แนวทางพิพากษาคดีจำนำข้าว ชี้ชะตา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”

กทม. 24 ส.ค. – นับถอยหลังคดีทุจริตรับจำนำข้าวที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นจำเลย ซึ่งวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะอ่านคำพิพากษา รวมถึงคดีซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งมีอดีตรัฐมนตรีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ข้าราชการและเอกชนร่วมเป็นจำเลยรวม 28 คน


ทุกสายตาจับจ้องที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จากข้อกล่าวหาว่าโครงการจำนำข้าวเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย สร้างความเสียหายเป็นแสนล้านบาท เป็นชนวนเหตุหนึ่งที่ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 


นับจาก 5 มิ.ย. 56 พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว และมีมติเป็นเอกฉันท์ไต่สวนและยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีครั้งแรก 19 พ.ค. 58  และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 30 ล้านบาท ศาลตรวจหาหลักฐานและไต่สวนพยานบุคคลครั้งแรก  15 ม.ค.59 เรื่อยมากระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงปิดคดีด้วยวาจาเมื่อ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา


กินเวลาเกือบ 2 ปี 6 เดือน 24 วัน ไต่สวนพยานโจทก์ 10 นัด 15 ปาก พยานจำเลย 16 นัด 30 ปาก เสร็จสิ้นเมื่อ 21 ก.ค.60 ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงปิดคดีด้วยวาจาในวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่สุดแล้วศาลจะมีคำพิพากษาในวันที่พรุ่งนี้ (25 ส.ค.) 

แต่เรื่องนี้ไม่จบง่ายๆ เพราะวันพรุ่งนี้ไม่ใช่ “จุดปลายทาง” ที่แท้จริง มองข้ามชอตคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษาว่าจะ “ลงโทษความผิดตามฟ้อง” หรือจะ “ยกฟ้อง” น.ส.ยิ่งลักษณ์

แนวทางของคดีนี้ หากศาลยกฟ้อง นั่นหมายความว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะพ้นผิด ส่วนกรณี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด และส่งเรื่องให้กรมบังคับคดีตรวจสอบทรัพย์สินอยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้

แต่ทางกลับกัน ความเป็นไปได้ของคดีนี้น่าจะอยู่ที่ศาลมีคำพิพากษาให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 123/1 ที่ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต รัฐเสียหายกว่า 500,000 ล้านบาท อัตราโทษสูงสุดที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจจะได้รับ คือ จำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจศาลว่าจะวินิจฉัยความผิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แยกได้ 2 กรณี คือ 1. ให้รอลงอาญา เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งขึ้นอยู่ดุลยพินิจของศาล และ 2.พิจารณาลงโทษทางอาญา ตามที่ศาลมีคำตัดสินจำคุกกี่ปี ปรับเงินเท่าไร หรืออาจจะทั้งปรับทั้งจำคุก 

นี่คือการคาดการณ์แนวทางการพิจารณาคดีของศาลซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้ง 3 แนวทาง ทั้งยกฟ้อง มีความผิดแต่ให้รอลงอาญา หรือลงโทษทางอาญาตามที่ศาลมีคำตัดสิน

ทั้งนี้ หากต้องรับโทษทางอาญา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังพอมีความหวัง สามารถยื่นขอ “อุทธรณ์คำพิพากษา” ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพราะหนทางตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรค 4 ได้เปิดให้โอกาสคู่ความสามารถต่อสู้คดีได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษา Deadline นี้คือไม่เกินวันที่ 24 กันยายนนี้

หากใช้บรรทัดฐานนี้จะมี “ปลายทาง” อยู่ 2 ทางเช่นกัน คือ 1.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาฯ มีมติ “ไม่รับการอุทธรณ์” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องรับโทษตามคำพิพากษา 2.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาฯ มีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ “อุทธรณ์คดี” ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการพิจารณาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง. – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

ตัดไฟเมียนมา

ตัดแขนขาเมียนมา ราคาน้ำมันพุ่ง-จำกัดการซื้อ

เข้าสู่วันที่ 3 สำหรับการตัดไฟฟ้า สัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่งแม่สอดของไทยไปเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำมันในฝั่งเมียวดี