงการ เทศบาลตำบลนครหลวง 2 โครงการ ในตำบลบางระกำ อำเภอนครหลวง 1 โครงการ 8 เมกะวัตต์ และตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี 1 โครงการ 8 เมกะวัตต์ 

จังหวัดนนทบุรี รวม 13 เมกะวัตต์ ได้แก่ เจ้าของโครงการ อบจ.นนทบุรี (2) ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย 1 โครงการ 8 เมกะวัตต์ และ อบจ.นนทบุรี (3) ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย 1 โครงการ 5 เมกะวัตต์ จังหวัดระยอง เจ้าของโครงการ อบจ.ระยอง ตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง 1 โครงการ 8 เมกะวัตต์ ,จังหวัดหนองคาย เจ้าของโครงการ อบจ.หนองคาย ตำบลโพนสว่าง อำเภอเมือง 1 โครงการ 6 เมกะวัตต์ ,จังหวัดกระบี่ เจ้าของโครงการ เทศบาลเมืองกระบี่ อำเภอเมือง 1 โครงการ 4.4 เมกะวัตต์,จังหวัดตาก เจ้าของโครงการ เทศบาลแม่สอด ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด 1 โครงการ 5.5 เมกะวัตต์, จังหวัดอุดรธานี เจ้าของโครงการ เทศบาลอุดรธานี ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง 1 โครงการ 8 เมกะวัตต์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ เจ้าของโครงการ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เขตหนองแขม 2 โครงการ โครงการละ 3 เมกะวัตต์ และเจ้าของโครงการ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ 2 โครงการ ๆ ละ 3 เมกะวัตต์ .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น