อินโดนีเซียพร้อมขยายคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 26 เม.ย.- อินโดนีเซียพร้อมขยายคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม จากปัจจุบันที่ห้ามเฉพาะน้ำมันปาล์มโอเลอีนที่เป็นน้ำมันปรุงอาหาร หากตลาดในประเทศขาดแคลนน้ำมันปาล์มสำหรับปรุงอาหาร เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวในการประชุมกับภาคธุรกิจวันนี้ว่า รัฐบาลห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มโอเลอีนตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน แต่ยังคงให้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบหรือผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มอื่น ๆ แต่หากตลาดในประเทศขาดแคลนน้ำมันปาล์มโอเลอีน รัฐบาลจะขยายคำสั่งห้ามส่งออกให้ครอบคลุมน้ำมันปาล์มดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันปาล์มโอเลอีนด้วย เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเผยเรื่องนี้ หลังจากประธานาธิบดีโจโก วิโดโดประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายนเรื่องห้ามส่งออกน้ำมันปรุงอาหารและวัตถุดิบเพื่อควบคุมราคาจำหน่ายในประเทศที่แพงขึ้น แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในเวลานั้น ประกาศนี้ทำให้ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกปรับขึ้นทันที เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่วัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมันพืชอื่น ๆ ถูกกระทบอยู่แล้วจากสภาพอากาศไม่ดีและรัสเซียรุกรานยูเครนที่เป็นผู้ปลูกพืชน้ำมันรายใหญ่.-สำนักข่าวไทย

ทั่วโลกกระทบหลังอินโดนีเซียระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 25 เม.ย. – ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันพืชที่พุ่งสูงขึ้นหลังอินโดนีเซียสั่งระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันพืชทั่วโลกย่ำแย่ลงมากขึ้นจากเดิมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการรุกรานยูเครนของรัสเซียอยู่ก่อนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคาดการณ์ว่า คำสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มที่อินโดนีเซียประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 28 เมษายนเป็นต้นไป จะทำให้ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันคาโนลา โดยจะส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นต่อผู้บริโภคในทวีปเอเชียและแอฟริกาที่กำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้นอยู่แล้ว นายเจมส์ ฟราย ประธานของแอลเอ็มซี อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและธุรกิจการเกษตรชั้นนำของโลก เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า คำสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียไม่เพียงส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อปริมาณน้ำมันพืชทั่วโลกด้วย เนื่องจากการส่งออกน้ำมันพืชอื่น ๆ ก็มีปริมาณลดลงจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาภัยแล้งในแอฟริกาใต้ที่ส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันถั่วเหลือง ปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายในแคนาดาที่ส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันคาโนลา และปัญหาขาดแคลนน้ำมันดอกทานตะวันจากภาวะสงครามในยูเครน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ทั่วโลกใช้น้ำมันปาล์มคิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำมันพืชทั้งหมด อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันพืชรายใหญ่ของโลกคิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกน้ำมันพืชทั้งหมด และได้ประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อรับมือกับปัญหาราคาสินค้าแพงในประเทศ ขณะนี้ ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจากปัญหาขาดแคลนแรงงานในมาเลเซียไปจนถึงปัญหาภัยแล้งในอาร์เจนตินา ผู้ส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดในโลก และแคนาดา ผู้ส่งออกน้ำมันคาโนลารายใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงปัญหาสงครามในยูเครน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดอกทานตะวันรายสำคัญของโลก ที่ทำให้ยูเครนต้องหยุดส่งออกน้ำมันดังกล่าว. […]

ลดผลกระทบให้น้ำมันปาล์ม จากปัญหาดีเซลพุ่ง

รัฐบาล มุ่งดูแลปาล์มน้ำมันทุกมิติ ลดผลกระทบราคาน้ำมันดีเซล ทั้งการส่งออกผลผลิตส่วนเกิน เพิ่มมูลค่าน้ำมันปาล์ม ประกันรายได้

ผู้ค้าอาหารทอดอ่วม ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

น้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับขึ้นราคาต่อเนื่อง พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องใช้น้ำมันปาล์มต่อวันในปริมาณมากได้รับผลกระทบ

จับตา ครม. พิจารณาโครงการคนละครึ่งเฟส 4

นายกฯ นำประชุม ครม. จับตาพิจารณาโครงการคนละครึ่งเฟส 4 และแพ็กเกจลดค่าครองชีพประชาชน ด้าน ก.พาณิชย์ จะหารือแก้ไขราคาน้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์ม-เนื้อหมูแพง

หลังจากบรรดาพืชผักปรับขึ้นราคา ตอนนี้น้ำมันปาล์มบรรจุขวดก็ขึ้นราคา บางร้านต้องหยุดขายชั่วคราว ขายแบบถุงอย่างเดียว กรมการค้าภายในบอกว่ายังติดตามราคาต่อเนื่อง ส่วนเนื้อหมูก็แพงขึ้นเช่นกัน ราคาหน้าฟาร์มวันนี้กิโลกรัมละ 85 บาท กว่าจะมาถึงหน้าเขียงก็ปรับเพิ่มอีกเท่าตัว

กรมการค้าภายในเตรียมนัดโรงสกัดน้ำมันปาล์มช่วยตรึงราคา

อธิบดีกรมการค้าภายใน เตรียมเชิญผู้ประกอบการโรงสกัดหารือช่วยตรึงราคาน้ำมันปาล์ม แม้ราคาน้ำมันปาล์มดิบจะปรับสูงขึ้นจากเฉลี่ยปี 2563 ที่ 28.10 บาท/กก. เป็น 37.24 บาท/กก.ขณะนี้ ทำให้น้ำมันปาล์มขวดตามห้างขายเพิ่มขึ้นอยู่ที่ขวดลิตร 50-53 บาท ระบุจะพยายามให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้

มาเลเซียเผย WTO ตกลงสอบอียูจำกัดการใช้น้ำมันปาล์ม

กัวลาลัมเปอร์ 31 พ.ค.- รัฐบาลมาเลเซียแจ้งวันนี้ว่า องค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอ (WTO) ตกลงตามคำขอของมาเลเซียแล้ว เรื่องตั้งคณะขึ้นสอบสวนกฎหมายของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ที่จำกัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม นายโมห์ด ไครุดดิน อามัน ราซาลี รัฐมนตรีสินค้าโภคภัณฑ์ของมาเลเซียแถลงว่า ดับเบิลยูทีโอยอมรับคำร้องครั้งที่ 2 ของมาเลเซียเมื่อวันศุกร์เรื่องตั้งคณะขึ้นสอบสวนกฎหมายของอียู (EU) ที่จำกัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม มาเลเซียยื่นคำขอเรื่องนี้ตั้งแต่การหารือกับอียูเมื่อวันที่ 17 มีนาคมไม่ได้ผล และจะเดินหน้าฟ้องร้องอียูต่อไป มาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตน้ำมันปาล์มรวมกันร้อยละ 85 ของทั้งโลก โดยเป็นผู้ผลิตใหญ่อันดับ 2 และ 1 ของโลกตามลำดับ ทั้งสองประเทศแยกกันร้องเรียนกับดับเบิลยูทีโอหลายครั้งในช่วงหลายปีมานี้ว่า กฎหมายอียูเรื่องพลังงานหมุนเวียนเป็นการเลือกปฏิบัติ กฎหมายนี้กำหนดให้ทยอยยกเลิกใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มภายในปี 2573 ตามที่อียูกำหนดให้น้ำมันปาล์มไม่ใช่พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ผู้ผลิตหลายรายร้องเรียนว่า สมาชิกอียูบางประเทศทยอยเลิกใช้ก่อนที่กฎหมายกำหนด.-สำนักข่าวไทย

ครม. เคาะ 4 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ครม. คลอด 4 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ มุ่งยกระดับปาล์มน้ำมัน ใช้ผลิต อาหาร ยา และเครื่องสำอาง พัฒนาบุคลากรท่องเที่ยวไทย ปรับเนินทรายงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และโครงการต้นแบบ SHA หวังสร้างสถานประกอบปลอดภัยด้านสุขอนามัย ตามวิถีท่องเที่ยวแนวใหม่

1 2 3 4 5 7
...