บิทคอยน์ใกล้แตะสูงสุดในรอบ 9 เดือน

ฮ่องกง 20 มี.ค.- บิทคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด เคลื่อนไหวใกล้แตะราคาสูงสุดในรอบ 9 เดือนในวันนี้ เนื่องจากความวุ่นวายในตลาดการธนาคารแบบดั้งเดิมทำให้นักลงทุนบางคนหันมาหาสินทรัพย์ดิจิทัล บิทคอยน์เคลื่อนไหวที่ตลาดเอเชียในวันนี้ที่ 27,549 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 941,349 บาท) ลดลงจาก 28,474 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 972,956 บาท) เมื่อปิดตลาดในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นราคาสูงสุดนับจากวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ส่วนอีเธอเรียม ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตลาดใหญ่อันดับ 2 มีราคาสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 1,846.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 63,092 บาท) เมื่อวันอาทิตย์ ก่อนปิดตลาดที่ราคา 1,768 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 60,412 บาท) บิทคอยน์ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 26 เมื่อสัปดาห์ก่อน และมากกว่าร้อยละ 35 ในช่วง 10 วัน หลังจากภาคการธนาคารเกิดความโกลาหล เริ่มจากการที่สหรัฐสั่งปิดกิจการธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) […]

สหรัฐขายซิกเนเจอร์แบงก์ให้อีกธนาคาร

สถาบันคุ้มครองเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ หรือเอฟดีไอซี (FDIC) บรรลุข้อตกลงจำหน่ายสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของธนาคารซิกเนเจอร์แบงก์ ให้แก่ธนาคารแฟล็กสตาร์แบงก์แล้ว หลังจากสั่งปิดกิจการไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม

ลำดับเรื่องฉาวที่ถาโถมเครดิตสวิสจนล้ม

ซูริก 20 มี.ค.- เครดิตสวิส (Credit Suisse) วาณิชธนกิจและบริการการเงินข้ามชาติรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ถูกยูบีเอส (UBS) ที่เป็นคู่แข่งสัญชาติเดียวกันเข้าครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์แล้ว หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกระทั่งฐานรากสั่นคลอน และถึงจุดจบเมื่อการปิดกิจการธนาคารในสหรัฐจุดชนวนความโกลาหลในภาคการธนาคาร ปัญหาของเครดิตสวิสเริ่มขึ้นตั้งแต่กรีนซิลล์ แคปิตอล บริษัทการเงินในสหราชอาณาจักรยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะล้มลายในเดือนมีนาคม 2564 ทำให้เครดิตสวิสต้องปิดกองทุน 4 กองที่ลงทุนในบริษัทนี้ไปร่วม 10,000 ล้านดอลลาร์สหัรฐ (ราว 340,810 ล้านบาท) สำนักงานกำกับดูแลตลาดการเงินสวิสหรือฟินมา (FINMA) ชี้ว่า เครดิตสวิสละเมิดความรับผิดชอบเรื่องการกำกับดูแลอย่างร้ายแรง และสั่งการให้ออกมาตรการเยียวยา หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ เครดิตสวิสถูกกองทุนเก็งกำไรในสหรัฐทำให้ขาดทุนมากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 170,405 ล้านบาท) ต่อมาในเดือนตุลาคม เครดิตสวิสถูกทางการสหรัฐและอังกฤษปรับเป็นเงิน 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,188 ล้านบาท) โทษฐานพัวพันการทุจริตติดสินบนเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ให้แก่รัฐวิสาหกิจในโมซัมบิก โครงการการรายงานการทุจริตและแก๊งอาชญากรรมที่เป็นรายงานการสืบสวนสอบสวนของสื่อมวลชนเผยแพร่เอกสารชื่อ “สวิสซีเคร็ตส์ (Suisse Secrets)” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กล่าวหาเครดิตสวิสว่า ถือครองเงินสกปรกของอาชญากร เผด็จการ และผู้ละเมิดสิทธิมากกว่า […]

เฟดอาจชะลอขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้

วอชิงตัน 19 มี.ค.- ผู้สังเกตการณ์คาดว่า ธนาคารกลางของสหรัฐหรือเฟด (Fed) อาจขึ้นดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25 หรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายเป็นวัน 2 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคมนี้ ผู้สังเกตการณ์ชี้ว่า เฟดกำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายเดือน เนื่องจากต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อให้ลดลง หรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หลังจากตลาดเงินตลาดทุนเกิดความโกลาหลเพราะธนาคารในสหรัฐถูกปิดกิจการไปแล้ว 3 รายในเดือนนี้ ทั้งนี้ก่อนที่ธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) จะถูกทางการสหรัฐสั่งปิดกิจการเมื่อวันที่ 10 มีนาคมตามเวลาสหรัฐ ตรงกับวันที่ 11 มีนาคมตามเวลาไทย และมีผลกระทบติดตามมา เฟดเตรียมจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกสูงสุดร้อยละ 0.50 เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้เมื่อต้นปี เจ้าหน้าที่เฟดชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยในปีนี้จะต้องสูงกว่าร้อยละ 5 จนกว่าเงินเฟ้อจะลดลงสู่ร้อยละ 2 ตามเป้าหมายของเฟด ด้านธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี (ECB) มีมติขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.50 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นางคริสทีน ลาการ์ด ประธานอีซีบีเผยว่า อีซีบียังคงมุ่งมั่นเรื่องต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็จะจับตาดูสถานการณ์ของภาคการธนาคารอย่างใกล้ชิด.-สำนักข่าวไทย

ธนาคารขนาดกลางในสหรัฐขอให้คุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน

นิวยอร์ก 19 มี.ค.- กลุ่มธนาคารขนาดกลางในอเมริกาหรือเอ็มบีซีเอ (MBCA) ขอให้รัฐบาลกลางคุ้มครองเงินฝากทั้งหมดของลูกค้าเป็นเวลา 2 ปี รวมถึงเงินที่เกินวงเงินคุ้มครองในปัจจุบันด้วย หลังเกิดมีธนาคารในสหรัฐถูกปิดกิจการไปแล้ว 3 แห่ง สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างหนังสือที่เอ็มบีซีเอส่งถึงทางการว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยหยุดยั้งไม่ให้เงินฝากไหลออกจากธนาคารขนาดกลางได้ทันที ช่วยสร้างเสถียรภาพให้แก่ภาคการธนาคาร และช่วยลดโอกาสที่จะมีธนาคารปิดกิจการลงได้อย่างมาก เนื่องจากความเชื่อมั่นในธนาคารเกือบทั้งหมด ยกเว้นธนาคารขนาดใหญ่ ถูกสั่นคลอนไปแล้ว แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมของภาคการธนาคารยังคงแข็งแรงและปลอดภัย ขอให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากของรัฐบาลกลางหรือเอฟดีไอซี (FDIC) ธนาคารกลางหรือเฟด (Fed) และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นโดยทันที เอ็มบีซีเอขอให้รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากทั้งหมดของลูกค้าธนาคารขนาดกลาง รวมถึงเงินฝากที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.5 ล้านบาท) ด้วย โดยที่ธนาคารขนาดกลางจะเป็นฝ่ายเพิ่มจำนวนเงินประกันที่จ่ายให้แก่เอฟดีไอซีอยู่แล้วเพื่อคุ้มครองเงินฝากของลูกค้า ตลาดกำลังมองว่า ธนาคารในสหรัฐที่จะปิดกิจการเป็นรายต่อไปคือ ธนาคารเฟิร์สท์รีพับลิก (First Republic bank) ถัดจากธนาคารซิลเวอร์เกตที่ปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม และธนาคารซิกเนเจอร์แบงก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ธนาคารเฟิร์สท์รีพับลิกมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครซานฟรานซิสโก มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ […]

UBS เร่งเจรจาซื้อเครดิตสวิสก่อนตลาดเปิดพรุ่งนี้

ซูริก 19 มี.ค.- ยูบีเอส (UBS) วาณิชธนกิจและบริการการเงินข้ามชาติที่เป็นสถาบันการธนาคารรายใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเร่งเจรจาในวันนี้เพื่อสรุปเรื่องการเข้าครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์ เครดิตสวิส (Credit Suisse) วาณิชธนกิจและบริการการเงินข้ามชาติที่เป็นคู่แข่งกัน ก่อนที่ตลาดเงินตลาดทุนจะเปิดทำการในวันจันทร์ ทางการสวิตเซอร์แลนด์ขอให้ยูบีเอสเร่งบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายในวันนี้ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสตื่นตระหนกลุกลามไปยังตลาดเงินตลาดทุนในวันพรุ่งนี้ สื่อหลายแห่งรายงานว่า การเร่งเจรจาที่กรุงเบิร์นในขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ด้านการธนาคารและการกำกับดูแลของสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมด้วย คาดหมายว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น และจะดำเนินการภายในไม่กี่วัน ทั้งที่ปกติแล้วการเทคโอเวอร์กิจการใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาหลายเดือน สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างแหล่งข่าวนิรนามว่า ยูบีเอสจะขอให้รัฐบาลค้ำประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมายและการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่หนังสือพิมพ์ซอนท้ากไซทุงระบุว่า เป็นการเทคโอเวอร์แห่งศตวรรษ และเป็นเรื่องที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นจริง รัฐบาล ธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ล้วนไม่เห็นทางเลือกอื่น เพราะแรงกดดันจากต่างประเทศมีมากเกินไป ประกอบกับมีความกังวลว่ากรณีของเครดิตสวิสจะทำให้เกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ เครดิตสวิสเป็น 1 ใน 30 สถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินโลก (Global Systemically Important Banks หรือ G-SIBs) ที่ไม่สามารถปล่อยให้ล้มได้ แต่ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตลาดบ่งชี้ว่า เครดิตสวิสเป็นจุดอ่อนของระบบการเงินโลก ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนมีลูกค้าแห่ถอนเงิน 10,000 ล้านฟรังก์สวิส (ราว 367,984 ล้านบาท) ในวันเดียว สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรง ราคาหุ้นของเครดิตสวิสดิ่งลงอย่างหนักจนธนาคารกลางต้องเข้ามาช่วยพยุงด้วยวงเงิน 54,000 […]

เงินเลบานอนร่วงเหลือ 1 แสนปอนด์ต่อดอลลาร์สหรัฐ

เบรุต 14 มี.ค.- ผู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแจ้งว่า เงินปอนด์เลบานอนได้อ่อนค่าลงทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ โดยซื้อขายที่ 100,000 ปอนด์เลบานอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่อัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 15,000 ปอนด์เลบานอนต่อดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์เลบานอนเคยเคลื่อนไหวที่ 1,507 ปอนด์เลบานอนต่อดอลลาร์สหรัฐก่อนเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2562 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศกลายเป็นคนยากจน และได้อ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 60,000 ปอนด์เลบานอนต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อปลายเดือนมกราคมปีนี้ นอกจากวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว เลบานอนยังไม่มีประธานาธิบดีนับตั้งแต่ประธานาธิบดีมีเชล อูน ครบวาระดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2565 เนื่องจากกลุ่มการเมืองในรัฐสภาที่เป็นอริกันไม่สามารถตกลงกันเรื่องผู้สืบทอดตำแหน่ง ด้านธนาคารในเลบานอนที่เริ่มนัดหยุดงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ได้ปิดทำการตั้งแต่วันนี้เพื่อเริ่มการนัดหยุดงานอย่างไม่มีกำหนด หลังจากธนาคารใช้มาตรการจำกัดการถอนเงินอย่างเคร่งครัดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ฝากเงินที่ไม่สามารถเบิกถอนเงินออกมาใช้จ่ายจึงพากันยื่นเรื่องฟ้องศาล.-สำนักข่าวไทย

ชี้ทางการสหรัฐมองข้ามสัญญาณเตือนก่อนเอสวีบีล้ม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคารตำหนิเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการธนาคารของสหรัฐว่า มองข้ามสัญญาณเตือนก่อนที่ธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) จะมีปัญหาจนถูกสั่งปิดกิจการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

รัฐบาลสหรัฐเข้าแทรกแซงหวังสกัดวิกฤตธนาคาร

วอชิงตัน 13 มี.ค.- รัฐบาลสหรัฐดำเนินมาตรการพิเศษหวังหยุดยั้งวิกฤตธนาคารที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากสั่งปิดธนาคารใหญ่ 2 แห่ง กระทรวงคลังสหรัฐ ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด และสถาบันคุ้มครองเงินฝากรัฐบาลกลางสหรัฐหรือเอฟดีไอซี (FDIC) ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาสหรัฐ หวังเรียกความเชื่อมั่นในระบบธนาคารของประเทศว่า ผู้ฝากเงินของธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) ที่ถูกสั่งปิดและอายัดทรัพย์สินเมื่อวันศุกร์ และธนาคารซิกเนเจอร์แบงก์ที่ถูกสั่งปิดและอายัดทรัพย์สินเมื่อวันอาทิตย์จะได้รับความคุ้มครองทุกคน และจะสามารถเบิกถอนเงินได้ในวันจันทร์ รวมถึงเงินฝากที่เกินจากวงเงินคุ้มครอง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.62 ล้านบาท) ด้วย ขณะเดียวกันเฟดยังได้ประกาศโครงการให้สินเชื่อฉุกเฉินแบบครอบคลุมแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อสกัดกระแสการแห่ถอนเงิน (bank run) ที่จะสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบธนาคารและเศรษฐกิจในภาพรวม โครงการนี้จะช่วยให้ธนาคารมีเงินสดให้ลูกค้าเบิกถอน ด้วยการนำพันธบัตรไปค้ำประกันการกู้ยืมจากเฟด โดยไม่ต้องขายพันธบัตรในราคาขาดทุน เอสวีบีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งขึ้นในปี 2526 เป็นธนาคารใหญ่อันดับที่ 16 ของสหรัฐ มีสินทรัพย์ทั้งหมด 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.27 ล้านล้านบาท) ส่วนซิกเนเจอร์แบงก์มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก ตั้งขึ้นในปี 2544 มีสินทรัพย์มากกว่า 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 3.79 […]

เทคสตาร์ทอัพในสหรัฐเสี่ยงกระทบหนักหลังแบงก์ใหญ่ถูกปิด

นิวยอร์ก 12 มี.ค.- หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า การที่ธนาคารซิลิคอนวัลลีย์แบงก์หรือเอสวีบี (SVB) ถูกทางการสหรัฐสั่งปิดกิจการและอายัดทรัพย์สิน อาจส่งผลกระทบหนักต่อบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและผู้ลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดที่ฝากเงินไว้กับธนาคารนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐหรือเอฟดีไอซี (FDIC) สั่งปิดเอสวีบีเมื่อวันศุกร์ตามเวลาสหรัฐเพื่อสกัดความเสียหายไม่ให้ลุกลาม โดยรับประกันว่าทุกบัญชีจะได้รับเงินฝากคืนโดยเร็วตามวงเงินที่ได้รับความคุ้มครองบัญชีละ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8 ล้าน 7 แสนบาท) ส่วนเงินฝากที่เกินความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับว่าสามารถจำหน่ายทรัพย์สินของเอสวีบีได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่มักกินเวลานาน รายงานประจำปีล่าสุดของเอสวีบีเผยว่า เงินฝากทั้งหมด 173,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 ล้านล้านบาท) เป็นเงินฝากที่ไม่ได้รับความคุ้มครองมากถึงร้อยละ 96 เว็บไซต์ของเอสวีบีโฆษณาว่า เป็นหุ้นส่วนทางการเงินของเศรษฐกิจนวัตกรรม และเคยอ้างว่า เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทเทคโนโลยีและชีววิทยาศาสตร์ที่ได้รับทุนสนับสนุนในสหรัฐ ฝากเงินไว้กับธนาคารนี้ วาย คอมบิเนเตอร์ (Y Combinator) บริษัทให้คำแนะนำและสนับสนุนสตาร์ทอัพรายใหญ่ในสหรัฐระบุว่า ผู้ฝากเงินคือ  เหยื่อที่แท้จริงของการปิดเอสวีบี ส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพที่มีพนักงาน 10-100 คน ซึ่งจะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนและจะต้องให้คนพักงานหรือลาออกในวันจันทร์นี้เป็นอย่างเร็วที่สุด ช่วงเวลาแห่งนวัตกรรมของสหรัฐกำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะยุคสตาร์ทอัพอเมริกันทั้งยุคอาจถูกทำลายลงภายในเวลาเพียง 1-2 เดือน ขณะที่บิล แอ็คแมน มหาเศรษฐีนักลงทุนเตือนว่า การล้มของเอสวีบีอาจทำลายกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นกลไกสำคัญและระยะยาว ดังนั้นหากไม่สามารถหาทางออกด้วยเงินทุนเอกชน […]

เบอร์ศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินธนาคาร12 แห่ง

ทำเนียบ 9 มี.ค.-โฆษกรัฐบาล ประชาสัมพันธ์เบอร์ศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร 12 แห่ง แจ้งเหตุได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาความเสียหายให้เร็วที่สุด

ชาวศรีลังกานัดหยุดงานท้าทายคำสั่งห้ามประท้วง

โคลัมโบ 1 มี.ค.- คนทำงานชาวศรีลังกาพากันนัดหยุดงานในวันนี้ ท้าทายคำสั่งของรัฐบาลที่ห้ามการประท้วงต่อต้านแผนการกอบกู้ประเทศที่อยู่ในภาวะล้มละลาย การนัดหยุดงานทำให้โรงพยาบาล ธนาคารและท่าเรือต้องปิดทำการ สหภาพแรงงานประมาณ 40 แห่ง เรียกร้องให้สมาชิกนัดหยุดงานในวันนี้ โดยอ้างว่าได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเห เมื่อวันเสาร์ว่า ไม่สามารถลดภาษีรายได้ให้ประชาชน เนื่องจากเป็นเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ที่จะให้เงินช่วยเหลือศรีลังกา แพทย์โรงพยาบาลแห่งชาติศรีลังกาในกรุงโคลัมโบเผยว่า จะรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนการนัดตรวจผู้ป่วยตามคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนถูกยกเลิกทั้งหมด ประธานสมาคมบุคคลากรทางการแพทย์ของรัฐบาลเผยว่า จะเดินหน้าเคลื่อนไหวให้หนักขึ้นเพราะคิดว่าการนัดหยุดงานเพียงวันเดียวจะไม่สามารถเปลี่ยนใจทางการได้ ขณะที่คนทำงานด้านการไฟฟ้า พนักงานธนาคารและคนงานท่าเรือก็นัดหยุดงานในวันนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าประธานาธิบดีวิกรมสิงเหใช้อำนาจบริหารเมื่อวันอังคารสั่งห้ามการนัดหยุดงาน และบังคับให้คนทำงานในภาคบริการจำเป็นต้องทำงาน ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ออก ชาวศรีลังกากำลังไม่พอใจประธานาธิบดีวิกรมสิงเหที่ขึ้นภาษีและตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ได้เงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ หลังจากศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศ 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือนเมษายน 2565 และกำลังรอความช่วยเหลือทางการเงินจากจีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ระดับทวิภาคีรายใหญ่ที่สุด ศรีลังกาเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อปลายปี 2564 ส่งผลให้ขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิง ยา ประชาชนออกมาประท้วงหลายเดือนจนกระทั่งขับไล่ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษาในเดือนกรกฎาคม ส่วนประธานาธิบดีวิกรมสิงเหที่ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งเผยว่า เศรษฐกิจศรีลังกาปี 2565 หดตัวร้อยละ 11 และจะอยู่ในภาวะล้มละลายไปจนถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 14
...