ปลัดสธ.ย้ำอีกแก้กม.บัตรทอง ไม่กระทบสิทธิประโยชน์ประชาชน

สธ.19 มิ.ย.-ปลัด สธ. ชี้แจงยืนยันแก้ กม.หลักประกันสุขภาพ ครั้งนี้ แก้เรื่องการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ไม่กระทบกับสิทธิประโยชน์หรือสิทธิบริการใดๆของประชาชน


นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ4ภาคออกแถลงการณ์คัดค้านและแสดง ออกไม่เข้าร่วมเวทีประชาพิจารณ์แก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ว่า ตนได้ปรึกษา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ชื่นชมการทำประชาพิจารณ์ที่มีคนมาแสดงความคิดเห็นกัน  อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับที่ประชาพิจารณ์นี้ ก็ไม่ใช่ร่างหลักที่จะใช้ เพราะจะมีการปรับปรุงจากการทำประชาพิจารณ์ และเดิมที รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและตนก็ไม่อยากแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้มากนัก แต่เมื่อมีคำถามและอาจเกิดความไม่เข้าใจก็จำเป็นต้องออกมาย้ำว่า การแก้กฎหมายครั้งนี้เป็นในเรื่องของการปรับแก้การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้ไปแตะต้องกับสิทธิประโยชน์ หรือสิทธิบริการใดๆของประชาชนเลย


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกลุ่มไม่เห็นด้วยมองว่าการแก้กฎหมายครั้งนี้เอื้อประโยชน์ต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดึงอำนาจกลับคืน นพ.โสภณ กล่าวว่า ไม่เคยคิดจะยึดอำนาจใครเลยตั้งแต่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ พวกตน หน่วยบริการก็ทำงานและเคารพ พ.ร.บ.ที่มีมาโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ซื้อให้บริการเพื่อประชาชน ทางกระทรวงฯ ก็มี รพ.ให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งคิดว่าควรมาร่วมกันคิดร่วมกันทำงานเพื่อประชาชนมากกว่า ไม่ใช่มาแบ่งกันว่า ผู้ซื้อ ผู้ขาย

“กรณีการแก้ไขให้ปลัด สธ.ไปเป็นรองประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.)นั้น ส่วนตัวว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะคณะ กรรมการดูให้สมดุลกันก็เพียงพอแล้ว เพราะที่ผ่านมามี รมว.สาธารณสุขเป็นประธาน อย่างผมก็เป็นกรรมการ ซึ่งมองว่า หากกรรมการหากบอร์ดคิดถึงประโยชน์ประชาชน คิดถึงความเป็นจริงในการให้บริการ ที่จะส่งผลต่อการบริการประชาชน มีจุดยืนที่ประชาชนเป็นที่ตั้ง ทุกอย่างก็จะดำเนินไปได้ คือถ้าเราทำอะไรที่ไม่ยึดหลักพวกพ้อง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวก็จะไม่มีปัญหา” ปลัดสธ.กล่าว


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกลุ่มไม่เห็นด้วยมองว่าการแก้กฎหมายแยกเงินเดือนบุคลากรสาธารณสุขออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ถือเป็นการดึงอำนาจกลับคืนและจะส่งผลกระทบต่อระบบในเรื่องการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ นพ.โสภณ กล่าวว่า ตลอด 15 ปีที่ผ่านมามีการวมเงินเดือนอยู่ในงบเหมาจ่าย ก็เห็นผลชัดเจนแล้วว่า ไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาการกระจายตัวของบุคลากรเลย แต่กลับทำให้เกิดปัญหางบประมาณของหน่วยบริการไม่เพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรน้อย อย่างสมุทรสงคราม และสิงห์บุรี เนื่องจากเมื่อหักเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่ รพ.ได้รับ กลับมีงบเหลือไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ประชาชน อย่าง รพ.บางแห่งติดหนี้ จนไม่สามารถสั่งซื้อยาเข้ามาได้ แต่หากมีการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวแล้ว จะทำให้ทุกรพ.ได้รับงบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อใช้เป็นการบริการประชาชนที่เท่ากัน เพราะไม่ต้องมีตัวแปรเงินเดือนมาเกี่ยวข้อง ยกเว้นบางรพ.ที่อาจได้รับเพิ่ม เพราะเป็นพื้นที่พิเศษ เนื่องจากอยู่ห่างไกล อยู่บนเกาะ เป็นต้น

“เรื่องแยกเงินเดือนมีการศึกษามาก่อนว่าจำเป็นต้องแยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ก็บอกว่าจำเป็นต้องเอาเงินเดือนแยกออกมา เพราะหากทำแล้วระบบจะอยู่ได้ และจะส่งผลดีต่อการบริการประชาชน ซึ่งเรื่องพวกนี้มีข้อมูลการันตี และรพ.ในพื้นที่ก็ประสบปัญหาจริงๆ สุดท้ายก็จะส่งผลต่อประชาชน อย่างรพ.อินทร์บุรี รพ.สิงห์บุรี ในจ.สิงห์บุรี และรพ.สมุทรสงคราม” นพ.โสภณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามต่อไปว่า กรณีถูกมองว่าเป็นการแก้กฎหมายที่นอกเหนือจากมาตรา 44 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ให้แก้ปัญหาการบริหารจัดการ นพ.โสภณ กล่าวว่า การแก้กฎหมายครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่ง คสช.ที่ต้องการปลดล็อกให้การบริหารจัดการทำงานได้ อย่างการจัดซื้อยารวมของสปสช. เดิมทีคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ทักท้วงว่า สปสช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการทำตรงนี้ ซึ่งตนถามว่าการซื้อยาร่วมทำไมต้อง1.ให้สปสช.ซื้อ หรือ2. ให้กระทรวงฯซื้อ แต่ทำไมไม่เลือกทางเลือกที่ 3. คือ ให้ทั้งสปสช.และกระทรวงฯร่วมกันซื้อเพื่อประโยชน์ของประชาชน ทำไมเราทำงานร่วมกันไม่ได้ ทั้งที่ตอนนี้เป็นยุคปฎิรูป ยุคปรองดอง

“สำหรับการแก้กฎหมายบัตรทองนั้น ขณะนี้ นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการพิจารณายกร่างพ.ร.บ.กำลังประสานสถาบันพระปกเกล้า มาประเมินผลกระทบจากการแก้ พ.ร.บ.ฯด้วย ล่าสุดทางกระทรวงฯร่วมด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างร่างรายละเอียดในการจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอขึ้น ซึ่งจะเป็นการบูรณาการงบประมาณด้านคุณภาพชีวิตทั้งหมด ทั้งงบส่วนของสธ.งบท้องถิ่น งบกองทุนสุขภาพตำบล งบหน่วย งานต่างๆ เพื่อให้ทำงานโดยไม่ซ้ำซ้อน เช่นเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ หากมีงบของหน่วยงานอื่นเข้าไปแล้ว ทางสธ.ก็ไม่ต้องส่งไปต่อ เพื่อให้ไม่ซ้ำซ้อนและนำงบไปใช้อย่างอื่นได้อีก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างรายละเอียด ซึ่งล่าสุดรัฐมนตรีฯ ได้นำเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งเห็นด้วยกับเรื่องนี้ โดยจะตั้งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ทั้งหมดก็เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ”ปลัดสธ.กล่าว.-        สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง