นักวิชาการ 200 คน ถกเวทีความเห็นปฏิรูปการศึกษา

สกศ.17 ส.ค.-นักวิชาการด้านการศึกษากว่า 200 คน ร่วมวางทิศทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อธิการสจล.ชี้ไทยไม่วางเป้าหมายพัฒนาเด็กชัดเจน ด้านอดีตประธานผู้ตรวจเงินแผ่นดินแนะการศึกษาภาคบังคับควรมีแค่ 9 ปี ขณะที่ประธานอนุกรรมการกองทุน เร่งเดินหน้าสำรวจความเห็นตั้งกองทุนการศึกษา คาดร่างกม.แล้วเสร็จต.ค.นี้


ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง “ข้อเสนอประเด็นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการระดมความเห็นก่อนไปร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเเละนักวิชาการเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งเริ่มต้นให้คณะอนุกรรมการทั้ง 5 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการเด็กเล็ก /คณะอนุกรรมการกองทุน /คณะอนุกรรมการครูและอาจารย์ / คณะกรรมการจัดการเรียนการสอนเเละคณะอนุกรรมการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นำเสนอกรอบการดำเนินงานและประเด็นการรับฟังความคิดเห็น ก่อนจะเปิดพื้นที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้นำเสนอความเห็นและแบ่งกลุ่ม


ระดมความคิดเห็นออกเป็น 5 กลุ่มตามคณะอนุกรรมการ ซึ่งจะนำความเห็นต่างๆที่ได้เป็นเเกนหลักในการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เเละเสนอเเนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการกำหนดเเนวทางเเละหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ศ.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีเเห่งประเทศไทยและอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้วางเป้าหมายการผลิตและพัฒนาเด็กที่ชัดเจน  ทั้งเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษามีจำนวนน้อยลง แต่จำนวนโรงเรียนนานาชาติ กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 /นโยบายต่างๆเกิดขึ้นตามกระแสนิยมและอาจไม่ต่อเนื่อง ประเทศไทยต้องกล้าเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ทำฐานข้อมูลติดตามเด็กทุกคนและใช้จัดการศึกษาที่หลากหลาย


ด้านศ.ศรีราชา วศารยางค์กูร อดีตประธานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ต้องสอนให้เด็กเป็นคนดี ซื่อสัตย์และสุจริตตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงเด็กที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ได้ และตนมองว่าการศึกษาภาคบังคับควรมีแค่ 9 ปี เพราะจะนำงบประมาณที่เหลือไปดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และการเรียนการสอนไม่ควรอัดแน่น 8 สาระวิชาและไม่ควรเน้นวิชาการมากเกินไป

ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานอนุกรรมการกองทุน กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถือเป็นปัญหาใหญ่ เด็กยากจนและขาดสารอาหารมีจำนวนมาก จึงแนวคิดที่จะตั้งกองทุนการศึกษา ให้ทุกคนได้เข้าถึง โดยหัวใจสำคัญคือเงินจะไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนอีกต่อไป วันนี้จึงอยากแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นต่างๆ อาทิ กระบวนการช่วยเหลือควรเป็นอย่างไร การจัดการเงินหรือทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดควรไปที่กลุ่มใดก่อนอย่างจำเป็นเร่งด่วนที่สุด หรือวิธีการ หากเงินทุนเข้าไปที่โรงเรียน นักเรียนอาจจะได้ไม่ไม่ทั่วถึง ส่วนกองทุนสำหรับครูควรเสริมเรื่องใด เป็นต้น ซึ่งหลังจากนี้จะรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ และลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็นทั้ง 4 ภาค ก่อนไปร่างกฎหมายซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พยาบาลถูกตบ

“สมศักดิ์” พร้อมช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า

“สมศักดิ์” รมว.สธ. พร้อมสนับสนุนหา “ทนายความ” ช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า บอกหากเจ้าตัวไม่ดำเนินคดี กระทรวงฯ พร้อมออกโรงแทน หวั่นเป็นเยี่ยงอย่าง

รพ.ระยอง ยันดำเนินคดีถึงที่สุดญาติคนไข้ตบพยาบาล

โรงพยาบาลระยอง แถลงปมญาติคนไข้ตบหน้าพยาบาล เผยหลังเกิดเหตุได้ดูแลอาการบาดเจ็บของพยาบาลผู้ประสบเหตุทันที ยืนยันดำเนินคดีถึงที่สุด

ข่าวแนะนำ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เสนอ 4 ข้อปราบแก๊งคอลฯ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เตรียมเสนอ 4 มาตรการปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ “บิ๊กอ้วน” คณะทูตจีนรอต้อนรับ ขณะเจ้าตัวสีหน้ายิ้มแย้ม ไม่ตอบสื่อ

สธ.ลั่นเอาผิดญาติคนไข้ตบพยาบาลให้ถึงที่สุด

ผอ.โรงพยาบาลระยอง เข้าพบผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข ปมญาติคนไข้บุกตบพยาบาล สธ. ยืนยันต้องดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ด้านพยาบาลยังเครียด เยื่อบุแก้วหูอักเสบรุนแรง

รวบชาวจีนเช่าคอนโดพระราม 9 เปิดเว็บพนันออนไลน์

ตำรวจบุกจับ ชาวจีน 15 คน เช่าคอนโดยกชั้น ย่านพระราม 9 เปิดเป็นฐานปฏิบัติการเว็บพนันออนไลน์ พบเงินหมุนเวียนในบัญชีดิจิทัล กว่า 9 ล้านบาท