27 สิงหาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newsmeter (อินเดีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- WHO ยืนยันว่าสุราไม่ช่วยป้องกันโควิด 19 และยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- การดื่มสุราไม่ว่าจะในปริมาณเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศอินเดียโดย ดร.ชูชม่า ไจสวาล ที่อ้างว่าการดื่มสุราในปริมาณมากๆ อาจไม่ดีต่อสุขภาพ แต่การดื่มสุราที่มีคุณภาพในปริมาณที่พอเหมาะสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งจะช่วยบำรุงสุขภาพ โดยสุราทั้ง 7 ชนิดได้แก่ เบียร์, ไวน์แดง, วอดก้า, วิสกี้, จินกับโทนิค, บรันดี และรัม โดยเน้นว่าเมื่อดื่มอย่างพอเหมาะจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและภูมิคุ้มกัน ซึ่งจำเป็นต่อการป้องกันไวรัสโควิด 19
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ข้อมูลที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า นอกจากสุราจะไม่ช่วยป้องกันจากโควิด 19 แล้ว การดื่มสุรายังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
บทความ WHO ในหัวข้อ Alcohol and COVID-19: What you need to know อธิบายว่า เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสุราทุกชนิด สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์แทบทุกอวัยวะ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีหลักฐานยืนยันว่า การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใดก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสิ้น ผลกระทบต่อร่างกายจะเพิ่มตามปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป
การดื่มสุราในปริมาณมากจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอและป้องกันการติดเชื้อได้แย่ลง การดื่มสุราแม้เพียงเล็กน้อยยังเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งได้ สุราส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้ดื่ม สตรีมีครรภ์ที่ดื่มแอลกอฮอล์ยังส่งผลเสียไปยังทารกในครรภ์อีกด้วย
สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ชี้แจงความเชื่อผิดๆ ที่อ้างว่าการดื่มสุราดีกรีสูงๆ สามารถฆ่าไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายได้
ส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ที่ 60% ถึง 95% ในเจลล้างมือสามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่เกาะอยู่ตามพื้นผิวได้ แต่การดื่มสุราที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงๆ ไม่ช่วยในการป้องกันไวรัสแต่อย่างใด การดื่มสุราโดยเฉลี่ยแต่ละครั้งจะทำให้ค่าแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดอยู่ที่ 0.01–0.03 gm% ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากและไม่เพียงพอที่ฆ่าเชื้อได้ แต่หากค่าแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 0.40 gm% อาจทำให้ผู้ดื่มเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การดื่มสุรานอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลงและทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นแล้ว ในระยะยาวการดื่มสุราอย่างหนักยังส่งผลกระทบต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันในปอด เซลล์ที่อยู่บริเวณผิวของปอดจะถูกทำลาย ซึ่งความเสียหายจะไม่เป็นที่รับรู้จนกระทั่งเชื้อโรคลงปอดไปแล้ว
ผู้ที่ดื่มสุราอย่างหนัก ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) มากกว่าคนปกติ, มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า, ต้องรักษาตัวในห้อง ICU นานกว่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นอาการที่พบในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการหนักหลายราย
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter