เปิดกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

31 พฤษภาคม 2566 เผยกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ในมุมที่คุณอาจคาดไม่ถึง ผ่านประสบการณ์ตรงของ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ที่ได้ลงไปทดลองเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้ด้วยตนเอง ปัจจุบัน บนโลกออนไลน์มีภัยมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป มารู้กลวิธีของมิจฉาชีพ และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากเหล่าโจรบนโลกออนไลน์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ความโลภ-ความกลัว-ตัวปลอม | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

30 พฤษภาคม 2566 ความโลภ-โกรธ-หลง อาจเป็นกิเลสที่มนุษย์ละได้ แต่ความโลภ ความกลัว ตัวปลอม อาจทำให้คุณหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ได้ในที่สุด มากระตุ้นการตระหนักคิดให้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม จริงหรือ ?

29 พฤษภาคม 66 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม โดยให้นำก้านมะละกอไปปักในลูกแตงโม รอให้โต แล้วจะกลายเป็นต้นมะละกอที่ออกลูกเป็นแตงโมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโมตามที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผศ.ดร.อารยา กล่าวว่า “จากในคลิปวิดีโอเราจะเห็นว่า มีการนำลูกแตงโมมาเจาะรู และมีการใส่น้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นสารอาหารลงไป จากนั้นเสียบยอดมะละกอ เมื่อเวลาผ่านไปมีการเคลมว่าจะมีรากออกมาจากลูกแตงโม วิธีนี้ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากว่า การนำยอดมาปักชำจะเกิดรากฝอยไม่ใช่รากแก้ว ฉะนั้นเมื่อไม่มีรากแก้วจึงไม่มีโอกาสที่จะแทงทะลุเปลือกแตงโมออกมาเจริญเติบโตได้เลย” ผศ.ดร.อารยา กล่าวต่อว่า “ลูกแตงโมเมื่อมีการเจาะรูแล้ว จุลินทรีย์หรือเชื้อราต่าง ๆ จะลงไปในเนื้อผล ทำให้เกิดการเน่าเสีย ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์น่าจะย่อยยอดของมะละกอ ก่อนที่มะละกอจะออกรากได้ด้วยซ้ำ” ผศ.ดร.อารยา แนะนำวิธีสังเกตคลิปเกี่ยวกับการเกษตรที่น่าตื่นตาตื่นใจว่า “จากในคลิปมีการทิ้งลูกแตงโมไว้ 1-2 สัปดาห์ แต่ลูกแตงโมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังสดและไม่เหี่ยวเลย ตามปกติหากมีการเจาะ หั่น หรือผ่าแตงโมไปแล้ว เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA พบว่า ไลน์ @PEANext  เป็นไลน์จริง แต่ใช้เฉพาะพื้นที่ภาคกลางเท่านั้น ได้แก่  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.1– พระนครศรีอยุธยา , สระบุรี , อ่างทอง , ปทุมธานี , ปราจีนบุรี , นครนายก , สระแก้วการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.2– ชลบุรี , ฉะเชิงเทรา , ระยอง , จันทบุรี , ตราดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาหารแพลนต์เบส ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช

อาหารแพลนต์เบส คือ รูปแบบการกินที่เน้นพืช อาจจะประกอบด้วย  ผักผลไม้, พืชตระกูลถั่ว, เมล็ดพืช และธัญพืช เป็นอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั่นเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสียงดังในหูเกิดจากไตอ่อนแอ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวว่า เสียงดังในหูมีสาเหตุจากอาการไตอ่อนแอ แนะนำให้บำรุงไต เพื่อช่วยให้อาการหูมีเสียงดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เสียงดังในหูไม่ได้เกิดจากไตอ่อนแอแต่อย่างใด แต่หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายหรือไตทำงานผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ เนื่องจากมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของไตกับหูมีความคล้ายกันสามารถกรองของเสียได้เหมือนกัน ในผู้ป่วยไตวายจะมีภาวะประสาทหูเสื่อมค่อนข้างเร็ว และส่วนใหญ่จะได้ยิน 2 ข้าง ผู้ป่วยไตวายประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นนั้น เนื่องจากว่ามีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายและมีผลต่อระบบเลือดทั้งหมด แต่หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และควบคุมอาการของไตได้ดี ประสาทหูก็จะเสื่อมตามอายุปกติ ส่วนการกินอาหารบำรุงไต เพื่อบำรุงหูนั้น จริง ๆ แล้วไม่เกี่ยวกัน เป็นอวัยวะคนละส่วนกัน หากผู้ป่วยมีความกังวลใจไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

AIS ยืนยัน 1175 เป็นเบอร์จริง แค่โทร.แจ้งบริการ ดูดเงินจากบัญชีไม่ได้ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า  “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย  ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 สิ่งไม่ควรทำเมื่อล้างรถยนต์ จริงหรือ?

ห้ามล้างรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างจานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีรถยนต์ลอก สารในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์รุนแรงจะทำให้แล็กเกอร์หรือแว็กซ์เคลือบตัวรถหลุดออกไปด้วย

9 เทคนิคโน้มน้าวเหยื่อข่าวปลอมทางการเมืองภายในครอบครัว

บ่อยครั้งที่บทสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง พัฒนาเป็นการโต้แย้งระหว่างคนในครอบครัว และนำไปสู่ความบาดหมางที่ยากจะเยียวยา

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทไทยออยล์รับสมัครพนักงาน เงินเดือนสูง พร้อมโบนัส จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ประกาศรับสมัครพนักงานบริษัทไทยออยล์ เงินเดือนสูง พร้อมโบนัส นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ เป็นข้อมูลเท็จที่ถูกนำกลับมาแชร์วนซ้ำ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจ ‘Thaioil Recruitment’ ได้มีการประกาศยืนยันหลายครั้งถึงข้อความดังกล่าวว่า ไม่จริงและไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทไทยออยล์แต่อย่างใด โดยการรับสมัครงานบริษัทไทยออยล์ จะเผยแพร่ผ่านทางบริษัทฯ เท่านั้น ได้แก่ ภาพประกาศยืนยันจากทางบริษัทไทยออยล์ ตรวจสอบจากฐานข้อมูล ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ข้อความดังกล่าว เริ่มแพร่กระจายในช่วงปี 2561 โดยเริ่มจาก มีเพจต่าง ๆ ได้นำรูปภาพแบนเนอร์เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ ประจำโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ในปี 2561 ซึ่งรูปดังกล่าวเป็นรูปภาพจริงของทางบริษัท ฯ โดยนำมาโยงเข้ากับข้อความที่ไม่เป็นความจริง  ภาพและข้อความที่แชร์ตั้งแต่ปี 2561 ในปี 2566 ทางศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ยังได้รับการสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นการรับสมัครงานของบริษัทไทยออยล์​ แต่มาในลักษณะข้อความที่เหมือนในปี 2561 เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏภาพแบนเนอร์❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ เป็นข้อความเก่าและไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อความที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ อ้างอิง : https://www.facebook.com/ThaioilGroupRecruitment/posts/1853242994761804/ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันมะพร้าวรักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]

การใช้ AI ตรวจสอบข่าวปลอมช่วงเลือกตั้งในต่างแดน

การหันมาพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในงานตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ

1 45 46 47 48 49 202
...