กทม. 28 มิ.ย. – บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำเคล็ดลับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกด้วยการนอนดิ้นไปมา เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์. – สำนักข่าวไทย
บทสรุป : ไม่ควรแชร์ หากทำตามอาจมีอาการแย่ลง, เสียโอกาสในการรักษา
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม นพ.ธีระ ตั้งวิริยะไพบูลย์ ประสาทศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา ระบุภาพคนนอนดิ้นในคลิปอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา ไม่ใช่โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เพราะหากคนเป็นโรคหมอนรองกระดูกฯ ปฏิบัติตามคลิปจริงน่าจะเป็นผลเสียทำให้อาการรุนแรง เจ็บปวดมากขึ้น
สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกมีหลายระดับ กลุ่มที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาทต้องทำกายภาพควบคู่กับการกินยา กลุ่มหมอนรองกระดูกเคลื่อนหลุดเป็นชิ้นหากกินยาร่วมกับกายภาพแล้วอาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด กลุ่มที่อาการรุนแรงนอนหงายแล้วยกขาไม่ขึ้น อาจต้องผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก ซึ่งการผ่าตัดจะเป็นการรักษาโรคหมอนรองกระดูกฯ ขั้นสุดท้าย เนื่องจากบางคนจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดพังผืดไปรัดเส้นประสาท
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากการทำงาน ความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ข้าราชการ หรือคนนั่งทำงานทั้งวันมีโอกาสเป็นมากที่สุด แต่ชะลอให้เกิดโรคได้ อาทิ เปลี่ยนอิริยาบทในการยกของใช้ต้นขารับน้ำหนักแทนลงที่หลัง, ลุกเดิน, ไม่นั่งหลังค่อม ฯลฯ พร้อมแนะนำว่าหากมีอาการปวดที่บ่งชี้ว่าไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อ ปวดร้าวลงแขน หรือขาอ่อนแรง ต้องรีบพบแพทย์ทันที
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter