ชิลีรำลึก 50 ปีรัฐประหารโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์
สตรีชาวชิลีหลายหมื่นคนแต่งกายด้วยชุดดำ ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 50 ปีรัฐประหารโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ด้านหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงซานติอาโก
สตรีชาวชิลีหลายหมื่นคนแต่งกายด้วยชุดดำ ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 50 ปีรัฐประหารโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ด้านหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงซานติอาโก
ผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องยูเอ็นดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งความโหดร้ายทางทหารของรัฐบาลทหารเมียนมา
นีอาเม 10 ก.ย.- คณะทหารที่ทำรัฐประหารในไนเจอร์กล่าวหาฝรั่งเศสว่า กำลังรวบรวมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์ เพื่อเตรียมใช้กำลังทางทหารแทรกแซงไนเจอร์ โฆษกคณะรัฐประหารกล่าวเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ฝรั่งเศสเดินหน้าส่งกำลังพลไปยังหลายประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกหรืออีโควาส (ECOWAS) อันเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมรุกรานไนเจอร์ที่ฝรั่งเศสวางแผนร่วมกับอีโควาส โฆษกอ้างว่า ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทหาร เฮลิคอปเตอร์ และยานเกราะประมาณ 40 คัน ไปยังโกตดิวัวร์หรือไอวอรีโคสต์ และเบนิน เครื่องบินทหารเหล่านี้จะลำเลียงยุทโธปกรณ์จำนวนมากไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์หลายประเทศ คณะรัฐประหารไนเจอร์ประกาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ยกเลิกข้อตกลงความร่วมมือทางทหารกับฝรั่งเศส และถือว่าทหารฝรั่งเศส 1,500 นายที่อยู่ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในไนเจอร์มีสถานภาพผิดกฎหมาย แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับคณะรัฐประหาร จึงถือว่าไม่มีอำนาจในการยกเลิก อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเผยว่า กองทัพฝรั่งเศสกำลังพูดคุยกับคณะรัฐประหารไนเจอร์เรื่องถอนทหารฝรั่งเศสออกจากประเทศอดีตอาณานิคมแห่งนี้ ในขณะที่ชาวไนเจอร์จำนวนมากชุมนุมรอบที่ตั้งบ้านพักทหารฝรั่งเศสในกรุงนีอาเมทุกวันมานานกว่าสัปดาห์แล้ว เรียกร้องให้ทหารฝรั่งเศสออกไป ด้านสหรัฐเริ่มโยกย้ายทหารที่มีอยู่ 1,100 นาย ออกจากกรุงนีอาเม ขึ้นไปยังเมืองอะกาเดซ ที่อยู่ทางตอนกลางประเทศแล้ว.-สำนักข่าวไทย
นายกรัฐมนตรีไนเจอร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพหลังการรัฐประหาร มีความหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรืออีโควาส (ECOWAS) ในเร็วๆ นี้
ย่างกุ้ง 4 ก.ย.- แหล่งข่าวในเมียนมาแจ้งว่า สถานที่ราชการในเมืองเมียวดีที่มีพรมแดนติดกับไทย ถูกระเบิดโจมตีหลายครั้ง มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน ตำรวจบาดเจ็บ 11 นาย เอเอฟพีระบุว่า เมืองเมียวดีอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมา มีการปะทะระหว่างกองทัพกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างประปรายนับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้มีคนจำนวนมากหนีข้ามพรมแดนเข้ามาในไทย เอเอฟพีอ้างแหล่งข่าวในกองทัพว่า มีระเบิด 2 ลูกตกเข้ามาในสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรและหน่วยงานราชการช่วงเช้าตรู่วันอาทิตย์ เจ้าหน้าที่จึงได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย จากนั้นมีระเบิดอีก 2 ลูกตกเข้ามา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 11 คน ผู้เสียชีวิตประกอบด้วยทหาร 1 นาย ตำรวจ 2 นาย ข้าราชการ 2 คน ผู้บาดเจ็บประกอบด้วยตำรวจชั้นผู้ใหญ่และชั้นผู้น้อย 11 นาย ในจำนวนนี้ 5 นายอาการสาหัส รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งว่า มีเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงและข้าราชการจำนวนหนึ่งบาดเจ็บจากเหตุระเบิด โดยโทษว่าเป็นฝีมือของกองกำลังปกป้องประชาชนหรือพีดีเอฟ (PDF) ที่ต่อต้านการรัฐประหารและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นแอลเอ […]
หัวหน้าคณะทหารในกาบองที่รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะสาบานตนเป็นประธานาธิบดีช่วงเปลี่ยนถ่ายในวันนี้
ชาวไนเจอร์ เดินขบวนประท้วงเป็นวันที่สาม เรียกร้องให้ฝรั่งเศส ซึ่งอดีตเคยเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมถอนทหารออกจากประเทศ หลังกองทัพไนเจอร์ก่อรัฐประหาร
ลอนดอน 16 ส.ค.- เอชแอนด์เอ็ม (H&M) ผู้ค้าปลีกแฟชั่นรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกกำลังสอบสวนเรื่องโรงงานผลิตสินค้าในเมียนมาถูกกล่าวหาว่ามีการกดขี่แรงงาน 20 ราย เอชแอนด์เอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติสวีเดนแถลงว่า กำลังตรวจสอบทุกกรณีที่ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชนระบุว่า พบการกดขี่แรงงาน 20 รายในโรงงานที่ผลิตสินค้าให้แก่เอชแอนด์เอ็ม บริษัทกำลังแก้ไขผ่านทีมงานท้องถิ่นในพื้นที่ และประสานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกล้ชิด ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษออกรายงานว่า ตรวจพบการกดขี่แรงงานในโรงงานสิ่งทอเมียนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งหมด 156 ราย เพิ่มขึ้นจาก 56 รายในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น สะท้อนว่าสิทธิแรงงานในเมียนมาเลวร้ายลงตั้งแต่มีการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ข้อกล่าวหากดขี่แรงงานที่พบมากที่สุดคือ การลดค่าจ้างและการโกงค่าจ้าง ตามมาด้วยการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม การให้ทำงานหนักเกินไป และการบังคับทำงานล่วงเวลา ด้านอินดิเท็กซ์ (Inditex) ของสเปนที่เป็นเจ้าของแบรนด์ซาร่า (Zara) ไม่แสดงความเห็นกรณีที่ถูกระบุในรายงานว่า มีการกดขี่แรงงาน 21 รายเกิดขึ้นในโรงงานที่ผลิตสินค้าให้แก่บริษัท แต่ได้ประกาศเป็นรายล่าสุดว่า จะตัดความสัมพันธ์กับโรงงานผลิตในเมียนมา หลังจากไพรมาร์ค (Primark) และมาร์กแอนด์สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) ประกาศไปเมื่อปี 2565.-สำนักข่าวไทย
นีอาเม 14 ส.ค.- คณะทหารปกครองไนเจอร์ประกาศว่า จะดำเนินคดีข้อหาเป็นกบฏต่อแผ่นดินกับประธานาธิบดีที่ถูกยึดอำนาจ และประณามกลุ่มผู้นำแอฟริกาตะวันตกที่คว่ำบาตรไนเจอร์ พ.อ.อะมาดู อับดุล ราห์มาน โฆษกสภาแห่งชาติเพื่อการปกป้องมาตุภูมิ ซึ่งเป็นคณะทหารปกครองไนเจอร์ตั้งแต่รัฐประหารยึดอำนาจประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม แถลงทางโทรทัศน์เมื่อเย็นวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า คณะทหารจะดำเนินคดีนายบาซูมในข้อหาเป็นกบฏต่อแผ่นดินและบ่อนทำลายความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกของไนเจอร์ ขณะเดียวกันกองทัพไนเจอร์แถลงหลังจากแพทย์เข้าเยี่ยมนายบาซูมเมื่อวันเสาร์ว่า เขาและครอบครัวไม่มีปัญหาสุขภาพ และกล่าวถึงเรื่องที่ประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตกหรืออีโควาส (ECOWAS) ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรไนเจอร์ว่า ทำให้ประชาชนประสบปัญหาในการได้รับยา อาหารและไฟฟ้า ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไร้มนุษยธรรม และน่าเสื่อมเสีย.-สำนักข่าวไทย
สหประชาชาติ 10 ส.ค.-เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการที่ประธานาธิบดีไนเจอร์ถูกคุมขังในสถานที่ที่มีสภาพเลวร้ายน่าตำหนิ และขอให้คณะรัฐประหารในไนเจอร์ปล่อยตัวเขา โฆษกส่วนตัวของนายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นแถลงว่า นายกูเตอร์เรสได้ประณามสภาพความเป็นอยู่ที่น่าตำหนิ ตามที่มีรายงานว่าประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูม และครอบครัวถูกคุมขังอยู่ในสภาพเช่นนั้น นายกูเตอร์เรสได้ย้ำความกังวลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของประธานาธิบดีและครอบครัว พร้อมกับย้ำให้ปล่อยตัวเขาทันทีโดยไร้เงื่อนไข และให้เขากลับมาดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐอีกครั้ง ซีเอ็นเอ็น (CNN) รายงานเมื่อวันพุธว่า ผู้นำไนเจอร์ถูกแยกคุมขัง และต้องรับประทานแต่ข้าวและพาสตาแห้ง ๆ ตามที่เขาได้ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์ถึงเพื่อนว่า ถูกตัดขาดการติดต่อกับโลกภายนอกตั้งแต่วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม ไม่มีคนนำอาหารหรือยามาให้เขา ผู้นำไนเจอร์ วัย 63 ปี ถูกกลุ่มทหารองค์รักษ์ควบคุมตัวและถูกกองทัพยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม.-สำนักข่าวไทย
สหรัฐแนะว่า การทูตคือทางเลือกที่ดีที่สุดที่ประชาคมโลกจะใช้แก้ไขวิกฤตการรัฐประหารในไนเจอร์ที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก
นีอาเม 6 ส.ค. – คณะรัฐประหารไนเจอร์เผชิญแรงกดดันหนักขณะใกล้ถึงเส้นตายที่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรืออีโควาส (ECOWAS) ขีดให้คืนอำนาจภายในวันนี้ ไม่เช่นนั้นอาจเผชิญกับการแทรกแซงด้วยอาวุธ กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสแถลงหลังจากนางแคทรีน โคโลนา รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสหารือกับนายกรัฐมนตรีโอฮูโมดู มาฮามาดูของไนเจอร์ว่า อนาคตของไนเจอร์และเสถียรภาพของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ฝรั่งเศสจะสนับสนุนอย่างแข็งขันไม่ว่าอีโควาสจะดำเนินมาตรการอย่างไร เมื่อผ่านพ้นเส้นตายที่ขีดให้คณะรัฐประหารในไนเจอร์คืนอำนาจภายในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น คณะรัฐประหารชุดนี้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางทหารกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคม หลังจากยึดอำนาจรัฐบาลประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ผู้บัญชาการทหารของสมาชิกอีโควาสเห็นพ้องกันว่า อาจจะใช้มาตรการแทรกแซงวิกฤตที่เกิดขึ้นในไนเจอร์ ซึ่งเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก นายอับเดล-ฟาเตา มูซาห์ กรรมาธิการของอีโควาสเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ต้องการสื่อสารอย่างชัดเจนไปยังคณะรัฐประหารว่า อีโควาสต้องการใช้วิถีทางทางการทูต แต่ก็ได้เตรียมการเรื่องใช้มาตรการแทรกแซงไว้แล้วว่า จะส่งกำลังพลไปไนเจอร์จำนวนเท่าใดและเมื่อไหร่ ด้านแอลจีเรียซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกอีโควาสแสดงความคัดค้านการใช้กำลังทหารแทรกแซงไนเจอร์ เพราะจะเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อแอลจีเรียที่มีพรมแดนติดกับไนเจอร์ร่วมพันกิโลเมตร.-สำนักข่าวไทย