21 สิงหาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ท มาซิโดเนีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
เป็นคำกล่าวอ้างจากงานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้วิธีวิจัยที่น่ากังขาและยังไม่ได้รับการประเมินความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review)
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีการแชร์ผลวิจัยของประเทศอินเดียที่อ้างว่า ผู้ที่สวมแว่นตามีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่าคนทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานของ อามิต คูมาร์ จักษุแพทย์ชาวอินเดีย ที่เผยแพร่งานวิจัยผ่านทางเว็บไซต์ MedRxiv เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย อามิต คูมาร์ ตั้งสมติฐานว่าการใส่แว่นตาช่วยลดความถี่ของเอามือไปสัมผัสและขยี้ดวงตา และน่าจะลดโอกาสการรับเชื้อโควิด 19 ได้
อามิต คูมาร์ ได้สัมภาษณ์พฤติกรรมการสวมแว่นสายตาในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลจำนวน 304 คน โดยพบว่ามีเพียง 58 คนในกลุ่มผู้ป่วยที่สวมแว่นสายตาเป็นประจำ อามิต คูมาร์ จึงได้ข้อสรุปว่าผู้สวมแว่นตามีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่าคนทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า
อย่างไรก็ดี บทสรุปดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ เนื่องจากงานวิจัยที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ MedRxiv ยังเป็นงานวิจัยฉบับก่อนการตีพิมพ์ (Pre-Printed) ซึ่งยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์ (Peer Review ) หรือการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ ผลวิจัยจึงไม่สามารถใช้อ้างอิงได้
วงการวิทยาศาสตร์ต่างออกมาโต้แย้งงานวิจัยชิ้นนี้ กีเดียน เมเยโรวิช แคทซ์ นักระบาดวิทยาชาวออสเตรเลีย วิจารณ์งานวิจัยชิ้นนี้ว่ามีข้อบกพร่องหลายอย่าง ทั้งจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่น้อยเกินไป รวมถึงวิธีวิจัยที่เป็นเพียงการสัมภาษณ์พฤติกรรมการสวมแว่นตาของผู้ป่วยโควิด 19 อยู่แล้ว จึงไม่อาจยืนยันได้ว่า แว่นตาสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มผู้สวมแว่นตาได้มากน้อยแค่ไหน งานวิจัยชิ้นนี้สรุปได้เพียงแค่ว่าผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลดังกล่าว มีผู้สวมแว่นตาน้อยกว่าผู้ป่วยทั่วไปเท่านั้น
ดร. แคทเธอรีน โคลบี จากมหาวิทยาลัย New York University ชี้ว่า ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าผู้สวมแว่นตามีโอกาสติดโควิด 19 น้อยกว่าคนทั่วไป ส่วน ดร. โซนอล ทัลลี จากมหาวิทยาลัย University of Florida ยอมรับว่าข้อมูลในปัจจุบันยังไม่พบว่า การสวมแว่นตาจะช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่
ข้อมูลอ้างอิง:
https://vistinomer.mk/ne-e-dokazhano-deka-tie-shto-nosat-ochila-se-vo-pomal-rizik-da-zabolat-od-kovid-19/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter