เตือน ปตท.-3 การไฟฟ้ารับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงการใช้ฟอสซิลลดลง

กรุงเทพฯ 14 ก.ย.-ก.พลังงานส่งสัญญาณเตือน ปตท.- 3 การไฟฟ้า ปรับปรุงการทำงานรับเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน การผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาตัวเองมากขึ้น เตือนเบื้องต้นอาจส่งผลค่าไฟฟ้าแพงขึ้นบ้าง ศึกษาแผนรองรับผลกระทบอนาคต รวมไปถึงเปิดเสรีสายส่ง เปิดเอกชนทำ MICRO GRID


พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว ปาฐกถาหัวข้อ “ทิศทางและนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศสู่พลังงาน 4.0″ว่า กระทรวงพลังงาน กำลังเร่งดำเนินการ และเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูล โดยประเด็นหลัก คือ ความต่อเนื่องของการผลิต ไม่ว่าจะเป็นรายเก่าหรือรายใหม่  โดยยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงาน ใน 20 ปีข้างหน้า คือ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน ราคาเป็นธรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด และพัฒนาบุคลากร ซึ่งภาคพลังงาน มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเพิ่ม GDP ของประเทศ เมื่อนักลงทุนต่างประเทศเข้ามา โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก( EEC) ก็ต้องให้ความสำคัญในความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน

“ก.พลังงานทบทวนยุทธศาสตร์ประจำปี2561 ทั้งเพิ่มขีดแข่งขันของประเทศ การขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานจะต้องมียุทธศาสตร์เปรียบเทียบกับจีดีพีที่ปัจจุบันไทยนำเข้าพลังงานคิดเป็น 6%ของจีดีพี และมีการลงทุนด้านพลังงานคิดเป็นมูลค่า 5-6แสนล้านบาท และการพัฒนาบุคลากร จะต้องกำหนดทั้งยุทธศาสตร์เก่า และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนงานใหม่ เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแห่งอนาคต disruptive technology” พล.อ.อนันตพรกล่าว


พล.อ.อนันตพร กล่าวด้วยว่า เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่พัฒนาขึ้น ทำให้รูปแบบการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตจะเปลี่ยนไป เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้เชื้อเพลิงสะอาด มากยิ่งขึ้น มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อป มากขึ้น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายจาก อย่างไรก็ตาม  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ยังจำเป็นต้องเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าให้พร้อมรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค)  ภาพรวมๆเมื่อออกมาเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าของประชาชนทั้งประเทศอาจส่งให้แพงขึ้น  ในขณะที่ ผู้ประกอบธุรกิจขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะต้องปรับตัวเพราะความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าลดลง  

             ” ก.พลังงาน อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบจากการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ที่ปัจจุบันเริ่มเห็นการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างค่าไฟฟ้าทำให้พีคเปลี่ยนจากกลางวัน ไปเป็นกลางคืน ซึ่งหากมีผลกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้า ในอนาคตอาจจะต้องปรับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)ใหม่ ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีไม่มากอยู่ที่ ร้อย1-2ของการผลิตไฟฟ้า ยังไม่กระทบต่อระบบ แต่ก็ต้องวางแผนรับมือ หากขึ้นไปถึงร้อยละ 10 จะมีผลกระทบต่อระบบและความมั่นคง จำเป็นที่จะต้องศึกษาทำแผนรองรับ”               พล.อ.อนันตพร กล่าว

นาย ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ.)กล่าวในเงาน เสวนา”เศรษฐกิจฟื้น …แต่..พลังงานฟุบ” ซึ่งจัดโดย นักศึกษา หลักสูตรด้านวิทยาการพลังงานสำหรับผู้บริหารระดับสูง (วพน.)รุ่น 9 ว่า ราคาน้ำมันที่ลดลง และ disruptive technology  ในการผลิตและการใช้พลังงาน คือ มีการผลิตไฟฟ้าใช้เองเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ก็ทำให้การใช้พลังงานมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ก๊าซและการใช้ไฟฟ้าลดลง ดังนั้น  รัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ทั้ง3 การไฟฟ้า และ ปตท.  ต้องปรับ เพิ่มประสิทธิภาพ รองรับ disruptive technology  และเพื่อการแข่งขันตามรัฐธรรมนูญปี 60  หากปรับตัวไม่ทันจะแข่งขันไม่ได้ ซึ่งเปรียบเสมือนจะถูกทิ้งกลางทาง


“ความเสี่ยงด้านพลังงาน เช่น ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติลดลง เราต้องปรับ mode ไปใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นมาผลิตไฟฟ้า  ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินถูกต่อต้าน และเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ก.พลังงานก็เดินหน้าเปิดเสรี ท่อก๊าซ คลังแอลเอ็นจี  และกำลังศึกษาเปิดให้ลงทุน MICRO GRID  ทำให้เกิดการแข่งขัน นำมาซึ่งการจัดหาพลังงานอย่างเพียงพอ ราคาเป็นธรรม” นาย ทวารัฐกล่าว

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า กฟผ.พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ยังรับนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน กระจายเชื้อเพลิง ซึ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินตอบโจทย์ด้านนี้ เพราะต้นทุนต่ำ และดูแลสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เมื่อต้องเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็คาดหากได้รับอนุมัติก่อสร้างก็จะเริ่มผลิตได้ในเวลา 8 ปีข้างหน้า ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา ในส่วนผลศึกษาอีเอชไอเอผ่านแล้ว ก็รอเพียงในส่วนท่าเทียบเรือ ส่วนแผนลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 2 พันเมกะวัตต์ ก็เดินหน้านโยบายของรัฐในการส่งเสริมพลังงานทดแทน และช่วยส่งเสริมนโนบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่