ชัวร์ก่อนแชร์: ใบพลูช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ จริงหรือ?
แม้สรรพคุณของใบพลูจะช่วยบรรเทาปวดและช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ WHO ยืนยันว่าการบริโภคใบพลูต้มสุกไม่สามารถรักษาการป่วยจากโควิด 19 ได้
แม้สรรพคุณของใบพลูจะช่วยบรรเทาปวดและช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ WHO ยืนยันว่าการบริโภคใบพลูต้มสุกไม่สามารถรักษาการป่วยจากโควิด 19 ได้
1. เต้านมของผู้หญิงจะขยายตัวตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือจากการใช้ยาบางชนิด
2. วัคซีนโควิด 19 ไม่มีฮอร์โมนกระตุ้นการขยายเต้านมเป็นส่วนประกอบของวัคซีนแต่อย่างใด
1. WHO ยืนยันว่าสุราไม่ช่วยป้องกันโควิด 19 และยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
2. การดื่มสุราไม่ว่าจะในปริมาณเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
1. หน่วยงาน CSIR ในอินเดียยืนยันว่าผลวิจัยไม่อาจสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่และการกินมังสวิรัติช่วยป้องกันเชื้อโควิด 19
2. WHO ย้ำว่ายังไม่มีงานวิจัยที่มีบทสรุปเรื่องความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่
1. เป็นข้ออ้างโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวติดต่อต้านวัคซีน
2. สถาบันการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) ยืนยันไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนและโรคเบาหวานแต่อย่างใด
1. หน่วยงานด้านการบินของยุโรปทั้ง IATA, EASA และ A4E ต่างสนับสนุนให้ผู้โดยสารและพนักงานของบริษัทฉีดวัคซีนโควิด 19
2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิด Economy Class Syndrome ที่เกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบิน แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศสเปน อ้างว่าการดื่นน้ำที่ผสม “ถ่านกัมมันต์” (Activated Charcoal) 3 วันก่อนและหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 สามารถลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีนได้
21 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ท มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นคำกล่าวอ้างจากงานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้วิธีวิจัยที่น่ากังขาและยังไม่ได้รับการประเมินความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ผลวิจัยของประเทศอินเดียที่อ้างว่า ผู้ที่สวมแว่นตามีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่าคนทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานของ อามิต คูมาร์ จักษุแพทย์ชาวอินเดีย ที่เผยแพร่งานวิจัยผ่านทางเว็บไซต์ MedRxiv เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย อามิต คูมาร์ ตั้งสมติฐานว่าการใส่แว่นตาช่วยลดความถี่ของเอามือไปสัมผัสและขยี้ดวงตา และน่าจะลดโอกาสการรับเชื้อโควิด 19 ได้ อามิต คูมาร์ ได้สัมภาษณ์พฤติกรรมการสวมแว่นสายตาในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลจำนวน 304 คน โดยพบว่ามีเพียง 58 คนในกลุ่มผู้ป่วยที่สวมแว่นสายตาเป็นประจำ […]
20 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ยืนยันว่าไม่พบวัคซีนชนิดใดๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันการป่วยเป็นมะเร็ง เช่น วัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูก และ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดย อเล็กซานเดอร์ โปเลตาเอฟ แพทย์ชาวรัสเซียอ้างว่า การฉีดวัคซีนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว คลิปสัมภาษณ์ดังกล่าว นำมาจากงานเสวนาในรายการโทรทัศน์ของประเทศรัสเซีย ที่ออกอากาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย อเล็กซานเดอร์ โปเลตาเอฟ อ้างว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งและโรคภูมิต้านตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s ซึ่งเป็นยุคที่มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างแพร่หลาย โปเลตาเอฟย้ำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกต่างลงความเห็นว่า หากการฉีดวัคซีนทุกชนิดถูกยกเลิก การเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะในเด็กจะลดลงถึง 2 ใน 3 และการป่วยด้วยมะเร็งจะลดลงถึงครึ่งหนึ่ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Ukraine ยืนยันว่า […]
19 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ประสิทธิผลของวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่ที่ 40-60% เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดการป่วยในสหรัฐฯ ได้ถึง 7.5 ล้านครั้ง ลดการเข้าห้อง ICU ได้ถึง 82% และช่วยชีวิตคนได้กว่า 6,300 คน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครนเพื่อบั่นทอนความเชื่อมั่นในวัคซีนโควิด 19 โดยอ้างว่าแม้จะมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากว่า 80 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถยับยั้งการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้ แสดงว่าการป้องกันโรคด้วยวัคซีนไม่ได้ผล FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไวรัสไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วยสายพันธุ์ A B C และ D โดยเฉพาะสายพันธุ์ A ซึ่งมีซีโรไทป์หลากหลายชนิด คือสาเหตุของการระบาดไข้หวัดใหญ่หลายครั้ง เช่น H1N1 และ H5N1 เป็นต้น ในแต่ละปี ผู้ผลิตวัคซีนจะคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือนว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใดจะกลับมาแพร่ระบาด […]
18 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: VICP ระบุว่าอาการข้างเคียงจากวัคซีนที่พบมากที่สุดคือการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนที่ 60% อาการอัมพาตจากวัคซีนพบได้ส่วนน้อย VICP ยืนยันว่าครึ่งหนึ่งของการจ่ายค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีน มีการพิสูจน์ในภายหลังว่าสาเหตุไม่ได้มาจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อกล่าวอ้างที่เผยแพร่ผ่านทาง Facebook ของผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของวัคซีนที่พบบ่อยที่สุดได้แก่อาการอัมพาต ทั้งจากโรคไขสันหลังอักเสบ, กล้ามเนื้ออัมพาตเฉียบพลัน และอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน พร้อมอ้างว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ป่วยอัมพาตจากวัคซีนปีละหลายร้อยคน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Ukraine พบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่ในช่วงที่ผู้หญิงในกรุงเคียฟรายหนึ่งเกิดอาการอัมพาตหลังจากฉีดวัคซันโควิด 19 โครงการชดเชยการบาดเจ็บจากวัคซีนแห่งชาติสหรัฐ (VICP) จัดตั้งเมื่อปี 1988 เพื่อเยียวยาผู้มีอาการข้างเคียงจากวัคซีน ระหว่างปี 2006 ถึง 2019 มีการฉีดวัคซีนให้กับชาวอเมริกันมากกว่า 4 พันล้านโดส โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีการพิจารณาคดีเงินชดเชยจากการฉีดวัคซีน 8,161 คดี และมีการจ่ายเงินชดเชยไปทั้งสิ้น 5,755 ครั้ง […]
16 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: โปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อต้นแขนที่ฉีดยา โปรตีนหนามพบในกระแสเลือดน้อยมากและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน งานวิจัยไม่พบส่วนประกอบของวัคซีนปนเปื้อนในน้ำนมแม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ต่างจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 สามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและภาวะข้อต่ออักเสบ โปรตีนหนามเหล่านี้จะไม่อยู่เฉพาะบริเวณที่ฉีดยา แต่จะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เข้าไปในเซลล์ไข่ทำให้ระบบสืบพันธุ์บกพร่อง และยังอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ให้นมบุตรอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้ออ้างดังกล่าวมาจากความเห็นของ ไบแรม บรีเดิล นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวแคนาดา ที่ยกตัวอย่างผลการชันสูตรศพผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 13 ราย ซึ่งพบโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสมองของผู้เสียชีวิต รวมถึงการฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสัตว์ทดลอง ก็พบว่าสมองและปอดของสัตว์ทดลองถูกทำลายด้วยเช่นกัน การตรวจสอบของ Myth Detector ระบุว่า ผลกระทบจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 และโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด […]