นายกฯ ตั้ง 35 คกก.ทำประชามติ แก้รธน.
“เศรษฐา” เซ็นคำสั่งนายกฯ แต่งตั้ง 35 คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้รธน. มีตัวแทนทุกพรรค “จ่านิว” โผล่ร่วม เก็บโควตาให้ก้าวไกล
“เศรษฐา” เซ็นคำสั่งนายกฯ แต่งตั้ง 35 คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้รธน. มีตัวแทนทุกพรรค “จ่านิว” โผล่ร่วม เก็บโควตาให้ก้าวไกล
“ภูมิธรรม” แถลงคืบหน้า แก้รธน. ย้ำหลักการไม่แตะหมวด 1-2 และพระราชอำนาจ เคาะ 10 ต.ค. ถกกรอบทำงานร่วมกันนัดแรก คาด ก่อนสิ้นปีได้ข้อสรุป หวังเดินหน้าทันที
“ภูมิธรรม” เสนอรายชื่อคณะกรรมการทำประชามติแก้ รธน. ให้นายกฯ เคาะวันนี้ ย้ำดำเนินการเสร็จใน 4 ปี บังคับใช้เลือกตั้งครั้งหน้า
“ภูมิธรรม” เผยได้ 35 คนร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติแก้ รธน. เตรียมเสนอนายกฯ ลงนามพรุ่งนี้ วางกรอบชัดเจนภายในสิ้นปีนี้
“คุณหญิงสุดารัตน์” ขอรัฐบาลจริงใจ เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ แนะทำต่อจากร่างที่เคยเสนอไว้ ขออย่ามองเป็นของไทยสร้างไทย เพื่อให้ประเทศเดินหน้าและอำนาจกลับมาเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ชี้ตั้งคณะกรรมการศึกษา ยิ่งเสียเวลา เสียเงิน และสร้างความขัดแย้ง
อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชี้โทษตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีวิตรุนแรงเกินไป แนะแก้รธน.ม.234-235
“ภูมิธรรม” เผย คืบหน้ารวมทีม คกก.ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญได้ 20 กว่าคนแล้ว แย้มชื่อ “ชูศักดิ์ - กิตติพงษ์” ตอบรับ เมินข้อเสนอ “วิษณุ” ย้ำต้องมี สสร. ไม่แสดงความเห็น “ก้าวไกล” เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม
“วิษณุ” ไม่รับร่วมคณะแก้รัฐธรรมนูญชุดภูมิธรรม แต่พร้อมให้คำปรึกษาเป็นกรณี บอก วันนี้สบายใจ พ้นออกมาแล้ว ไม่อยากกลับไปเป็นบุุคคลสาธารณะ ชี้แก้ไขรัฐธรรมนูญทีละรายมาตราดีกว่า พร้อมแนะแก้มาตรา 256 ลดขั้นตอนทำประชามติเหลือ 2 ครั้ง หวังลดงบประมาณ
“ราเมศ” ย้ำจุดยืน ปชป. แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ขอรัฐบาล “อย่าตั้งท่า” นานเกินไป
“ภูมิธรรม” จ่อเคาะ 30 อรหันต์แก้รัฐธรรมนูญ พร้อมเสนอเข้า ครม. 3 ต.ค.นี้ เผย “ชูศักดิ์-นิกร” ตอบรับแล้ว ย้ำ ไม่แตะหมวด 1-2
“ภูมิธรรม” เผยคืบหน้าตั้งคณะกรรมการศึกษาแก้รัฐธรรมนูญ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เสนอเข้า ครม. อยู่ระหว่างติดต่อบุคคล ชี้ใช้เวลา 4 เดือนในการวางกรอบ ย้ำไม่ยื้อ จบในรัฐบาลนี้
ถ้าไม่แก้รธน.ทันที จะโหวตให้
รัฐสภา 22 ส.ค.-“ส.ว.สมเจตน์” ข้องใจเพื่อไทยรีบแก้รธน.หวังล้างผิดคดีทุจริต แนะให้ยอมเสียสัตย์ให้ปท.สงบ จะโหวตนายกฯ ให้ ด้าน “คำนูณ” กลับหลักลงมติตามเสียงข้างมากของสภาฯ ชี้คนที่ถูกเสนอชื่อไม่มีหลักคิดอันตราย
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) อภิปรายในที่ประชุมรัฐสภา วาระให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า พรรคเพื่อไทยมีแนวคิดแก้รัฐธรรมนูญทันทีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)นัดแรก อยากถามว่ารัฐธรรมนูญปี 60 มีปัญหาอะไรให้เร่งแก้ไข เป็นเพราะรัฐธรรมนูญนี้มีกลไกป้องกันนักการเมืองทุจริตเข้มงวด อาทิ ตัดสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต การให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ กลไกเหล่านี้ ทำให้พรรคเพื่อไทยที่มักมีปัญหาทุจริต คนสำคัญบางคนต้องหลบหนีคดี เพราะไม่มีอายุความ จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรม
“หากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กลไกขจัดนักการเมืองทุจริตจะหายไป สอดคล้องความต้องการบางพรรคการเมืองที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญหมวดสถาบัน การแย่งแยกราชอาณาจักร การทำประชามติรัฐธรรมนูญใหม่จะยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น เพราะการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างอำนาจองค์กรอิสระ ลบล้างความผิดให้นักการเมืองทุจริต เพิ่มประเด็นความขัดแย้งมากขึ้น จะกระทบความมั่นคงชาติร้ายแรงมากกว่าการแก้มาตรา 112 ผมจะสนับสนุนนายกฯพรรคเพื่อไทยได้อย่างไร แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยจะเสียสัตย์ให้ประเทศสงบ ยืนยันจะไม่เสนอแก้รัฐธรรมนูญทันที แต่จะเสนอในห้วงเหมาะสม เมื่อสังคมสงบสุข การเสียสัตย์ครั้งนี้จะได้รับคำสรรเสริญทำเพื่อประเทศ ถ้าทำเช่นนี้ จะสนับสนุนนายกฯเพื่อไทย” พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
ด้านนายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังสังคมใหม่ อภิปรายว่า นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย มีความเหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี ข้อครหาเรื่องการเลี่ยงภาษีที่ดิน โดยการแยกโอนการซื้อขายที่ดินเป็นรายวัน รายบุคคล 12 คน 12วัน เพื่อภาษีที่ดิน 70ล้านบาท ไม่ใช่ 580 ล้านบาทนั้น เป็นระเบียบของกรมที่ดินในการเสียภาษีให้ทำได้ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ส่วนที่หลายคนบอกว่าไม่รู้จักนายเศรษฐานั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะตลอดการเลือกตั้ง แคนดิเดตนายกฯ ทุกพรรคได้แสดงวิสัยทัศน์มาตลอด จะไม่รู้จักได้อย่างไร พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเลือกตั้งจากรประชาชน 10ล้านเสียง ถือว่าผ่านการตรวจสอบจากประชาชนมาแล้ว จึงมีความเหมาะสมเป็นนายกฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. อภิปรายว่า ส.ว.ควรใช้อำนาจเลือกนายกฯ อย่างมีขอบเขต การให้ความเห็นชอบนายกฯ วันนี้เห็นควรกลับคืนสู่หลักการทั่วไปคือ ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร เพราะแคนดิเดตนายกฯ ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่มีหลักคิดเป็นอันตราย ส่วนการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะถือเป็นภยันอันตรายหรือไม่ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเกือบทุกพรรคการเมือง การจะให้ครม.ทำประชามติในวันแรกการประชุมครม.เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะการทำประชามติและการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี
“ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เคารพผลการลงประชามติ แต่เพื่อความสบายใจของรัฐสภาและประชาชน ควรชี้แจงให้ชัดเจนเพื่อสร้างความสบายใจว่าร่างแก้รัฐธรรมนูญนั้น ควรรับฟังความเห็นจากทุกพรรคและส.ว.ผ่านการพูดคุยให้มากสุด และรูปแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ที่จะเกิดขึ้น ต้องผ่านความเห็นจากสภาฯ ก่อน รวมถึงทบทวนระยะเวลาทำประชามติจะเป็นประโยชน์ ถ้าทำได้ก็จะให้ความเห็นชอบนายกฯ ตามเสียงข้างมาก” นายคำนูณ กล่าว.-สำนักข่าวไทย