“ไบเดน” ประกาศไม่ล็อกดาวน์ แม้ “โอไมครอน” ระบาด

“ไบเดน” ประกาศไม่ล็อกดาวน์ แม้โอไมครอนระบาด แต่ก็จะใช้วิทยาศาสตร์ เข้ารับมือกับไวรัสทุกสายพันธุ์ เน้นตรวจโควิดถึงบ้าน เร่งฉีดวัคซีน

“หมอยง” ห่วง “โอไมครอน” ข้ามพรมแดนมาทางบก

กรุงเทพฯ 3 ธ.ค.-“นพ.ยง”ยกบทเรียนในอดีตสายพันธุ์ที่เข้าสู่ประเทศไทย มักเข้ามาด้วยการเดิน ทางพรมแดนธรรมชาติ ขณะที่ทางอากาศจะถูกกักกันไว้ได้ แนะการเตรียมพร้อมรับมือ “โอไมครอน”ต้องให้วัคซีนครอบคลุมประชากรสูงสุด ,วินิจฉัยสายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และคงมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan วันนี้ (3 ธ.ค.) เรื่องโควิด 19 โอไมครอน การเตรียมพร้อมรับมือ ว่า โอไมครอน ถ้าการระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา โอไมครอน จะเข้ามาแทนที่เดลตาที่ระบาดไปทั่วโลก เดิมสายพันธุ์ที่ระบาดจากอู่ฮั่น เป็นสายพันธุ์ S และ L ประเทศไทยระบาดรอบแรก เป็นสายพันธุ์ S สายพันธุ์ L มีลูกมากกว่า แพร่กระจายได้เร็ว ไประบาดหนักที่ยุโรป ทำให้สายพันธุ์ S หายไป ต่อมาสายพันธุ์ G แพร่ระบาดได้เร็วกว่า จึงเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ Lหลังจากนั้นสายพันธุ์อังกฤษหรือแอลฟา ระบาดได้เร็วมาก ก็เข้ามาเบียดสายพันธุ์ G […]

นพ.ทวี เผย “โอไมครอน” มาแน่ เร่งฉีดวัคซีนกลุ่มที่เหลือ

ที่ปรึกษา สธ. แนะคนไทยเข้าใจสถานการณ์ โอไมครอนมาแน่ มาตรการต่างๆ แค่ชะลอโรค ย้ำระหว่างนี้ต้องเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มที่เหลืออีก 10 ล้านคน ลั่นโอไมครอนแพร่เร็วกว่าเดลตา แม้ตอนนี้ไม่แรงกว่า แต่คนไม่ฉีดวัคซีนรุนแรงแน่

ไนจีเรียเฝ้าระวังระดับสูงหลังพบผู้ติดโอไมครอน

อาบูจา 2 ธ.ค.- ไนจีเรียซึ่งเป็นประเทศที่มีคนหนาแน่นที่สุดในทวีปแอฟริกาเพิ่มการเฝ้าระวังเป็นระดับสูง หลังจากพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 3 คน ด้านฝรั่งเศสแจ้งพบผู้ติดเชื้อคนแรกในแคว้นปารีส เป็นผู้ที่เพิ่งเดินทางมาจากไนจีเรีย ศูนย์ควบคุมโรคไนจีเรียแถลงว่า ผลการตรวจบุคคล 3 คนที่มีประวัติเดินทางไปแอฟริกาใต้ได้ผลเป็นบวก ทั้งหมดเดินทางเข้าประเทศเมื่อสัปดาห์ก่อน ถือเป็นผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกที่พบในไนจีเรีย ทางศูนย์ฯ ตั้งสมมติฐานว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ไปทั่วโลกแล้ว อ้างอิงจากจำนวนประเทศแจ้งพบผู้ติดเชื้อที่มีเพิ่มขึ้น ดังนั้นไนจีเรียจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน ล่าสุดไนจีเรียได้ยกระดับคำแนะนำการเดินทาง ด้วยการกำหนดให้ผู้เข้าประเทศต้องจองและออกค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ในวันที่ 2 และ 7 ของการเข้าประเทศ รวมทั้งต้องแสดงผลตรวจหาเชื้อเป็นลบ 2 วันก่อนออกจากประเทศต้นทาง ขณะเดียวกันสำนักงานสาธารณสุขแคว้นปารีสหรืออิลเดอฟรองซ์ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในฝรั่งเศส ประกาศว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกแล้ว เป็นผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากไนจีเรีย ทางด้านแคนาดาเพิ่งเพิ่มชื่อไนจีเรียไว้ในรายชื่อประเทศที่ห้ามเข้า มีผลกับชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา หลังจากพบผู้ติดเชื้อ 5 คนที่เดินทางมาจากไนจีเรีย ขณะที่อินโดนีเซียก็ห้ามชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากไนจีเรีย และอีกหลายประเทศหากพำนักอยู่ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา ส่วนชาวอินโดนีเซียที่กลับมาจากประเทศเหล่านี้ต้องกักโรค 14 วัน.-สำนักข่าวไทย

แจงแผนรับมือโอไมครอน เตรียมพร้อมเรื่องยา

รมช.สธ. แจงแผนรับมือโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน สั่งเตรียมพร้อมเรื่องยา มองภูมิคุ้มกันหมู่ อาจไม่ช่วย ต้องเร่งฉีดวัคซีน90%

สธ.ตามเจอ 11 คน จาก 8 ประเทศในแอฟริกา

สธ. 2 ธ.ค.-สธ.เร่งตามคนเดินทางจาก 8 ประเทศในแอฟริกาตรวจ RT-PCR ซ้ำ เฝ้าระวังโอไมครอน แม้รับวัคซีน m-RNA ครบ 2 เข็ม ตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าไทย 72 ชั่วโมง ตรวจซ้ำถึงไทยอีก 1 ครั้ง และตรวจ ATK หลังกัก 7 วัน ชี้ 252 คนถือเสี่ยงต่ำ เจอตัว 11 คน เป็นคนทำงานในนิคมอุตสากรรม นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวถึงการติดตามผู้ที่เดินทางเข้าไทยมาจาก 8 ประเทศในแอฟริกาเพื่อมาตรวจหาเชื้อเฝ้าระวังโอไมครอน ว่าขณะนี้จากข้อมูลพบว่าผู้ที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศ ได้แก่ บอตสวานา นามิเบีย เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก ซิมบับเว และแอฟริกาใต้ เข้าไทยมาทั้งหมด 252 คน โดยเป็นผู้เดินทางมาตั้งแต่ […]

อินโดนีเซียเข้มงวดจำกัดเดินทางสกัดโอไมครอน

จาการ์ตา 2 ธ.ค.- อินโดนีเซียเข้มงวดการบังคับใช้มาตรการควบคุมพรมแดน ขยายระยะเวลากักโรค และจำกัดการเดินทางบนถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทาง เพื่อจำกัดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนหากเข้ามาในประเทศแล้ว อินโดนีเซียยังไม่ได้ประกาศว่า พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนแล้วหรือไม่ แต่ได้เพิ่มมาตรการเพื่อลดกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ประกอบด้วยการขยายระยะเวลากักโรคกับผู้เดินทางเข้าประเทศจาก 7 วันเป็น 10 วัน การห้ามผู้เดินทางมาจาก 11 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แต่หากเป็นชาวอินโดนีเซียที่เดินทางกลับมาจากประเทศเหล่านี้จะต้องกักโรค 14 วัน ส่วนมาตรการจำกัดการเดินทางในประเทศจะจำกัดจำนวนยวดยานที่อนุญาตให้ใช้ถนนที่เก็บค่าผ่านทาง เพื่อลดการเดินทางของผู้คน อินโดนีเซียมียอดติดเชื้อโควิด-19 รายวันลดลงมาก เฉลี่ยวันละ 400 คนเท่านั้นในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับที่เคยสูงถึงวันละ 4,000 คนในเดือนกรกฎาคม ประชากรมากกว่า 1 ใน 3 จากทั้งหมด 270 ล้านคนฉีดวัคซีนแล้ว ขณะที่ยอดติดเชื้อสะสมมากกว่า 4 ล้าน 2 แสน 5 หมื่นคน และเสียชีวิตมากกว่า 143,800 คน.-สำนักข่าวไทย

มั่นใจ โอไมครอน ไม่กระทบเปิดประเทศ

รมว.ท่องเที่ยวฯ มั่นใจ โอไมครอน ไม่กระทบท่องเที่ยว-เปิดประเทศ ขณะเดียวกันจับตาการประชุมสภาฯ ลงมติตั้ง กมธ. ศึกษาการเปิด Entertainment Complex

นายกฯ ยันยังไม่ใช้ยาแรงปิดประเทศ

นายกฯ ยืนยัน ยังไม่ใช้ยาแรงปิดประเทศ หลังโอไมครอนระบาด ระบุ ขออภัยผู้ประกอบการ ต้องเลื่อนเปิด ผับ-บาร์ ขอพิจารณาใหม่เป็นรายเดือน

ญี่ปุ่นยกเลิกคำขอสายการบินงดรับจองตั๋วแล้ว

โตเกียว 2 ธ.ค.- รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกคำขอให้สายการบินงดรับจองตั๋วโดยสารเข้าญี่ปุ่นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมแล้ว หลังจากถูกวิจารณ์ว่าเป็นมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนที่เกินกว่าเหตุ นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ยอมรับกับสื่อว่า การประกาศของกระทรวงคมนาคมเมื่อวานนี้ที่ขอให้สายการบินงดรับจองตั๋วเดินทางเข้าญี่ปุ่นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เขาได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่คำนึงถึงความต้องการเดินทางกลับบ้านของประชาชนให้มากกว่านี้ ขณะที่นายฮิโรคาสุ มัตวึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแถลงวันนี้ว่า กระทรวงคมนาคมได้ยกเลิกคำขอดังกล่าวแล้ว เป็นคำขอที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางกลับเข้าญี่ปุ่นได้ในสิ้นปีนี้ หากไม่ได้จองตั๋วก่อนวันพุธที่ผ่านมา ด้านสายการบินหลักของญี่ปุ่น 2 แห่งคือ เจแปนแอร์ไลน์ (JAL) และออลนิปปอนแอร์เวย์ (ANA) ประกาศในเวลาต่อมาว่า เตรียมเปิดรับจองตั๋วโดยสารเดินทางเข้าญี่ปุ่นอีกครั้ง องค์การอนามัยโลกขอให้ประเทศต่าง ๆ งดใช้มาตรการสั่งเดินทางเข้าประเทศแบบเหมารวม เพราะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าประเทศได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระให้แก่การดำเนินชีวิตของผู้คน.-สำนักข่าวไทย

ศูนย์จุฬาฯ เร่งพัฒนาชุดตรวจจับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

กรุงเทพฯ 2 ธ.ค.-“หมอยง” เผยศูนย์จุฬาฯ เร่งพัฒนาตัวจับจำเพาะต่อสายพันธุ์โอไมครอนเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว ปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรค โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องสงสัยและจำเป็นต้องตรวจหา คือกลุ่มผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคน -ฉีดวัคซีนครบแล้วติดเชื้อ-เคยป่วยแล้วติดเชื้อซ้ำ-มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan วันนี้ (2 ธ.ค.) เรื่องโควิด-19 การตรวจหาเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ต้องทำได้อย่างรวดเร็ว ว่า ปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรค covid-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในบ้านเราจะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว การตรวจวินิจฉัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ให้ได้อย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศ ชุดตรวจที่มีการตรวจยีน S หรือยีนหนามแหลมสไปท์ ร่วมกับการตรวจยืนอื่น และถ้าให้ผลบวกต่อยีนอื่น โดยให้ผลลบต่อยีนหนามแหลมสไปท์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมค่อนข้างมาก จะเข้าข่ายสงสัยไว้ก่อนทันที แต่สำหรับประเทศไทยชุดตรวจส่วนใหญ่ RT PCR จะเป็นชุดตรวจ หายีน N ยีน E และยีน orf1ab หรือ RdRp ดังนั้น […]

โอเปกพลัสอาจงดเพิ่มกำลังผลิตเพราะโอไมครอน

ลอนดอน 2 ธ.ค.- นักวิเคราะห์คาดว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตรหรือโอเปกพลัส จะระงับการเพิ่มกำลังผลิตงวดเดือนมกราคมในการประชุมวันนี้ เพราะมีกระแสวิตกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะถูกกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน โอเปกพลัสซึ่งประกอบด้วยสมาชิกโอเปก 13 ประเทศและพันธมิตร 10 ประเทศจะประชุมผ่านระบบวิดิโอทางไกลในเวลา 13:00 น.วันนี้ตามเวลามาตรฐานสากล ตรงกับเวลา 20:00 น.วันนี้ตามเวลาในไทยเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำมันตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้าเป็นต้นไป ที่ผ่านมาโอเปกพลัสไม่ยอมทำตามแรงกดดันนำโดยสหรัฐที่ต้องการให้เพิ่มกำลังผลิตอย่างมีนัยสำคัญเพื่อควบคุมราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น นักวิเคราะห์คาดว่า การเกิดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์โอไมครอนและแรงเทขายในตลาดทุนทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า โอเปกพลัสจะเลือกระงับแผนการเพิ่มกำลังผลิตรายเดือนวันละ 400,000 บาร์เรล เพราะตลาดไม่น่าจะดูดซับน้ำมันส่วนเกินดังกล่าวได้ ยังไม่นับรวมน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ที่สหรัฐ จีนและอินเดียจะปล่อยออกมาในไตรมาสแรกของปีหน้าเพื่อกดราคาน้ำมันดิบที่สูงจนสั่นคลอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนที่แอฟริกาใต้เป็นแห่งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ทำให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงกว่าร้อยละ 10 เป็นการลดลงครั้งใหญ่ครั้งแรกนับจากเดือนเมษายน 2563 ที่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดทั่วโลก ขณะนี้ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวที่บาร์เรลละ 70 ดอลลาร์สหรัฐ โอเปกพลัสได้ลดกำลังผลิตลงอย่างมากเมื่อปีก่อนที่โรคโควิดเริ่มระบาด เพราะมาตรการจำกัดการระบาดทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงมาก และเพิ่งเพิ่มกำลังผลิตรายเดือนวันละ 400,000 บาร์เรลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีนี้ ขณะที่กำลังผลิตจริงสูงกว่านี้ 10 เท่า.-สำนักข่าวไทย

1 24 25 26 27 28 31
...