ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คำเตือนการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ ?

26 เมษายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ไว้มากมาย ทั้งคำเตือนอันตราย รถยนต์ไฟฟ้าไม่เหมาะกับประเทศไทยเพราะอากาศร้อน และหากใช้งาน 5-8 ปี จะกลายเป็นเศษเหล็กอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : รถ EV ใช้ 5-8 ปี กลายเป็นเศษเหล็ก จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่า คิดให้ดีก่อนซื้อรถ EV เพราะเมื่อใช้งานไป 5-8 ปี จะกลายเป็นเศษเหล็ก เพราะแบตเตอรี่เสื่อมทำให้รถยนต์ไร้ราคา ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.ยศพงษ์​ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บทสรุป […]

ตร.ไซเบอร์ ทลายแก๊งนายทุนจีน หลอกส่งของเก็บเงินปลายทาง | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : สุ่มส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง ซึ่งเป็นสินค้าไม่ตรงปก และไม่ได้สั่งอุบาย : ส่งสินค้าเก็บเงินปลายทางที่ไม่ตรงปก และไม่ได้สั่ง โดยหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อว่า อาจมีบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานเป็นคนสั่งก่อนชำระเงินให้ไปช่องทาง : การส่งพัสดุ แอบอ้างเป็นบริษัทส่งของต่าง ๆ ตร.ไซเบอร์บุกทลายแก๊งมิจฉาชีพนายทุนจีน สุ่มส่งสินค้าไม่ตรงปก และไม่ได้สั่ง หลอกเหยื่อที่หลงเชื่อ ให้ชำระเงินปลายทาง เสียหายเป็นจำนวนมาก และยังพบพัสดุที่ถูกตีกลับนับหมื่นกล่อง กรุงเทพฯ 26 เม.ย. 66 – พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท 2 และ พ.ต.อ.จักรกฤช ศรีโรจนากูร ผกก.2 บก.สอท.2 นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2 (บก.สอท.2) ปิดล้อมตรวจค้น 3 จุด ในพื้นที่บางนา หลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมากว่าได้รับความเดือดร้อนจากการที่มีพัสดุเก็บเงินปลายทางมาส่ง ทำให้หลงเชื่อว่า อาจมีบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน […]

[❌] แชร์ว่อนภาษาจีน เตือนห้ามเที่ยวไทย อ้าง 6 แสนคน โดนมอมยาลักพาตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

26 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Taiwan FactCheck Center ตามที่มีการแชร์เป็นภาษาจีน ทั้งแบบข้อความ และ คลิปวิดีโอ เตือนให้อย่าไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกว่า 600,000 คนถูกมอมยาและลักพาตัวไปสังหารและชำแหละอวัยวะนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Taiwan FactCheck Center หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในไต้หวัน ระบุว่า พบข้อความแชร์คำเตือนห้ามไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเอเชีย 600,000 คน ถูกมอมยาด้วยเครื่องดื่มในไทย และลักพาตัวหายไป พร้อมกับคลิปวิดีโอที่มีภาพสยดสยองของพฤติกรรมการชำแหละร่างมนุษย์นั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริง : คดีลักพาตัวนักท่องเที่ยว ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต.ต.อภิชาติ สุริบุญญา รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ได้รับการยืนยันว่า ข้อมูลที่แชร์กันในกลุ่มผู้ใช้ภาษาจีนดังกล่าว ที่ว่ามีนักท่องเที่ยวสูญหายมากกว่า 6 แสนคนนั้นไม่เป็นความจริงและไม่มีความเป็นไปได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ไม่ปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง ไฟกระชากและแบตเสื่อม จริงหรือ ?

แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม

ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ การทำงานของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาให้มีระบบตัดต่อไฟ โดยจะแยกการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระหว่างการสตาร์ตรถ ทำให้ไม่เกิดไฟกระชากและสร้างความเสียหายให้กับคอมเพรสเซอร์แอร์หรือเครื่องยนต์ได้ ในรถยนต์รุ่นใหม่จึงไม่จำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนดับเครื่องนั่นเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปิดหน้ากากแอร์ ทำให้แอร์เย็น ประหยัดไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำให้เปิดหน้ากากแอร์ จะทำให้แอร์เย็นเร็วประหยัดไฟนั้น บทสรุป ⚠️จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ หากไม่ได้เพิ่มข้อมูลที่ครบถ้วน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.สถาพร ทองวิค อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ยืนยันว่า สิ่งที่แนะนำในคลิปมีส่วนเป็นไปได้จริง เนื่องจากทำให้ลมแรงขึ้นประมาณ 10% จะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ทำตาม โดยเฉพาะหากไม่มีความเข้าใจในการทำงานของแอร์ เนื่องจากอาจจะทำให้ฝุ่นเข้าไปสะสมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มโอกาสที่จะมีสัตว์เข้าไปตายในแอร์ และเพิ่มภาระงานในการล้างทำความสะอาดแอร์ถี่ขึ้น ซึ่งแม้อาจจะมีโอกาสลดระยะเวลาที่แอร์ทำงานในช่วงต้นได้ แต่ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเพิ่มด้วย นอกจากนั้น แอร์ติดผนังโดยทั่วไปก็ติดตั้งในจุดที่สูง และการขึ้นไปเปิดปิดหน้ากาก ก็ทั้งไม่สะดวกและมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการปีนขึ้นไปด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีการเปิดหน้ากากแอร์ ไม่มีคำแนะนำไว้ในคู่มือการใช้งาน แต่ผู้ผลิตหลายรายก็บรรจุปุ่มที่จะช่วยเร่งความเร็วในการทำความเย็นของแอร์ ซึ่งอาจจะชื่อว่า TURBO หรือ Hi-Speed ไว้ด้วย ซึ่ง ดร.สถาพร แนะนำว่า ให้ใช้ปุ่มดังกล่าว จะสะดวกกว่าการต้องปีนขึ้นไปเปิดปิดหน้ากากแอร์ “แม้การเปิดหน้ากากจะทำให้แอร์เย็นเร็วขึ้นได้ แต่ส่วนตัวแล้วไม่ใช้วิธีนี้ เพราะที่รีโมตแอร์ก็มีปุ่ม Hi-Power เร่งการทำความเย็นอยู่แล้ว ซึ่งผลที่ได้ก็ไม่แตกต่างกัน” ดร.สถาพร กล่าวและแนะนำให้ดูแลรักษา ล้างแอร์ตามรอบความถี่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 25 เมษายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินจากแปะก๊วยแก้นอนกรน จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า การกินวิตามินจะสามารถรักษาอาการนอนกรนให้หายได้
ในระยะหลังเริ่มมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดใบแปะก๊วย มีข้อมูลว่า ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้หลับลึกขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการนอนกรน หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ระวัง ! SMS “ทิพยประกันภัย” ปลอม อ้างมอบสิทธิพิเศษ หวังดูดเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างเป็นพนักงานของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)อุบาย : ส่งข้อความสั้น (SMS) อ้างว่า มอบสิทธิพิเศษมูลค่าสูงตามแต่ละโอกาสสำคัญ  พร้อมแนบลิงก์เพิ่มเพื่อนกับบัญชีไลน์ปลอม เมื่อเหยื่อเข้าไปติดต่อสอบถาม จะทำการขอข้อมูลส่วนตัว จากนั้นหลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่เป็นไฟล์อันตราย เพื่อควบคุมอุปกรณ์ และสวมรอยทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อในที่สุดช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), แอปพลิเคชัน LINE ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงานของทิพยประกันภัย ส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกขอข้อมูลส่วนตัว และให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หวังดักรหัสผ่านไปทำธุรกรรม เป็นเหตุให้สูญเงิน ด้านทิพยประกันภัย ย้ำ ! ไม่มีช่องทางการติดต่อดังกล่าว และการมอบสิทธิพิเศษในลักษณะนี้ กรุงเทพฯ 25 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ผ่านทางบัญชีไลน์ปลอม และลิงก์ไฟล์อันตราย หวังดักรหัสผ่านแอปพลิเคชันธนาคารไปสวมรอยทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ แอบอ้างชื่อ-สิทธิพิเศษ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : HACKTIVISM ? – นักเคลื่อนไหว ที่ใช้เทคโนโลยีแฮกข้อมูล

สิ่งนี้…โจมตีเป้าหมายด้วยทักษะทางคอมพิวเตอร์ สิ่งนี้…ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์ของกลุ่มผู้กระทำ และสิ่งนี้…พบเป็นคดีเจาะฐานข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายชื่อ จากช่องโหว่เว็บไซต์หน่วยงานรัฐ คือคำว่าอะไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย HACKTIVISM คืออะไร ?  : กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ใช้เทคโนโลยีในการแฮกข้อมูล วัตถุประสงค์ คือ : เคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ เพื่อบอกไอเดีย จุดยืน หรืออุดมการณ์ ตัวอย่าง HACKTIVISM -เหตุการณ์  9Near  การแฮกข้อมูลของคนทั้งประเทศสร้างความหวาดหวั่นให้แก่ชาวไทยเป็นอย่างมาก โดยอ้างว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของชาวไทย 55 ล้านคน วันที่ 2 เมษายน 2566 มีการประกาศเป้าหมายทางการเมืองและการแถลงยุติปฏิบัติการทางกลุ่มแฮกเกอร์ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าจะยุติปฏิบัติการนี้แล้ว โดยระบุว่า… “พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะก่อพิบัติภัยด้านความเป็นส่วนตัวต่อไปอีก” “อย่างน้อยในช่วงไม่กี่วันมานี้ เราได้เห็นการขับเคลื่อนประเด็นที่ว่าภาครัฐควรให้ความใส่ใจกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างไร” นอกจากนี้ พวกเขายังขัดแย้งกับกลุ่มคนที่เสนอซื้อข้อมูลหรือสปอนเซอร์กับการนำข้อมูลนี้ไปใช้ในทางที่พวกเขาไม่เห็นด้วย พวกเขาประกาศชัดเจนว่า พวกเขาเป็น Hacktivist “ข้อมูลที่พวกเขามี […]

[❌] นักเคลื่อนไหวชาวสเปนอ้าง ไทยใช้กฎหมาย “ตัดอัณฑะ” ลงโทษคดีข่มขืน | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

23 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Juan Piero Solis จาก Verificador, La República เปรู ตามที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวสเปนคนหนึ่ง กล่าวในรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ระบุว่า “ในประเทศไทย หากผู้ชายพยายามข่มขืน หรือ ข่มขืนผู้หญิง ชายคนนั้นจะถูกตัดอัณฑะ (physically castrated)” ซึ่งมีการแชร์และการปฏิสัมพันธ์บน Twitter Instagram และ Tiktok กว่า 20,000 ครั้งนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Verificador หน่วยตรวจยืนยันข้อมูล ของสื่อ La República ในประเทศเปรู ว่า มีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชื่อ […]

วิเคราะห์เทรนด์สื่อออนไลน์ สะท้อนพฤติกรรมผู้เสพสื่อในปัจจุบัน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

23 เมษายน 2566 กรุงเทพฯ  – 23 เมษายน 2566 — กองทุนสื่อฯ ร่วมกับ Wisesight จัดประชุมเสวนาออนไลน์ วิเคราะห์ผลการศึกษาการสื่อสารในโลกออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565 และแนวโน้มทิศทางในปีถัดไป ภายใต้หัวข้อ “จาก Trend ในโลกออนไลน์ปี 65 สู่การวิเคราะห์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” ในปัจจุบันข้อมูลในโลกออนไลน์มีความสำคัญ และถูกใช้ต่อยอดในสื่อหลักมากขึ้น จนเรียกได้ว่าสื่อออนไลน์กลายเป็นสื่อกระแสหลักแทนที่สื่อหลักเดิม ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ตามมาคือ สื่อจะขับเคลื่อนด้วยการค้ามากขึ้น เช่น ต้องการจำนวนยอดไลก์ จำนวนคลิกเบตเพื่อหวังรายได้ จึงเห็นได้ว่า สื่อในยุคปัจจุบันการพาดหัวให้ดึงดูด หรือทำให้ผู้เสพสื่อมีอารมณ์ร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันการใช้ข้อมูลหลักจากโลกออนไลน์ ก็ส่งผลต่อคุณภาพของสื่อที่ลดลงเช่นกัน ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนสื่อฯ กล่าวว่า “Digital Society ทำให้ทุกคนเป็นสื่อ เราไม่ได้เป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว” ซึ่งผู้ใช้สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน มีความเป็น Smart Consumer คือจะปกป้อง และให้ความสำคัญกับสิทธิของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังมีการแสดงออกทางความคิดอย่างเปิดเผย โดย Wisesight […]

1 45 46 47 48 49 199
...