ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความ จัดตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌  👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ข่าวจริงประเทศไทย ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด ข้อมูลชุดนี้ เริ่มแพร่กระจายในช่วง เดือนกรกฎาคม 2562 ในกลุ่มฟซบุ๊ก “คนใต้ใจเต็ม” และกลับมาส่งต่อกันอีกครั้งใน เดือน กรกฎาคม 2566 👉  ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย  จ.สงขลา ชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้1. พื้นที่ จ.สงขลา ไม่ปรากฏ ว่ามีแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์แต่อย่างใด โดยในห้วงที่ผ่านมามีปรากฏแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดนาทวี เท่านั้น2. อ.กระแสสินธุ์ ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็กและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ3. ปัจจุบัน พื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ กำลังดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดื่มน้ำตอนท้องว่าง ได้ประโยชน์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความแนะนำการกินน้ำเมื่อท้องว่างจะได้ประโยชน์มาก ช่วยชะลอความแก่ และยังสามารถรักษาได้สารพัดโรคนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร. รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “น้ำไม่ได้รักษาโรค แค่ช่วยขนส่งสารอาหารต่าง ๆ ขับของเสีย สร้างสมดุลในร่างกายสามารถกินได้ตลอดเวลา ไม่ได้มีเวลาพิเศษสำคัญที่กินน้ำอะไรและปริมาณการกินให้เพียงพอต่อวันมากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Family Violence

ความหมายของ Family Violence หมายถึง การใช้ความรุนแรงกับบุคคลในครอบครัวไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม รวมถึงการพยายามควบคุม บงการให้ทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบไม่ว่าทางร่างกาย คำพูด จิตใจ และรวมไปถึงความรุนแรงทางเพศ โดยการทำร้าย ข่มขู่ บังคับ  

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามสแกน QR CODE ไปรษณีย์ไทย เงินหายหมดบัญชี จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-เอกสารที่แชร์เป็นของไปรษณีย์ไทยจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพ-สแกน QR CODE แล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ รูปภาพเอกสารที่แชร์กันเป็นเอกสารจริงของไปรษณีย์ไทย เขตนำจ่ายภาษีเจริญ 5 ซึ่งเป็นแผนกในสังกัดของไปรษณีย์ภาษีเจริญที่ได้ส่งใบนัดนำจ่ายไว้ที่บ้านผู้รับที่ไม่มีคนอยู่บ้านและไม่สะดวกรับ ให้สามารถติดต่อนัดหมายกับบุรุษไปรษณีย์ให้นำจ่ายพัสดุได้ใหม่อีกครั้ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ ไปรษณีย์ไทยได้ยกเลิกนัดหมายเวลาในการนำจ่ายใหม่ผ่านระบบ QR CODE โดยจะติดต่อผู้รับเพื่อนัดหมายนำจ่ายใหม่ผ่านโทรศัพท์ 👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันผ่าน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากรูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารของไปรษณีย์ไทยจริง จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่บ้านและไม่สามารถรับพัสดุได้ สามารถสแกน QR CODE เพื่อนัดหมายวันให้ไปส่งใหม่ได้ 👉  อย่างไรก็ตาม ข้อความและภาพดังกล่าว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ให้ถอดปลั๊กพัดลมเมื่อไม่อยู่บ้าน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปพัดลมถูกไฟไหม้พร้อมข้อความเตือนให้ถอดปลั๊กพัดลมเมื่อไม่อยู่บ้านนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ศิริชัย แดงเอม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี “การถอดปลั๊กพัดลมเมื่อเลิกใช้เป็นการป้องกันที่ปลอดภัยที่สุดและสิ่งหนึ่งที่เราทำได้อย่างง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ คือการบำรุงรักษามอเตอร์พัดลม วิธีเบื้องต้นคือการทำความสะอาดตัวตะแกรงและตัวใบพัดให้สะอาดอยู่เสมอ”

OPEN BANKING – THE CYBER MINDSET

9 กรกฎาคม 2566 ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET ในตอนนี้ จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับคำว่า “OPEN BANKING” ซึ่งเป็นหนึ่งในอนาคตของการเงินการธนาคารที่กำลังจะมาถึง OPEN BANKING จะเป็นอย่างไร และ เราต้องเตรียมตัวรับอย่างไร ? ติดตามกับ อาจารย์ปริญญา หอมอเนก ไปด้วยกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ : แอสปาแตม ก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

7 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เตือนว่า WHO ประกาศ แอสปาแตม อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เตือนระวังการดื่มน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จากการรายงานข่าวในต่างประเทศ WHO ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ (คาดว่าจะประกาศ 14 ก.ค. 66)และหากประกาศจริงก็อาจจะอยู่ในระดับ 2B หมายถึง “พบการก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และอาจก่อมะเร็งในมนุษย์” อย่างไรก็ตาม การก่อมะเร็งไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่สัมพันธ์กับปริมาณที่กินจะต้องมากด้วย ปัจจัยการก่อมะเร็งจากแอสปาแตม (แม้กระทั่งในสัตว์ทดลอง)1. ปริมาณการกิน : หากไม่ถึงปริมาณที่ อย. กำหนด ก็ไม่เป็นอันตราย2. สุขภาพของผู้กินแต่ละคน : ผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า PKU ต้องระวังในการใช้แอสปาแตม ทั้งนี้ เครื่องดื่มและอาหารที่ไม่มีน้ำตาล ในปัจจุบัน มีการใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดอื่น […]

ปรับ Mindset เพื่อ Set ความปลอดภัย | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

10 กรกฎาคม 2023 ความปลอดภัยในการใช้งานโลกไซเบอร์ สร้างได้ด้วยมือของเรา เพียงแค่ปรับ Mindset เพื่อ Set up ความปลอดภัยว่า เราสามารถป้องกันตนเองได้อย่างไร Mindset ที่เราะจะต้องปรับเพื่อสร้างความปลอดภัยนั้นจะมีอะไรบ้าง สามารถรับฟังได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : รับสายไร้เสียงพูด อย่าตอบ เสี่ยงโดนปลอมเสียง จริงหรือ ?

8 กรกฏาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความอ้างว่า อ.ช้างเตือน รับสายโทรศัพท์ที่ไม่มีเสียงพูด อย่าพูดตอบ เพราะจะโดน AI ปลอมเสียงได้ นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-อาจารย์ช้างยืนยัน ไม่ได้พูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว-กรณีการปลอมเสียงด้วย AI มีความเป็นไปได้ แต่ค่อนข้างยากในปัจจุบัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.ต.ท. ธนันวัฒน์ นีรพัฒน์ชยากุล หรือ อาจารย์ช้าง ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผู้แชร์คำเตือน โดยอาจารย์ช้าง ยืนยันว่า ไม่เคยพูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว “มันจะเป็นไปได้อย่างไร ผมไม่เคยพูดแบบนี้มาก่อน เรื่องนี้เป็นข่าวปลอม อย่าไปหลงเชื่อ” อาจารย์ช้างกล่าว และ ย้ำเตือนประชาชนว่า “ก่อนจะแชร์อะไร ควรตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ใจ”สำหรับความเป็นไปได้ที่มิจฉาชีพจะบันทึกเสียงและใช้ AI ปลอมเสียง อาจารย์ช้างกล่าวกับชัวร์ก่อนแชร์ ว่า โดยหลักการนั้น มีความเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมต่าง ๆ และระบบ AI ที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลข้างเคียงของยาลดไขมันที่หมอไม่เคยบอก จริงหรือ ?

3 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือน 5 ผลข้างเคียงของยาลดไขมัน ที่หมอไม่เคยบอก ตั้งแต่ทำให้อ่อนแรง เบาหวาน และไตวายนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) คลิปดังกล่าวเป็นการเอ่ยถึงอันตรายของยา จากผู้ที่ไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เป็นการนำผลข้างเคียงจากการใช้ยา มาพูดให้เกิดความรู้สึกว่า หากกินยาลดไขมัน (Statin) แล้ว จะเกิด 5 ผลร้ายอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่ควรแชร์คลิปดังกล่าวเนื่องจากยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ผลประโยชน์ จากการใช้ยา Statin และยังมีกลุ่มคนที่ยังจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้จริง ๆ และต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่สำหรับคนกลุ่มที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ ก็ไม่ควรใช้ยา Statin สัมภาษณ์เมื่อ  : 7 กุมภาพันธ์ 2566  ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : สบู่เหลวอาบแล้วตายเร็ว จริงหรือ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือน การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวนั้นเป็นอันตรายนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ “สาร SLS หรือ Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารใช้ทำความสะอาด มีการใช้ทั่วโลกและใช้ทั่วไป เป็นสารที่มีมาตรฐานการใช้อยู่ ฉะนั้นจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายตามที่แชร์กัน” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : เภสัชกร กิติยศ ยศสมบัติ อาจารย์พิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สบู่เหลวไม่ได้ทำให้ตายเร็วขึ้น สารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) เป็นสารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู ยาสีฟัน ซึ่งไม่มีอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด ทั้งนี้ การใช้สาร Sodium Lauryl Sulfate ในระยะยาวก็ไม่ได้ทำให้กลายเป็นสารก่อมะเร็ง รวมทั้งร่างกายก็ไม่ได้มีการดูดซึมสารดังกล่าวผ่านผิวหนัง จึงทำให้ไว้ใจได้ว่าสบู่เหลวนั้นมีความปลอดภัย แต่ถ้าหากผู้ใช้มีอาการแพ้สารดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ผลิต­­­ภัณฑ์อื่นได้” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต เรื่องปิ้งย่างและหมูกระทะ จริงหรือ ?

5 กรกฎาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับเมนูฮิตอย่างปิ้งย่างหรือหมูกระทะเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าก่อนกินหมูกระทะตองถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน และยังมีวิธีกินปิ้งย่างที่ห่างไกลมะเร็งอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มันหมูเป็นอาหารสุขภาพอันดับ 8 ของโลก จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำว่าไขมันหมูคืออาหารสุขภาพที่ได้รับการจัดเป็นอันดับ 8 ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลSeunghyeon Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong BaptistPan-Jun Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌  “แม้งานวิจัยระบุว่ามันหมูมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจนลืมนึกถึงโทษที่ตามมา” อันดับที่ 2 : อะลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมู อันตรายจริงหรือ ? มีการแชร์คลิปการทำหม้อชาบู-ย่างหมูกระทะ โดยใช้กระดาษอะลูมิเนียมฟอยล์กับเทียนไข ต่อมาก็มีการแชร์กันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอันตราย […]

1 41 42 43 44 45 202
...