ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันปรุงอาหาร สารพัดประโยชน์ จริงหรือ ?

17 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปรุงอาหารเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าใช้ทาไข่ไก่จะทำให้เก็บได้นานขึ้น และการอมน้ำมันกลั้วปากจะช่วยดูแลช่องปากได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ปรุงอาหารด้วยน้ำมันชนิดไหนดีกว่ากัน ? มีการแชร์กันหลายกระแสถึงเรื่องน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร บ้างก็ว่าชนิดนั้นดีกว่า ชนิดนี้ดีกว่า หลายคนได้รับแชร์ว่า น้ำมันหมูดีกว่าน้ำมันพืช บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวดีที่สุด บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสง่า ดามาพงษ์ “การกินน้ำมันเพื่อสุขภาพที่ดีไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเพียงอย่างเดียว ปริมาณในการใช้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งควรกินไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา” อันดับที่ 2 : 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมู จริงหรือ ? มีการแชร์ 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมูที่คุณอาจยังไม่รู้ เช่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาหูทิพย์ สมุนไพรแก้เสียงในหู จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์แนะนำว่ายาหูทิพย์ สามารถแก้อาการมีเสียงในหู หูอื้อ เสียงวิ้ง ๆ ในหูได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาหูทิพย์ รักษาอาการแก้เสียงดังในหู เพราะยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าสมุนไพรทำให้เสียงดังในหูเบาลง แพทย์กล่าวว่า “การที่ได้ยินเสียงในหู เป็นสัญญาณว่าประสาทหูเริ่มเสื่อม คนที่มีความกังวลควรจะมาพบแพทย์ เพื่อตรวจว่าเป็นโรคหรือไม่” เสียงดังในหูสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน -เสียงดังในหูแบบไม่ได้เป็นอันตราย เป็นการทำงานปกติของหูเรา อาการเสื่อมตามวัย และเสื่อมตามพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาการเสื่อมตามวัยมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป -เสียงดังในหูแบบที่ผู้อื่นได้ยินด้วย กรณีนี้มักเป็นเสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดแดงใหญ่, หลอดเลือดดำ บริเวณสมองและคอ จะเห็นได้ว่า อาการเสียงดังในหูเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการฟังเพลง ฟังเสียงเกมในระดับความดังที่สูงมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อเสียงวิ้ง ๆ ในหูได้ สัมภาษณ์เมื่อ […]

อุปสรรคการแก้ปัญหา Fake news ในช่วงหาเสียงของสหรัฐ

นอกจากสร้างความสับสนให้กับผู้ลงคะแนนแล้ว ข้อมูลเท็จจากการหาเสียงของนักการเมืองยังส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งอีกด้วย

เส้นทางการต่อสู้ Fake News ช่วงเลือกตั้งในออสเตรเลีย

ส่วนการเผยแพร่ข้อมูลเท็จระหว่างหาเสียงของนักการเมือง นอกจากจะไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนแล้ว หากผู้สมัครได้รับการเลือกตั้ง ผลประโยชน์มหาศาลที่รออยู่ข้างหน้า คือเหตุผลมากพอที่ผู้สมัครจะเลือกทำทุกวิถีทางเพื่อชัยชนะ

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คำเตือน แบตฯ รถ EV เสื่อมง่าย ไม่คุ้มค่า จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เสื่อมง่าย 5-8 ปี ใช้แล้วก็หมดราคา ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สรุปว่า เมื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าไป 5-8 ปี ราคาขายต่อรถยนต์ไฟฟ้ามือสองอาจจะน้อยกว่ารถยนต์สันดาป ส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากพอสมควร และหากเปรียบเทียบราคานี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายรวม เมื่อหักลบส่วนที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังคุ้มค่าที่จะใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่โดยตรงและค่ายผู้ผลิตรถยนต์เอง การพัฒนานี้ก็เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

โมเดลลิ่งปลอม ! หลอกปั้นเด็ก ที่แท้หวังโกงเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย  1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️  ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์  

คุยเบื้องหลังโปรเจกต์ใหม่ ชัวร์ก่อนแชร์ – ‘หนูฮาแอนด์บีบี้’ ละครสั้นเตือนภัยไซเบอร์

12 พฤษภาคม 2566 ครั้งแรกของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท กับการทำละครสั้น “หนูฮาแอนด์บีบี้ ตะลุยภัยไซเบอร์” โดยมีตัวละครสมมติอย่าง “หนูฮา” และ “บีบี้” เด็กสาวสองเพื่อนซี้ มาถ่ายทอดภัยร้ายในมุมมองของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ในสถานการณ์ที่หลากหลาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ในยุคที่โลกเดินไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ข่าวสารก็แพร่กระจายได้รวดเร็วไม่ต่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คนบางกลุ่มพยายามหาผลประโยชน์จากความสะดวกสบายนี้ หนูฮากับบีบี้จึงมาเป็นตัวแทนของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน จนในบางทีก็หลงลืมที่จะป้องกันตัวเองจากภัยร้ายบนโลกออนไลน์ หรืออาจจะไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน ละครสั้นสอดแทรกกลลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตชุดนี้ เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ของนักศึกษาฝึกงานคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทยจากรั้ว มศว 4 คน ได้แก่ นางสาวพิชชาภา ชุกชุม (พิชชา) นางสาวพาพร พฤทธิสาริกร (เบลล์) นางสาวกัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร (นานา) และนางสาวเบญจมา ส้มเช้า (เมย์) น้อง ๆ ทั้งสี่คนได้ร่วมกันผลิตละครสั้นชุดนี้ขึ้นมา ภายใต้การดูแลของ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” หรือที่เรารู้จักกันดีในบทบาทของรายการตรวจสอบข้อมูลเท็จ ที่ออนแอร์ให้ทุกคนได้รับชมกันในช่วงข่าวค่ำของทุกวัน ผ่านช่อง 9 MCOT HD “การที่ทีมผลิตเนื้อหา ยกสถานการณ์ในห้องน้ำมาเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ EXCLUSIVE : ยาหอมและฮีทสโตรก

6 พฤษภาคม 2566 – ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? สัญญาณอาการฮีทสโตรกมีอะไรบ้าง ? การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? และยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย และตรงสรรพคุณ ? เรื่องนี้ตรวจสอบกับ : ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? ตอบ : ยาหอมลดความร้อนในร่างกายได้จริง แต่ต้องเลือกใช้ชนิดที่มีส่วนประกอบของเกสรดอกไม้และต้องใช้ควบคู่กับมาตรการป้องกัน แต่หากมีอาการรุนแรง ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? ตอบ : สามารถทำได้ โดยการอมไว้ใต้ลิ้นแล้วค่อย ๆ ละลาย แต่อาจารย์แนะนำว่าการนำไปละลายน้ำแล้วค่อย ๆ จิบ จะรับประทานได้ง่ายกว่าการอมไว้ใต้ลิ้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก ยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย ? ตอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คอนแทคเลนส์แก้สายตายาว

7 พฤษภาคม 2566 – ปัญหาสายตายาว สามารถแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ ได้หรือไม่ ? และใครควรใช้ หรือไม่ควรใช้ ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตายาว 1.สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล 2.สายตายาวตามวัย คนที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีความยากลำบากในการมองระยะใกล้ คอนแทคเลนส์สายตายาว จะมีการใส่คอนแทคเลนส์ในตาข้างที่ไม่ถนัด ให้สามารถมองใกล้ชัด ส่วนตาข้างที่ถนัด ยังคงใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมเพื่อมองไกลชัด ต้องอาศัยการปรับตัวในการใช้ตา 2 ข้างพร้อมกันในการมองเห็นชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล แต่การใส่คอนแทคเลนส์มีข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด หรือ ระยะเวลาการใช้งาน และต้องระวังในเรื่องของการติดเชื้อของดวงตาอีกด้วย ทั้งนี้แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์สายตายาวทางออนไลน์ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ไปใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

1 43 44 45 46 47 199
...