พบฟอสซิลไดโนเสาร์สมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบในอังกฤษใน 100 ปี

พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชที่ประมาณการว่ามีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 125 ล้านปีก่อนที่บริเวณเกาะไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight) ในอังกฤษ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นตัวอย่างฟอสซิลที่มีความสมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบในอังกฤษในรอบ 1 ศตวรรษ

ฟอสซิลเผยข้อมูลเชิงลึกของไดโนเสาร์กินเนื้อในจีนตอนใต้

คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนยืนยันว่าฟันไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ซี่ ที่ขุดพบในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มาจากไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 66-70 ล้านปีก่อน

นอนค้างทำเนียบ 24 ม.ค.-งานวันเด็กไม่มีไดโนเสาร์

นายกฯ เผยถือฤกษ์ดี นอนค้างทำเนียบ 24 ม.ค. บอกปีนี้งานวันเด็กไม่มีไดโนเสาร์ เพราะ “สูญพันธุ์หมดแล้ว” แย้มลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ปลาย ก.พ. เน้นสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

พบฟอสซิลไดโนเสาร์ ชนิดใหม่ของโลก จ.กาฬสินธุ์ 

ไทยพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกที่ จ.กาฬสินธุ์ อายุ 150 ล้านปี มีชีวิตในยุคจูแรสซิกตอนปลาย โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก ตั้งชื่อว่า “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” กรมทรัพยากรธรณีเชื่อว่าแหล่งขุดค้นภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ จะยังคงมีซากดึกดำบรรพ์เต็มทั้งพื้นที่ 

แจงภาพ ตร.ติดสัญลักษณ์ขีดฆ่าไดโนเสาร์-แมวส้มคาบมีด มีผู้ชุมนุมมาติดให้

พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร.แจงกรณีภาพตำรวจติดสัญลักษณ์ขีดฆ่าไดโนเสาร์-แมวส้มคาบมีด มีผู้ชุมนุมนำมาติดให้ ก่อนมีการถ่ายภาพ เตรียมตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง พร้อมเตือนอาจมีความผิดตามกฎหมาย

ยืนยันแล้ว “รอยบุ๋ม” ที่พบในร้านอาหารเสฉวน เป็นของไดโนเสาร์อายุ 100 ล้านปี

ปักกิ่ง, 16 เม.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่าฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์ที่พบในร้านอาหารแห่งหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นของไดโนเสาร์คอยาวที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อนการค้นพบสุดแปลกนี้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วโดยลูกค้าร้านอาหารจีนแห่งหนึ่ง ก่อนจะกลายเป็นไวรัลทั่วโลกเนื่องจากเป็นการพบรอยเท้าในสถานที่ที่แปลกไปจากเดิม ปัจจุบัน ทีมนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติได้เผยแพร่การค้นพบนี้ในวารสารครีเทเชียส รีเสิร์ช (Cretaceous Research) ฉบับล่าสุด หลังจากพวกเขาใช้เครื่องสแกนสามมิติเพื่อวิเคราะห์ “รอยเท้าที่พบในร้านอาหาร” เหล่านี้นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ากลุ่มรอยเท้า ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ 50-60 เซนติเมตรเหล่านี้ อาจเป็นของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่มีความยาว 8-10 เมตร จำนวนหนึ่งซอโรพอดมีหัวเล็ก คอยาว หางยาว และถูกกล่าวขานว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยอาศัยอยู่บนบกเท่าที่มีข้อมูลจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตขนาดมหึมานี้มีย่างก้าวที่สั้นมาก พวกมันเดินทางได้ไกล 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมงวันที่ 10 ก.ค. 2022 โอวหงเทา ลูกค้าร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเล่อซานของมณฑลเสฉวน สังเกตเห็นรอยยุบที่แปลกตาบนพื้นของร้าน ด้วยความที่เขาสนใจศึกษาความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา จึงสันนิษฐานว่ารอยดังกล่าวน่าจะเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ก่อนจะติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงอย่างรองศาสตราจารย์สิงลี่ต๋า จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (China University of Geosciences) ให้มาตรวจสอบ6 วันถัดมา รองศาสตราจารย์สิงได้นำทีมนักวิจัยเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ห่างจากองค์พระใหญ่เล่อซาน พระพุทธรูปหินสลักที่ใหญ่ที่สุดในโลก อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจีน ไปเพียง […]

นายกฯ ตรวจเยี่ยมเตรียมงานวันเด็ก ทำเนียบฯ

นายกฯ จูงมือลูกหลาน ขรก.ทำเนียบฯ ตรวจความเรียบร้อย ก่อนเริ่มงานวันเด็ก พรุ่งนี้ (14 ม.ค.66) พาชมไดโนเสาร์จำลอง บอกเด็กอย่ากลัว เพราะตายไปนับล้านปีแล้ว

ไดโนเสาร์บุกทำเนียบฯ รอเด็ก ๆ

ไดโนเสาร์ บุกทำเนียบ ! ภาครัฐ-เอกชนทยอยสิ่งของ รางวัลเข้าติดตั้งที่ทำเนียบรัฐบาล เตรียมจัดงานวันเด็กแห่งชาติ 2566 ขณะนายกฯ จะเปิดห้องทำงาน ให้นั่งเก้าอี้นายกฯ

จีนพบฟอสซิล ‘รอยเท้าไดโนเสาร์’ หายากกว่า 30 รอย

ฝูโจว, 22 พ.ย. (ซินหัว) — รอยเท้าไดโนเสาร์สภาพดีขนาดราว 15 ตารางเมตร ถูกขุดพบในอำเภอซ่างหาง เมืองหลง เหยียน มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน คณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการด้านบรรพชีวินวิทยาและซากดึกดำบรรพ์แห่งชาติ กล่าวว่าการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์สภาพดีในพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นนี้เกิดขึ้นน้อยมากทั่วโลก ฟอสซิลดังกล่าวเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์สกุลซอโรพอดและเทโรพอด และมีโครงสร้างรอยริ้วคลื่นสมมาตรที่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนสภาพแวดล้อมการสะสมของตะกอนของซากสิ่งทับถมในทะเลสาบในยุคสมัยนั้น โดยมีการค้นพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ 6 สายพันธุ์มากกว่า 30 รอย คณะนักวิจัยกล่าวว่าฟอสซิลเหล่านี้ค่อนข้างหายากทั้งในแง่จำนวนและความชัดเจน ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตและสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสตอนปลาย หวังเสี่ยวหลิน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการฯ เผยว่าปัจจุบันฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ที่พบในจีนและต่างประเทศเป็นของยุคจูราสสิกและยุคครีเทเชียสตอนต้น ส่วนรอยที่พบในอำเภอซ่างหางนั้นเป็นของยุคครีเทเชียสตอนปลาย ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีชีวิตของไดโนเสาร์ในระยะสุดท้ายก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้ อำเภอซ่างหางขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์หลากหลายชนิด นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้เป็นเวลานาน อ่านข่าวภาษาอังกฤษhttps://english.news.cn/20221121/b9551b81987e4391b0319fd542a30965/c.html อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องhttps://www.xinhuathai.com/life-cul/321625_20221122 ขอบคุณภาพจาก Xinhua

แม่น้ำในเทกซัสแห้งจนเห็นรอยเท้าไดโนเสาร์ 113 ล้านปีก่อน

วอชิงตัน 24 ส.ค.- ภาวะแห้งแล้งในรัฐเทกซัสของสหรัฐทำให้แม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลผ่านอุทยานหุบเขาไดโนเสาร์แห้งเหือด จนเห็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ที่คาดว่ามีชีวิตเมื่อ 113 ล้านปีก่อน เจ้าหน้าที่สำนักงานอุทยานและสัตว์ป่ารัฐเทกซัสเผยว่า ภาวะแห้งแล้งรุนแรงช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ทำให้แม่น้ำสายนี้เหือดแห้งอย่างสิ้นเชิงเกือบทั้งลำน้ำ เปิดทางให้เห็นรอยเท้าสิ่งมีชีวิตสมัยโบราณที่ยังไม่เคยพบมาก่อนในอุทยานดังกล่าว เพราะปกติแล้วจะจมอยู่ใต้น้ำและมีตะกอนทับถมไว้จนมองไม่เห็น อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดอนทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองดัลลัส ในอดีตเคยเป็นมหาสมุทรโบราณ และมีรอยเท้าของไดโนเสาร์ที่เกิดจากการเหยียบบนดินโคลน ภาพถ่ายที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กเห็นรอยเท้าสัตว์ที่มีนิ้ว 3 นิ้ว เรียงเป็นแนวยาวไปจนถึงท้องน้ำที่เหือดแห้ง รานงานระบุว่า รอยเท้าที่พบล่าสุดส่วนใหญ่เป็นของแอโครแคนโทซอรัส (Acrocanthosaurus) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ หากโตเต็มวัยจะหนักเกือบ 7 ตัน และสูง 4.5 เมตร นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าของซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืช หากโตเต็มวัยจะหนัก 44 ตัน สูง เมตร 18 เมตร.-สำนักข่าวไทย

พบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ในออสเตรเลีย

นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า ได้พบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาในโลก

ขอนแก่นเตรียมรื้อไดโนเสาร์ 4 มุมเมือง

จังหวัดขอนแก่นเตรียมรื้อไดโนเสาร์ทั้ง 4 มุมเมือง หลังพบว่ามีสภาพทรุดโทรม เสี่ยงอันตราย ทั้งเตรียมออกแบบสร้างซุ้มประตู 4 มุมเมือง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดแทน

1 2
...