SWISS CHEESE MODEL : ทฤษฏีเนยแข็ง | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

22 มิถุนายน 2566 “SWISS CHESSE MODEL” หรือทฤษฎีเนยแข็ง หลายคนฟังแล้วอาจสงสัยว่า ทฤษฎีที่ชื่อเหมือนของกินนี้ จะเกี่ยวข้องอะไรกับภัยบนโลกไซเบอร์ และจะมีผลกระทบกับชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน มาร่วมไขข้อสงสัยว่าทฤษฎีนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโลกไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 อาหารเสริม เหมาะกับโรค SLE จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2566 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ 5 อาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ป่วย SLE เช่น น้ำมันปลา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และน้ำมันจมูกข้าวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับการกิน 5 อาหารเสริมว่าเหมาะกับผู้ป่วย SLE ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ โรค SLE มีความหลากหลาย เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง 5 อาหารเสริมที่แชร์กัน มีดังนี้ อย่างไรก็ตาม สารประกอบต่าง ๆ อาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาบางจุด แต่ไม่ได้มีหลักฐานช่วยรักษาโรค SLE ได้อย่างองค์รวมและเนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันได้มากมายขึ้นกับอาการ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 กุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข่เบอร์ไหนดี ที่เหมาะกับเรา จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำแนะนำเรื่องการเลือกไข่ ว่าขนาดหรือเบอร์ไหนที่เหมาะกับเรานั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ Q : มีไข่ที่เหมาะกับกลุ่มใดเป็นพิเศษ จริงหรือ ?A : ไม่จริง เบอร์ของไข่มีความต่างกันเรื่องสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าไข่เบอร์ไหนเหมาะกับใคร Q : ไข่ขนาด M หรือ เบอร์ 3 เบอร์ 4 มีคอเลสเตอรอลต่ำ โซเดียมต่ำ ไขมันปานกลาง โปรตีนต่ำ ความเข้มข้นวิตามินสูง จริงหรือ?A : ที่แชร์บอกว่า “คอเลสเตอรอลต่ำ” นั้นยังไม่ถูกต้อง ควรใช้คำว่า “ไข่เบอร์เล็กมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเบอร์ใหญ่” จึงจะถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากกินในปริมาณที่เหมาะสม Q : ไข่ขนาด M เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต จริงหรือ ?A : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของการดื่มนม จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับอันตรายของการกินนมเอาไว้มากมาย เช่น ไม่สบายไม่ควรกินนม และนมวัวก่อมะเร็งลำไส้ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : 9 เหตุผลที่ควรเลิกดื่มนมวัวทันที จริงหรือ ? มีการแชร์บทความเตือนว่า 9 เหตุผลที่คุณควรเลิกกินนมวัวทันที เพราะมีสิ่งอันตราย ทั้งอุจจาระ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง รวมทั้งไม่จำเป็นต่อร่างกาย กินเข้าไปแล้วอาจจะแพ้ได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าการกินนมวัวเป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่สำคัญนมวัวนั้นมีประโยชน์ เพราะช่วยเสริมแคลเซียมและลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน” อันดับที่ 2 :  ระวัง มีน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปสาธิตและเตือนให้ระวังน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ไฟฟ้า ระเบิดง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จริงหรือ ?

มีโอกาสที่แบตเตอรี่จะระเบิดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุและแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายมากแค่ไหน

สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไฟรั่ว ทำให้ค่าไฟแพงเป็นหมื่น จริงหรือ ?

12 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจว่าหากบ้านไม่มีคนอยู่ แต่ปล่อยให้ไฟฟ้ารั่ว ค่าไฟจะเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นบาทได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระบุว่า ไฟรั่วมีกระแสไฟฟ้าที่น้อยมาก จึงไม่น่าจะมีผลกับค่าไฟขนาดนั้น กรณีเกิดไฟรั่ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย ไฟรั่ว คือ การที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอก เช่น ผิวของสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ไฟรั่วเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งจุดที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนขึ้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการช็อตหรือติดไฟจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไฟดูด จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้ารั่ว ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน สาเหตุของไฟดูดเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี เช่น การรีโนเวทบ้านมีการตอกตะปูโดนสายไฟทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมา หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น ดังนั้น จึงควรเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน และต้องตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอเพื่อป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ตามคลิปมีการสาธิตทดลองไฟรั่ว 30 มิลลิแอมป์ ว่ามีผลต่อมิเตอร์หรือไม่ ? อาจารย์สรุปผลการทดลองว่า “การทดลองไฟรั่ว 30 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จริงหรือไม่? ปล่อยเลือด ช่วยผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตก

เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ จากกรณีมีการแชร์วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกด้วยวิธีการ “ปล่อยเลือด” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌– เป็นวิธีที่อันตราย ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสการรักษา ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มัยธัช สามเสน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา ระบุว่า “เจาะนิ้วให้เลือดไหล แก้อาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก” นั้น เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หากมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรือ อุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ  ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้จะต้องรับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ควรมาเสียเวลาเจาะเลือดให้ผู้ป่วย สอดคล้องกับข้อมูลของ ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า การเจาะเลือด จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจะดีที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ ว่าที่ ร.ต. การันต์ ศรีวัฒนบูรพา กู้ชีพ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

11 มิถุนายน 2566 – โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองจะแสดงอาการบ่งบอกโรคตอนไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค SLE และ สัดส่วนสถิติการเกิดโรคเป็นอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถิติการเกิดโรค SLE เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ประมาณ 40-50 คนใน 100,000 คน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8 – 9 เท่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการรักษาในปัจจุบันที่ทำให้หายขาดได้ แต่ทำให้อาการสงบจากการรับประทานยาได้ การวินิจฉัยโรค SLE แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรค SLE มีความสลับซับซ้อนผู้ป่วยมีความรุนแรงในระดับแตกต่างกัน การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เพียงแบบเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วย SLE บางราย อาการของโรคเป็นอย่างไร ? นอกจากอาการที่แสดงทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะจิตตกหรือโรคซึมเศร้า (Depession) ร่วมด้วย ครอบครัวและคนรอบข้างจึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่วยที่จะทำคนไข้จะมีกำลังใจที่ดีต่อสู้กับโรค SLE ได้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณหัวหอมหั่นแช่เย็น จริงหรือ ?

8 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อความถึงสรรพคุณที่หลากหลายของหัวหอมหั่นแช่เย็น เช่น เสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียม ป้องกันคอเลสเตอรอลสูง สลายไขมัน ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร รักษาเบาหวาน และทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เรื่องหัวหอมเสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหัวหอมมีปริมาณแคลเซียมต่ำ ส่วนที่มีการแชร์ว่าให้นำหัวหอมไปแช่ไวน์นั้น ก็จะทำให้สูญเสียสารสำคัญไป การนำมารับประทานในรูปแบบของอาหารจะได้ประโยชน์มากกว่า สำหรับหัวหอมควรรับประทานแบบสดใหม่ เพราะการหั่นวางไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน จะทำให้หัวหอมเน่าและเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยระบุว่าในหัวหอมมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคมะเร็ง และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยืนยันว่า หัวหอมไม่สามารถทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้ เนื่องจากไม่สามารถกำจัดฝุ่น หรือสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้ ตัวอย่างข้อความที่แชร์กัน สัมภาษณ์เมื่อ : 10 พฤษภาคม 2566 และ […]

“กองทุนสื่อ” จับมือ “กรมราชทัณฑ์” เสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อก่อนพ้นโทษ

กรุงเทพฯ 7 มิ.ย. 66 –กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะการรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ให้กับบุคลากรและผู้ต้องขัง ให้สามารถใช้สื่อเพื่อพัฒนาตนเองได้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า การลงนามดังกล่าว เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการฝึกอบรม เพื่อการแก้ไข และพัฒนาผู้ต้องขัง ตลอดจนสร้างการรับรู้ รวมถึงสร้างการยอมรับของภาคประชาชน สังคมภายนอก จะสามารถตอบโจทย์ข้อกังวลของสังคม ต่อการ “คืนคนดี มีคุณภาพกลับสู่สังคม” ได้ ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า ข้อตกลงนี้เป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างสังคม สร้างคน ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ สื่อดิจิทัล ประเภทวีดิทัศน์ ละคร สื่อการเรียนรู้ผ่านวารสาร และกิจกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการรับรู้ไปยังบุคคลภายนอก และสร้างโอกาสทางสังคมให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก ดร.อายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 สิ่งต้องระวัง ทำร้ายยางรถยนต์ จริงหรือ ?

6 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนเกี่ยวกับ 5 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็วกว่าปกติ เช่น การบรรทุกของหนัก ขับรถเร็ว เติมลมยางไม่เหมาะสม เบรกรุนแรง และตั้งศูนย์ถ่วงล้อผิดสเป็กนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 5 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ มีดังนี้ Q : บรรทุกของหนักเกินไป ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A : จริง การบรรทุกของหนักเกินไป ทำให้การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมากขึ้น ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และอายุการใช้งานของยางรถยนต์ลดลง Q : การขับรถเร็ว ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A : จริง การขับรถเร็วเกินไปทำให้หน้ายางเสียดสีกับพื้นถนนด้วยความเร็วเกิดความร้อนสะสม ทำให้ดอกยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ Q : แรงดันลมยางไม่เหมาะสม ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A […]

1 40 41 42 43 44 199
...