สรรพากรเดินหน้าเก็บภาษีออนไลน์-กำชับเอสเอ็มอีทำบัญชีเดียว

กรมสรรพากร 30 พ.ย. – กรมสรรพากรเดินหน้าจัดเก็บภาษีออนไลน์ เพื่อดึงผู้ค้าเข้าระบบ กำชับสำนักงานบัญชีแนะรายย่อยจัดทำบัญชีเดียว หลังพบว่าธุรกิจจดทะเบียนจัดทำบัญชีเดียวเพียง 150,000 ราย งัดโทษฟอกเงิน ปปง.เอาผิด หากพัวพันหลีกเลี่ยงภาษี 



นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในงานสัมมนา “สำนักงานบัญชี ก้าวไปพร้อมกับกรมสรรพากร” ว่า หลังจากทำความเข้าใจกับสำนักงานบัญชีแนะนำลูกค้าผู้ประกอบการหลายรายให้ปรับตัวในช่วงที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้จัดทำบัญชีเดียว แต่พบว่ามีผู้ประกอบการอีกหลายรายยังทำบัญชีเหมือนเดิม เพราะหากยังใช้บัญชีรูปแบบเดิมคงต้องเผชิญความเสี่ยงอีกหลายด้าน เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลเริ่มส่งเสริมให้ประชาชนใช้เงินผ่าน QR-Code  รูดบัตรผ่านเครื่อง EDC จึงยอดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การซื้อขายแบบไร้เงินสดจะปรากฏข้อมูลอยู่ในระบบ เมื่อมีหลักฐานการใช้จ่ายแต่ไม่ยอมลงบัญชี การใช้ดุลพินิจผ่อนปรนเหมือนเดิมจะช่วยเหลือไม่ได้ จึงต้องการเร่งรัดให้เอกชนรายย่อยปรับตัว  หลังจากกฎหมายของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คุมเข้มเรื่องการฟอกเงินตามข้อตกลงของ FATF เริ่มบังคับใช้และกำหนดให้กรมสรรพากรต้องส่งเรื่องไปยัง ปปง.แจ้งดำเนินคดีผู้หลีกเลี่ยงภาษี


นายประสงค์ กล่าวว่า กฎหมาย ปปง.เรื่องการฟอกเงินลงโทษรุนแรงกว่ากรมสรรพากร หากมีส่วนเกี่ยวข้องเข้าข่ายองค์ประกอบกระทำความผิดด้วย  ขณะนี้ส่งเรื่องให้ ปปง.ดำเนินคดีหลายราย  ยอมรับว่าตั้งแต่ออกกฎกระทรวงให้ทำบัญชีเดียวตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เกือบครบ 2 ปีแล้ว ผู้ประกอบการทำบัญชีเดียวเพียง 150,000 ราย มีสัดส่วนครึ่งหนึ่งจากเอสเอ็มอีทั้งระบบลงทะเบียนกว่า 300,000  ราย ทั้งอุปโภคบริโภค ร้านอาหาร ซื้อขายทั่วไป ธุรกิจร้านทอง ร้านซ่อมรถ ร้านขายยา ยังเน้นเรื่องธุรกิจเงินสด นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงินพิจารณาให้สินเชื่อจากบัญชีเดียวเท่านั้น  เช่น ร้านทองจากทั้งหมด 7,000 ราย ยังเหลือนับพันรายที่ยังทำบัญชี 2 เล่ม อาจเป็นกลุ่มเน้นปล่อยกู้รับจำนำทอง จึงต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนเทศกาลคริสต์มาสปีนี้ เพื่อให้กรมสรรพากรแวะไปเยี่ยมร้านทองพูดคุยให้ร้านทองเข้าระบบเหมือนกับรายอื่น

สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากการค้าออนไลน์นั้น นายประสงค์ กล่าวว่า  ได้หารือกับสถาบันการศึกษาและเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะหากภาษีออนไลน์ในประเทศไม่แข็งแรงจะมีจุดอ่อนถูกระบบออนไลน์ต่างประเทศโจมตีจนเกิดความเสียหาย เช่น ปัจจุบันเริ่มมีชาวจีนมาค้าขายแบบออนไลน์มากขึ้น มูลค่าการค้าผ่านออนไลน์ในปัจจุบันสูงนับแสนล้านบาท จึงต้องเร่งแก้ไขกฎหมายแบ่งออกทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การแก้ไขประมวลรัษฎากร  2.การแก้ไขเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศหากต่ำกว่า 1,500 บาทต่อรายการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อส่งทางไปรษณีย์ และ 3.การแก้ไขหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ของนิติบุคคล เมื่อค้าขายผ่านออนไลน์  ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ค้ารายใหญ่อี-คอมเมิร์ซค้าขายในระบบออนไลน์ ยอมรับว่าพร้อมเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพราะหากโฆษณาในประเทศซื้อขายสินค้าจากในประเทศควรเสียภาษีให้ถูกต้อง จึงต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนเพิ่ม คาดว่าออกกฎหมายกลางปีหน้า 

สำหรับการจัดเก็บรายได้ภาษีเดือนตุลาคมนั้น มียอดรายได้เกินเป้าหมาย 700 ล้านบาท ในเดือนธันวาคมอาจลดลงบ้าง เพราะประชาชนชะลอการใช้จ่ายในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  แต่เมื่อมีมาตรการช้อปช่วยชาติเข้ามากระตุ้นการซื้อจะเป็นแรงผลักดันให้การใช้จ่ายสูงขึ้นบ้าง จึงคาดว่าทั้งปีจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมาย 1.928 ล้านล้านบาท 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมากรมสรรพากรเปิดเวทีรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….รองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)  เพื่อดำเนินการรัฐธรรมนูญมาตรา 77  มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก  จึงต้องเปิดเวทีรับฟังความเห็นเร็ว ๆ นี้อีกครั้ง เพื่อนำความเห็นจากหลายฝ่ายมาปรับปรุงแก้ไขให้ครอบคลุมทุกประเด็น  เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาภาษีซ้อน เพื่อแก้ไขประมวลรัษฎากร แต่ไม่ใช่การออกกฎหมายใหม่เพิ่ม เพราะไทยเป็นสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ร่วมกับกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ข้อตกลงความร่วมมือแบบพหุภาคีของ OECD ในรูแบบ ( BEPS:  Base erosion and profit shifting) คือ การหลีกเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างและกฎเกณฑ์ทางภาษีที่ไม่สอดคล้องกันและการเคลื่อนย้ายกำไร เพื่อเสียภาษีในประเทศที่มีภาระภาษีต่ำหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างลง รวมถึงจัดสรรอำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดมูลค่า รวมถึงหลีกเลี่ยงการกีดกันและคงความยุติธรรมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นปัญหากับหลายประเทศ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง