อินโดนีเซียอนุมัติโครงการวัคซีนโควิดสำหรับภาคเอกชน

อินโดนีเซียอนุมัติโครงการวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับภาคเอกชนแล้ว ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงการฉีดวัคซีนของภาครัฐ เพื่อให้บริษัทเอกชนสามารถจัดซื้อวัคซีนโควิดที่ทางรัฐบาลจัดหามาให้เพื่อใช้ฉีดให้กับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทได้

อินโดนีเซียจะซื้อวัคซีนโควิดของซิโนฟาร์มสำหรับเอกชน

ลูฮุท บินซาร์ ปันด์จัยตัน รัฐมนตรีกระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุนชองอินโดนีเซียกล่าววันนี้ว่า อินโดนีเซียจะรับวัคซีน

อินโดนีเซียขอให้รัฐบาลทหารเมียนมาเคารพเสียงประชาชน

จาการ์ตา 23 ก.พ. – รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเซียระบุว่า กองทัพเมียนมาควรถ่ายโอนอำนาจการปกครองกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยตามความต้องการของประชาชน หลังก่อเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเซียส่งถ้อยแถลงของนางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงไปถึงรอยเตอร์ว่า กองทัพเมียนมาควรเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมตามความต้องการของประชาชน การทำตามแนวทางดังกล่าวจะทำให้เรื่องทั้งหมดสิ้นสุดลง อินโดนีเซียรู้สึกกังวลกับสถานการณ์ในเมียนมาอย่างมาก และขอสนับสนุนชาวเมียนมาทุกคน สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชนเมียนมาถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เธอยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจสูงสุดเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุนองเลือด ทั้งนี้ คำกล่าวของนางเร็ตโนมีขึ้นหลังผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารรู้สึกโกรธที่รอยเตอร์รายงานว่า อินโดนีเซียกำลังผลักดันแผนการที่จะให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนส่งคณะสังเกตการณ์เข้าไปตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลทหารเมียนมาการจะจัดเลือกตั้งครั้งใหม่อย่างเป็นธรรมตามที่สัญญาไว้ บางคนชักชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ไปชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตอินโดนีเซียในเมียนมาด้วย ในขณะเดียวกัน กระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเซียปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่า ต้องการให้เคารพผลการเลือกตั้งในเมียนมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนปีก่อนหรือไม่ แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศระบุว่า ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียได้แสดงความยินดีกับนางออง ซาน ซู จี ที่ชนะการเลือกตั้งในเวลานั้น นอกจากนี้ ยังปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับรายงานของรอยเตอร์ที่ระบุว่า อินโดนีเซียจะเรียกร้องให้ประชาคมอาเซียนเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารและกลุ่มผู้ประท้วงเมียนมา. -สำนักข่าวไทย

นักท่องเที่ยวกลุ่มแรก 59 คน เดินทางถึงภูเก็ต กักตัว “ศรีพันวา”

นักท่องเที่ยวยุโรปจากหลายประเทศกลุ่มแรก 59 คน เดินทางจากสนามบินในอินโดนีเซียถึงท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว ก่อนเข้ากักตัวที่ Villa Quarantine ในโรงแรมศรีพันวา เป็นเวลา 14 วัน ภายใต้มาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

น้ำท่วมหนักในกรุงจาการ์ตา

กรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซียต้องเผชิญกับน้ำท่วมอย่างรุนแรงหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนกว่า 1,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนในวันนี้ไปยังสถานที่ปลอดภัยในขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเตือนว่าลักษณะอากาศแบบนี้จะต้องคงเกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์หน้า

ภูเขาไฟเมอราปี ในอินโดนีเซียปะทุ-พ่นลาวา

ภูเขาไฟเมอราปี ในอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เกิดปะทุขึ้นอีกครั้งในวันนี้ พ่นลาวาสีแดงจัดอย่างรุนแรง

ชี้เครื่องบินศรีวิจายาพบความผิดปกติของอุปกรณ์

คณะผู้สอบสวนเครื่องบินตกกล่าวในรายงานเบื้องต้นว่า เครื่องบินโดยสารของสายการบินศรีวิจายา ของอินโดนีเซียที่เกิดอุบัติเหตุตกนั้น มีปัญหาความไม่สมดุลของแรงขับของเครื่องยนต์ ที่ทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัวและดิ่งลงในทะเลทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิต 62 ราย

อินโดนีเซีย-มาเลเซียเล็งอาเซียนหารือสถานการณ์เมียนมา

จาการ์ตา 5 ก.พ. – ผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซียระบุว่า ทั้งสองประเทศกำลังหาโอกาสจัดการประชุมวาระพิเศษของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา ซึ่งเกิดเหตุรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โจโกวี กล่าวภายหลังจากพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซียว่า จะขอให้กระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศติดต่อขอคุยกับบรูไน ซึ่งขณะนี้เป็นประธานหมุนเวียนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เพื่อจัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ขณะที่ผู้นำมาเลเซียระบุว่า การก่อเหตุรัฐประหารของกองทัพเมียนมาทำให้กระบวนการประชาธิปไตยถอยหลังไปหนึ่งก้าว การจัดประชุมในลักษณะดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ไม่เกิดบ่อยนักและท้าทาย อย่างไรก็ดี อาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงปัญหาภายในของประเทศสมาชิกและไม่แสดงท่าทีขัดแย้งกับการยึดอำนาจของกองทัพ แต่ระบุว่าจะคอยติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด ประธานาธิบดีโจโกวียังได้กล่าวถึงปัญหามาตรการกีดกันน้ำมันปาล์มที่อินโดนีเซียและมาเลเซียกำลังเผชิญอยู่ว่า ทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มในอันดับต้น ๆ ของโลกมีความเหมาะสมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับมาตรการกีดกันน้ำมันปาล์ม ขณะที่นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดินระบุว่า มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันปาล์มในทวีปยุโรปเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศยังกล่าวว่า จะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงเพิ่มเติมในการเดินทางอย่างเป็นทางการและการเดินทางเพื่อธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 และเน้นย้ำถึงความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาอยู่ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย.-สำนักข่าวไทย

ชาวโรฮิงญาหลายร้อยหายตัวไปจากค่ายลี้ภัยในอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 28 ม.ค. – ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนหายตัวไปจากค่ายผู้ลี้ภัยในอินโดนีเซีย โดยคาดว่าเข้าร่วมกับขบวนการค้ามนุษย์เพื่อข้ามฝั่งไปยังมาเลเซีย เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเผยว่า ค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวทางชายฝั่งตอนเหนือของอินโดนีเซียเหลือชาวโรฮิงญาเพียง 112 คน ลดลงจากเดิมที่มีเกือบ 400 คนที่เดินทางมาอาศัยที่ค่ายแห่งนี้ระหว่างเดือนมิถุนายนและกันยายนปีก่อน เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียและองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นไม่สามารถระบุเบาะแสของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมไร้สัญชาติจากเมียนมา คาดว่าผู้ลี้ภัยได้ขอให้ขบวนการค้ามนุษย์ช่วยพาพวกเขาข้ามช่องแคบมะละกาเข้าไปยังมาเลเซีย หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการดูแลชาวโรฮิงญาของเมืองล็อกเซอูมาเวกล่าวว่า ไม่มีใครรู้ว่าชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวไปไหน แต่ถ้าพวกเขาหาลู่ทางได้ก็จะหนีไปเพื่อทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำอินโดนีเซียระบุว่า เคยเตือนชาวโรฮิงญาไม่ให้หนีออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยแล้ว เนื่องจากการเดินทางมีความเสี่ยงสูงและอันตรายมาก รวมถึงการใช้บริการของขบวนการค้ามนุษย์ด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตำรวจอินโดนีเซียจับกุมชาวโรฮิงญาได้อย่างน้อย 18 คนจากค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวและนายหน้าค้ามนุษย์สิบกว่าคนในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองเมดานที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทิศเหนือของอินโดนีเซีย ซึ่งถูกใช้เป็นจุดลักลอบข้ามไปยังฝั่งมาเลเซียโดยผิดกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง. -สำนักข่าวไทย

ยอดผู้ติดโควิดในอินโดนีเซียทะลุเกิน 1 ล้านคนแล้ว

อินโดนีเซียรายงานวันนี้ว่า ยอดสะสมผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พุ่งทะลุเกิน 1 ล้านรายแล้วในวันนี้ หลังจากพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จำนวน 13,094 รายในวันนี้

อิหร่านขอให้อินโดนีเซียชี้แจงเรื่องยึดเรือ

เตหะราน 25 ม.ค.- อิหร่านขอให้อินโดนีเซียแจกแจงรายละเอียดเรื่องยึดเรือติดธงอิหร่าน หลังจากอินโดนีเซียแจ้งว่า ยึดเรืออิหร่านและเรือปานามาเมื่อวานนี้ เพราะต้องสงสัยลอบถ่ายน้ำมันขณะอยู่ในน่านน้ำอินโดนีเซีย โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่านแถลงวันนี้ว่า การยึดเรือเป็นเรื่องทางเทคนิคและเกิดขึ้นในเส้นทางเดินเรือ องค์การท่าเรืออิหร่านและและบริษัทเจ้าของเรือกำลังหาสาเหตุและหาทางแก้ไข ด้านโฆษกหน่วยยามฝั่งอินโดนีเซียแถลงว่า เรือบรรทุกน้ำมันทั้งสองลำถูกยึดในน่านน้ำนอกชายฝั่งจังหวัดกาลิมันตันบนเกาะบอร์เนียว และจะถูกแล่นประกบไปยังเกาะบาตัมในจังหวัดริเยาเพื่อสอบสวนเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สังเกตเห็นเรือทั้งสองลำครั้งแรกเมื่อเวลา 05.30 น.เมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นในลักษณะที่ปกปิดตัวตน ไม่ยอมติดธงชาติ ปิดระบบแสดงตน และไม่ตอบรับการติดต่อทางวิทยุ ก่อนถูกจับได้คาหนังคาเขาเมื่อวันจันทร์ขณะกำลังถ่ายน้ำมันจากเรือเอ็มทีฮอร์สของอิหร่านไปยังเรือเอ็มทีเฟรยาของปานามา นอกจากนี้ยังมีคราบน้ำมันลอยรอบเรือปานามาด้วย เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวลูกเรือ 61 คนบนเรือทั้งสองลำ ประกอบด้วยชาวอิหร่านและชาวจีน  บริษัทข้อมูลเรฟินิทิฟ ไอคอนเผยว่า พบเรือสองลำนี้ครั้งหลังสุดขณะอยู่นอกชายฝั่งสิงคโปร์เมื่อต้นเดือน แต่ละลำสามารถบรรทุกน้ำมันได้ 2 ล้านบาร์เรล.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียยึดเรืออิหร่าน-คาดลักลอบขนน้ำมัน

จาการ์ตา 25 ม.ค. – อินโดนีเซียยึดเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่านและปานามาต้องสงสัยลักลอบขนถ่ายน้ำมันในน่านน้ำของอินโดนีเซีย สำนักงานความมั่นคงทางทะเลแห่งอินโดนีเซียระบุว่า ทางการอินโดนีเซียพบเรือบรรทุกน้ำมันดิบของอิหร่านที่มีชื่อว่า เอ็มที ฮอร์ส (MT Horse) และเรือของปานามาชื่อ เอ็มที เฟรยา (MT Freya) นอกชายฝั่งกาลิมันตันบนเกาะบอร์เนียวเมื่อวานนี้  และได้เข้ายึดเรือทั้งสองลำหลังลูกเรือไม่ยอมตอบรับการติดต่อทางวิทยุ ลูกเรือของเรือทั้งสองลำต้องสงสัยว่า จงใจละเมิดกฎการเดินเรือหลายประการ มีทั้งการไม่แสดงธงประจำชาติ ปิดระบบแสดงตนอัตโนมัติเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และลักลอบขนถ่ายน้ำมันโดยผิดกฎหมาย ขณะนี้ทางการอินโดนีเซียกำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวนลูกเรือ ก่อนหน้านี้ อิหร่านเคยถูกกล่าวหาว่าพยายามปกปิดเรื่องการขายน้ำมันเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรภาคอุตสาหกรรมน้ำมันที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐประกาศใช้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวตัดช่องทางการขายน้ำมันอิหร่านให้แก่หลายประเทศ เช่น ซีเรีย เวเนซุเอลา หวังขัดขวางไม่ให้อิหร่านซึ่งเป็นปรปักษ์กับพันธมิตรสหรัฐอย่างซาอุดีอาระเบียและอิสราเอลได้มีแหล่งเงินสดเข้าประเทศ. -สำนักข่าวไทย

1 39 40 41 42 43 139
...