ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน 

เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน ระวังไว้ …หางานผ่านออนไลน์ ได้งานง่ายเงินดี ชวนลงทุนเพิ่ม เสริมกำไรแต่สุดท้าย อาจเงินหาย ได้หนี้เพียบ สังเกตไว้ก่อนปัจจุบันคนร้ายมีวิธีใหม่ๆ ที่เข้าถึงเราได้ง่ายดายยิ่งขึ้นแค่พิมพ์ผลการค้นคำว่า “สมัครงานออนไลน์”ก็สามารถนำไปสู่คนร้ายที่วางกับดักไว้รออยู่แล้วต้องตั้งสติและลองมองหาจุดน่าสงสัยเหล่านี้ บริษัทน่าเชื่อถือไหม ?ทำไมรับเข้าทำงานง่ายจัง ?ทำไมประกาศรับสมัครงานดูไม่เป็นทางการ ?ทำไมค่าตอบแทนถึงเยอะผิดปกติ ? เตือนใจไว้เสมอโลกออนไลน์มีหลายภัยที่ปลอมตัวมาอย่างแนบเนียนอย่าลืมตระหนักความเสี่ยง และระวังตัวไว้เสมอหากจะสมัครงานต้องอย่าลืมคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไม่มีงานไหนให้โอนเงินก่อนการทำงานทั่ว ๆ ไป จะไม่มีการให้คนสมัครงานโอนเงินเข้าไปก่อนและเสียเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆเช่น จ่ายค่าประกันสินค้าก่อน หรือยิ่งทำไปยิ่งเริ่มให้ไปเล่นคล้าย ๆ เล่นการพนันแทงสูงแทงต่ำ ลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆให้ระวังไว้ก่อนว่า อาจจะถูกมิจฉาชีพหลอกได้ เช็กความน่าเชื่อถือของบริษัททุกครั้งเช็กความน่าเชื่อถือของบริษัทควรโทรสอบถามว่าบริษัทมีการให้บริการในลักษณะนี้จริงไหมมีงานในลักษณะนี้หรือไม่ ลงทุนต่ำค่าตอบแทนสูงยิ่งเสี่ยงถูกหลอกงานลงทุนน้อยแต่ได้เงินมาก ๆ มีอยู่น้อยมากลงทุนต่ำ ๆ แต่ได้ผลตอบแทนสูงมากผิดปกติลักษณะนี้อาจจะเป็นการถูกหลอกได้ ต้องไม่โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเด็ดขาดส่วนใหญ่การหลอกให้โอนเงิน จะให้โอนเงินเข้าสู่บัญชีของบุคคลธรรมดา ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ทั่ว ๆ ไปจะไม่มีการให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวของพนักงานเด็ดขาดถ้ามีให้สงสัยไว้ก่อนว่า ไม่ปกติ ทางออกไว้แก้หากเริ่มไม่แน่ใจว่าถูกหลอกแบบนี้อยู่หรือไม่หรือโดนหลอกไปแล้วขอแนะนำให้เก็บหลักฐานไว้โดยด่วน ตั้งแต่เริ่มการคุยแชทครั้งแรกไปจนถึงการโอนเงิน แคปภาพเก็บหลักฐานโอนไปที่บัญชีใครจำนวนกี่ครั้งแต่ละครั้งจำนวนเท่าไรและพิมพ์บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วไปแจ้งความ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?

3 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก” นั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ ทั้งการเทรดหุ้นระยะสั้น ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง ผ่านสื่อออนไลน์หรือโทรศัพท์ ทั้งสิ้น 🎯 บริษัทอมตะ มีเพจเฟซบุ๊กเดียว คือ “AMATA” เท่านั้น เพจอื่น ล้วนเป็นเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ มีทั้งการแอบอ้างใช้รูปคุณวิกรม กรมดิษฐ์ สัญลักษณ์ของบริษัทอมตะ รวมถึงมีการสร้างจดหมายปลอมขึ้น ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ เกิดการเสียทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง 🎯 ทั้งนี้บริษัทอมตะได้รวบรวมรายชื่อเพจปลอมได้ตามลิงก์ด้านล่างรวมเพจปลอมแอบอ้างบริษัทอมตะหมายเหตุ: รายชื่อที่เพจปลอมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิจฉาชีพอาจมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ 3 กรกฎาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีการตรวจสอบตาเหล่หรือตาเข ใช้ได้จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์วิธีการตรวจสอบดวงตาว่ามีภาวะตาเหล่หรือตาเขหรือไม่ สำหรับเด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อยจึงจะตรวจสอบได้และ ในผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตรนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย Q : เด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อย จึงจะตรวจสอบตาเขได้ จริงหรือ ?A : วิธีนี้ใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาตาเขออกนอกบางเวลาเท่านั้น การให้เด็กเล่นจนเหนื่อยหรือเพลียมาก เขาอาจจะแสดงออกให้คนรอบข้างเห็น เพราะเด็กจะหมดแรง ในการเพ่งกล้ามเนื้อตา หรือควบคุมกล้ามเนื้อตาทั้งสองข้างให้อยู่ตรงกัน Q : ผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตร จริงหรือ ?A : เป็นวิธีสังเกตตัวเองสำหรับคนที่ตาเขมาก ๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการน้อย ก็จะสังเกตไม่แน่ชัด Q : วิธีดูตาเขหรือตาเหล่ เบื้องต้นทำอย่างไร ?A : แพทย์จะดูตำแหน่งของตาดำจากภายนอก ดูปฏิกิริยาจากการส่องไฟฉาย ดูการโฟกัสของสายตาและการมองเห็น โดยแพทย์จะสังเกตเงาไฟฉาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเหล่หรือตาเข

29 มิถุนายน 2566 – ภาวะตาเหล่หรือตาเขคืออะไร ตาเหล่ ตาเข เหมือนกันหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ตาเหล่ ตาเข เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน เมื่อมองตรง ตาดำข้างหนึ่งจะไม่อยู่ตรงกลาง อาจจะมีข้างหนึ่งเขเข้า หรือเขออก ตาเหล่เทียม เป็นลักษณะที่ดูคล้ายกับอาการของการเป็นตาเข ตาเหล่ แต่ความจริงแล้วผู้ที่เป็นตาเหล่เทียมไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เลย ตาเหล่ซ่อนเร้น หรือตาส่อน  อาการของตาเหล่ซ่อนเร้นจะแสดงออกเมื่อผู้ป่วยเหม่อ ไม่ได้โฟกัสวัตถุใด หรือปิดตาไว้หนึ่งข้าง ตาข้างที่ไม่ได้ใช้มองจะค่อย ๆ เหล่ออกด้านข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อหัวตาผ่อนแรงจนไม่ได้ดึงตาข้างหนึ่งกลับมาให้ตรงเหมือนกับอีกข้าง ตาเหล่ เกิดจากสาเหตุใด ? การรักษาอาการตาเหล่ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะตาเข การผ่าตัดแก้ไขตาเข ไม่ยุ่งยาก ให้ผลลัพธ์ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากสามารถขอใช้สิทธิประกันการรักษาได้อีกด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 9 มิถุนายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : เผลอกดปุ่ม Push Start ทำเครื่องยนต์ดับ จริงหรือ ?

27 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อความเตือนว่า รถยนต์ที่มีปุ่มกดสตาร์ทเครื่อง หรือ push start หากเผลอกดเวลาขับรถอยู่ รถอาจดับได้ ทำให้พวงมาลัยล็อก เบรกไม่ทำงานนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า ไม่เป็นความจริง เพราะรถแต่ละคันจะมีระบบเซฟตี้เพื่อป้องกันการกดปุ่ม Push Start โดยไม่ตั้งใจอยู่แล้ว เมื่อกดปุ่ม Push Start ขณะที่รถกำลังวิ่งจะเกิดอะไรขึ้น ? หากเป็นการกดแล้วรีบปล่อยในทันทีรถจะไม่ดับแน่นอน แต่หากกดนาน 2-3 วินาที ตัวรถถึงจะเริ่มมีการดับลง หรือในรถบางรุ่น บางยี่ห้อ ต้องมีการกดปุ่ม 3 ครั้งต่อกัน จึงจะสามารถดับรถขณะกำลังวิ่งอยู่ได้ หากเผลอกดปุ่ม Push Start ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อรถดับลงจริง ๆ ทั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์ก็จะหยุดทำงานทันที เพราะถือว่าเราตั้งใจดับเครื่อง  สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่ คือ 1.ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ไม่ทำงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นวดหูแก้ปัญหาน้ำในหูไม่เท่ากันได้ จริงหรือ ?

23 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์แนะนำวิธีนวดหู สามารถรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เรื่องที่แชร์ดังกล่าว ไม่เป็นความจริง ยังไม่มีหลักฐานเชิงวิชาการอ้างอิงในเรื่องนี้ จึงไม่ควรแชร์ต่อ การนวดใบหูอาจจะไม่ส่งผลเสียอย่างชัดเจน แต่หากออกแรงนวดมากเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีแต่อย่างใด อาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนัง หรือใบหูบวมอาจทำให้ใบหูผิดรูปได้ อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อย แต่อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเท่านั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคของหูชั้นนอก โรคของหูชั้นกลาง เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จึงควรมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งการสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้การวินิจฉัย สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ รวมทั้งการรักษาที่ถูกต้องจะดีที่สุด สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ประมวลคลิป สรุปชัด ปรับโฟกัส ขจัดข่าวลวง-ข้อมูลเท็จ-ภัยไซเบอร์

Child Pornography ปัญหาน่ากังวล ที่เกิดกับเด็กทั่วโลก  Child Pornography สื่อลามกของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ส่วนใหญ่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และปัจจุบันมีแนวโน้มความนิยมการเสพสื่อ การกระทำทางเพศของเด็กที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ  จากข้อมูลสถิติของทาง INHOPE เครือข่ายฮอตไลน์ที่ต่อสู้กับปัญหาการละเมิดและแสวงหาประโยชน์ทางเพศเด็กได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาสื่อลามก ที่ได้รับแจ้งเข้ามาในปี 2564 พบว่า 81 % ของสื่อลามกเด็ก เป็นเด็กที่มีช่วงอายุต่ำกว่า 13 ปี รองลงมาพบว่า 18 % เป็นเด็กในช่วงอายุ 14 – 17 ปี แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการเสพสื่อลามกเด็กซึ่งเด็กส่วนใหญ่อายุจะน้อยลงเรื่อย ๆ รวมถึง 96 % ของเหยื่อเป็นเด็กผู้หญิงอีกด้วย  Child Pornography คือ สื่อหรือสิ่งที่เกี่ยวกับการกระทำทางเพศของเด็ก ในเชิงลามก อนาจาร ทุกชนิด ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ตั้งแต่การครอบครองเก็บไว้ดู การส่งต่อเผยแพร่ หรือการค้าขาย  ไม่ว่าจะในรูปแบบเอกสาร หนังสือ รูปภาพ รูปถ่าย ภาพเขียน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ไฟฟ้า คันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไป จริงหรือ ?

20 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีข้อความเตือนว่ารถยนต์ไฟฟ้า สามารถเกิดอาการคันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไปนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ยศพงษ์​ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รถยนต์ไฟฟ้า คันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไป ? ปัญหาคันเร่งค้างสามารถเกิดได้กับรถยนต์ทุกประเภท แต่ต้องดูว่าสาเหตุมาจากอะไร ทุกวันนี้รถยนต์รุ่นใหม่จะใช้คันเร่งแบบไฟฟ้าแทบทั้งหมด หากเป็นความผิดพลาดจากระบบมักเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีอะไรบางอย่างทำให้คันเร่งค้าง เช่น กรณีคนขับเป็นผู้หญิงแล้วใส่รองเท้าส้นสูง อาจทำให้ส้นรองเท้าไปขัดกับคันเร่ง หรือมีขวดน้ำหรือสิ่งของที่อยู่ในรถไปขัดไว้ เมื่อเกิดสภาวะนี้ขึ้นหลายคนก็จะสติหลุด ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะควบคุมอย่างไรดี  ศ.ดร.ยศพงษ์​ ได้ให้คำแนะนำเมื่อพบว่ารถมีอาการคันเร่งค้าง ผู้ขับควรตั้งสติและพยายามใช้เบรกเพื่อชะลอความเร็วรถลง โดยในรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัตินั้น ค่อย ๆ เหยียบเบรกประคองรถเข้าข้างทาง จากนั้นให้เปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) ปล่อยให้รถเคลื่อนตัวไปช้า ๆ สลับกับการแตะเบรกเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ผู้ขับต้องมีสติและเรียนรู้วิธีแก้ไขสถานการณ์ กรณีคันเร่งค้างจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงทำให้สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย […]

ต่อไปนี้ฉันจะรู้ทันภัยไซเบอร์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

23 มิถุนายน 2566 เริ่มต้นบทที่ 3 กับบทที่ชื่อว่า “ต่อไปนี้ฉันจะรู้ทันภัยไซเบอร์” เมื่อเหล่ามิจฉาชีพ มักก้าวหน้านำเราไปทุกที ตัวเรา ก็ต้องตามเหล่ามิจฉาชีพให้ทัน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อจากกลลวงใหม่ ๆ มาสร้างการตื่นรู้และหาวิธีป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์ ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษาโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเองได้ จริงหรือ ?

ไม่ควรซื้อยา สมุนไพรต่าง ๆ มารับประทานเอง พราะหลงเชื่อคำโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์ของขิงและขมิ้น จริงหรือ ?

21 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสรรพคุณของขมิ้นและขิงเอาไว้มากมาย ทั้งช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลในมดลูก และการต้มน้ำขิงดื่มแด้นิ้วล็อกได้นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ขมิ้นชันประโยชน์มากมาย จริงหรือ ? มีการแชร์ว่า ขมิ้นชันมีสารพัดวิตามิน พร้อมสรรพคุณมากมาย ต้องกินตามเวลาจะป้องกันและช่วยรักษาได้หลายโรค ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  รศ.ดร.ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “การจะใช้ขมิ้นชันเพื่อหวังรักษาโรคร้ายที่เป็นมานานให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก ในด้านของโรคมะเร็ง ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) อาจจะช่วยลดความเป็นพิษของคีโม แต่ไม่ได้รักษาให้มะเร็งหายขาดได้” อันดับที่ 2 : น้ำขิงสดลดน้ำหนัก ปรับสมดุลมดลูก จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเทคนิคการลดความอ้วนและปรับสมดุลในมดลูกด้วยการดื่มน้ำขิง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ […]

ป้องกัน ระวัง ห่างไกล อุบัติภัยไซเบอร์| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

21 มิถุนายน 2566 อุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้แต่บนโทรศัพท์มือถือ คุณอาจไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินอยู่บนโลกไซเบอร์ คุณอาจเกิดอุบัติเหตุทางไซเบอร์ขึ้นก็ได้ คำว่า Safety & Security จึงต้องเกิดขึ้นมาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ มาร่วมหาแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

1 39 40 41 42 43 199
...