รัฐบาลเร่งสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายใน

กรุงเทพฯ 26 มิ.ย. – กระทรวงอุตสาหกรรมย้ำเพื่อก้าวพ้นการติดกับดักรายได้ปานกลาง รัฐบาลจึงประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 พร้อมขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศทุกภาคส่วน ตั้งแต่ชุมชน เอสเอ็มอีจนถึงภาคอุตสาหกรรม 


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาถกฐาพิเศษ หัวข้อ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย…หัวใจอยู่ที่ชุมชน” ในวาระครบรอบ 67 ปี หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ว่า ประเทศไทยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากภาคเกษตร สู่อุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมหนัก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 3.0 ด้านภาคการเกษตรสู่ยุคเกษตรแปรรูป แต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจดังกล่าวประเทศยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างติดกับดักรายได้ปานกลาง รวมถึงเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการงาน อาชีพ และขาดความสมดุลในการพัฒนาพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก หากประเทศไทยจะก้าวหน้าต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนได้รัฐบาลต้องพัฒนาประเทศ จึงนำเสนอนโยบายประเทศไทย 4.0 เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้คนไทยทุกภาคส่วนร่วมกันปฎิรูปประเทศให้ก้าวข้ามปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เพื่อเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้ายืดหยุ่นเพียงพอที่จะรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ได้ และเป็นระบบกระจายโอกาสให้คนไทยสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ระดับชุมชน และนับเป็นการสร้างนวัตกรรมสู่สินค้าและบริการ และพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของคนไทย ซึ่งอาจจะไม่ดีที่สุดในโลก แต่เป็นการช่วยให้คนไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ชุมชนมีศักยภาพ มีการปรับและยกศักยภาพทั้งด้านสังคม การศึกษาและด้านอื่น ๆ ไปพร้อมกัน เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึงต่อไป

สำหรับสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ สร้างความเข้มแข็งจากภายในหรือ LOCAL ECONOMY ทำให้สามารถส่งออกสินค้า หรือขายภายในประเทศได้เอง ไม่ได้รับผลิตสินค้าให้ต่างประเทศเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ซึ่งในที่สุดจะช่วยเติมเต็มศักยภาพของประเทศ ให้พร้อมเติบโตตั้งแต่ฐานรากขึ้นมา ช่วยให้ประเทศพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้


ด้านเศรษฐกิจ มีแนวทางขับเคลื่อน ได้แก่ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ใช่โครางสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น เส้นทางคมนาคม ถนน รถไฟ และการพัฒนาท่าเรือ เป็นต้น โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ใช่ทางกายภาพ เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เช่น การสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับหมู่บ้านทั่วประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ที่สำคัญ คือ การพัฒนาด้านศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความคิดของคนไทยต่อไป 

ด้านภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาต่อยอดให้สอดรับการพัฒนาของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ยานยนต์แห่งอนาคต เช่น รถไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย เช่น รถยนต์จะมีชิ้นส่วนบางอย่างที่ไทยผลิตได้ ด้านการเกษตรพัฒนาจากเกษตรขั้นต้น สู่การแปรรูปและพัฒนาสู่การแปรรูปขั้นสูงต่อไป แต่จะต้องมีการจัดการอย่าเหมาะสม เป็นต้น 

ส่วนอุตสาหกรรมใหม่ก็มีการส่งเสริมให้เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพหรือไบโออีโคโนมี ที่มีวัตถุดิบในประเทศสามารถนำมาต่อยอด เช่น จากข้าว ปาล์ม มันสำปะหลัง และอ้อย โดยนำไปผลิตเป็นสินค้า อาหารผู้สูงอายุ อาหารสำหรับนักกีฬา และนักเรียน รวมถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผลิตเครื่องสำอางค์ เป็นต้น รวมถึงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่คนไทยมีศักยภาพ และรัฐบาลกำลังสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ ผ่านกลไกกลุ่มประชารัฐที่ประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ภาคการศึกษา เพื่อที่จะมาช่วยการสร้างและยกระดับอุตสาหกรรมเหล่านี้ พร้อมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี กลุ่มสตาร์ทอัพ กลุ่มเหล่านี้จะเป็นพลังความคิดค้นสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะเป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดใหม่  เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ซึ่งในต่างประเทศเช่นกันขณะนี้บริษัทขนาดใหญ่หันมาขอใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กลุ่มเหล่านี้คิดค้นขึ้นมาได้ สุดท้าย คือ พัฒนาคนไทยให้เท่าทัน มีความรู้ในเทคโนโลยี 


นายอุตตม กล่าวว่า การพัฒนาให้มีความเข้มแข็งจากภายในประเทศนั้น รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาเชิงพื้นให้มาก เป็นการเจริญใหม่ แต่ไม่ใช่ว่าของเดิมไม่ดีทั้งหมด แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะนำซึ่งโอกาสให้พื้นที่ชุมชนสร้างความเจริญใหม่ ๆ โดยภาครัฐจะทำงานสนับสนุนให้กับชุมชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ ไทยไม่ใช่เพียงกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่เท่านั้น กิจการต่าง ๆ ก็ไม่เพียงแต่เฉพาะกิจการขนาดใหญ่เท่านั้น ยังรวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และคนตัวเล็กที่กระจายทั่วประเทศถึงประมาณ 3 ล้านรายอีกด้วย เพื่อพัฒนายกระดับให้มีศักยภาพในการพัฒนาและสร้างสรรค์ได้อีกมาก และยังมีภาคเกษตรกรอีกนับ 10 ล้านราย ที่มีวิถีชีวิตของตัวเองจะหาทางช่วยดึงศักยภาพในการพัฒนาออกมาให้ได้มากที่สุด  ที่สำคัญยังน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มุ่งรักษาสมดุลการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มที่ชุมชน ความสุขของชุมชน คือ การแก้ไขปัญหาปัจจุบัน และสร้างโอกาสที่ชุมชนจะเข้าถึงโอกาสให้ได้ เหล่านี้เป็นเรื่องของการสร้างความเข็มแข็งและพัฒนาต่อยอดสู่สังคมภายนอกต่อไป 

สำหรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้ทุกโครงการต้องชุมชนมีส่วนร่วม โดยต้องชัดเจนว่าสร้างแล้วชุมชนได้ประโยชน์อย่างไร โครงการนี้จะเป็นฐานการสร้างความเจริญใหม่ที่คนไทยทั่วประเทศได้ประโยชน์ร่วมกันไม่เพียงเฉพาะ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และจังหวัดระยองเท่านั้น 

ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับผิดชอบประสานงานกับภาครัฐและเอกชน ภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนการพัฒนายกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 โดยได้รับการสนับสนุนจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น เพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ โดยอยู่ในรูปกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ วงเงิน 20,000 ล้านบาท และยังมีสินเชื่อของธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ วงเงิน 15,000 ล้านบาท กองทุนพลิกฟื้นของสำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ สสว. วงเงิน 2,000 ล้านบาท รวมวงเงินช่วยเหลือ 37,000 ล้านบาท. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม