เลขาฯ ศอ.บต.ยันมาเลเซียจับ หะยีสะมะแอ ท่าน้ำ จริง

กรุงเทพฯ 21 มิ.ย.- เลขาฯ ศอ.บต. ยัน “หะยีสะมะแอ ท่าน้ำ” ถูกมาเลย์จับกุมจริง ขณะเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวที่มาเลเซีย ยังไม่ยืนยันว่าถูกปล่อยตัวแล้วหรือไม่   


นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ให้สัมภาษณ์ “สำนักข่าวไทย” ทางโทรศัพท์ ถึงกระแสข่าว นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ ถูกตำรวจมาเลเซียควบคุมตัวจากร้านอาหารในรัฐเปรัค ทางตอนเหนือของมาเลเซีย ว่า ได้รับรายงานข่าวเบื้องต้นว่า นายหะยีสะมะแอ ถูกควบคุมตัวเมื่อ 2 วันที่แล้ว ขณะเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวที่มาเลเซีย ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ตำรวจมาเลเซียได้ตรวจค้นบ้านพักของชายคนหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายไอเอส โดยชายคนดังกล่าวได้ขัดขืนและต่อสู้เจ้าหน้าที่จนถูกวิสามัญ และจากการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อกับบุคคลอื่นๆ จนพบเบอร์โทรศัพท์หญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจค้นบ้านพักพบธงสัญลักษณ์ขบวนการพูโล และหญิงไทยคนดังกล่าวอ้างตัวว่ารู้จักกับนายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ อดีตแกนนำขบวนการพูโล เจ้าหน้าที่จึงไปควบคุมตัวนายหะยีสะมะแอ จากร้านอาหารของครอบครัว ไปสอบสวน ซึ่งยังไม่มีการยืนยันว่าได้รับการปล่อยตัวแล้วหรือไม่

เลขาฯ ศอ.บต. กล่าวว่า นายหะยีสะมะแอ ได้รับการพักโทษ เป็นกรณีพิเศษ จากการประสานงานสมัย นายภาณุ อุทัยรัตน์ เป็นเลขาฯ ศอ.บต  โดยรัฐบาลมีข้อแม้ว่าจะต้องช่วยเหลืองานราชการเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายหะยีสะมะแอรับปากว่าจะช่วยทำความเข้าใจกับเยาวชนในพื้นที่ไม่ให้หลงผิดเข้าร่วมกับขบวนการ และจะช่วยประสานกับคนไทยที่หวาดกลัวเจ้าหน้าที่รัฐจนหลบหนีไปฝั่งมาเลเซียให้กลับมาประเทศไทย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ เป็นแกนนำขบวนการพูโลคนสำคัญ ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในฐานความผิดคดีความมั่นคง เมื่อปี 2540 โดยถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษบางขวาง กรุงเทพฯ มาแล้ว จำนวน 18 ปี ในสมัยนายภาณุ อุทัยรัตน์ เป็น ผอ.ศอ.บต. ได้ประสานดำเนินขอย้ายตัวมาคุมขังที่เรือนจำกลางจังหวัดสงขลา และย้ายมายังเรือนจำกลางจังหวัดยะลา  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ญาติที่จะต้องเดินทางไปเยี่ยม และหลังจากถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางยะลาประมาณ 2 ปี คณะกรรมการพักการลงโทษ กรมราชทัณฑ์ และ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น  มีมติให้พักโทษกรณีพิเศษให้นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ เนื่องจากประพฤติตัวดีมาตลอด ประกอบกับได้รับการอภัยโทษและลดโทษให้เหลือ 27 ปี 9 เดือน และได้ผ่านการจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 คือ 18 ปีจึงเข้าหลักเกณฑ์การพักโทษได้ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และแม่ทัพภาคที่ 4  และมีการปล่อยตัวนายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ เป็นอิสระ ในวันที่ 17 ก.ค. 2558 .-สำนักข่าวไทย                    

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง