ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี จริงหรือ ?

ตามที่มีแชร์ว่ากินหมูกระทะที่เกรียมๆ สีดำ เสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  “ถุงน้ำดี” เป็นที่ที่น้ำดีสะสมรวมกันเพื่อขับออกมาย่อยอาหารที่กินเข้าไปแต่ละมื้อ การกินอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมอาจได้รับสารทำให้เกิดมะเร็ง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนอาหารที่มีสีดำหรือไหม้เกรียมจะถูกย่อย ดูดซึมบางส่วนจะถูกขับออกมากับอุจจาระ ไม่ได้ตกตะกอนในถุงน้ำดีกรณีที่ผ่านิ่วในถุงน้ำดีพบว่าเป็นสีดำ ควรตรวจว่าเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี แต่ควรไปพบแพทย์หากปวดท้องรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ปิโตรเลียมเจลช่วยให้ขนตายาว จริงหรือ ?

ตามที่มีคำแนะนำว่าการใช้ปิโตรเลียมเจล ทาที่ขนตาเป็นประจำช่วยให้ขนตายาวขึ้นได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การทาปิโตรเลียมเจลจะช่วยให้ขนตายาวขึ้น หรือหนาขึ้นได้ นอกจากนี้ปิโตรเลียมเป็นของใช้ภายนอก การนำมาทาบริเวณดวงตาอาจก่อให้เกิดอันตราย เกิดการอักเสบและติดเชื้อต่อดวงตาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รอบบริเวณดวงตา รวมไปถึงเครื่องสำอาง มีโอกาสที่สิ่งเหล่านี้จะหลุดเข้าไปในดวงตา โดยเฉพาะหากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้เขียนว่าใช้รอบดวงตาได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีเติมน้ำมันรถ จริงหรือ ?

9 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำมันรถเอาไว้มากมาย ทั้งเทคนิคประหยัดน้ำมันเกียร์ออโต้ และเติมน้ำมันเต็มถังขาดทุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เติมน้ำมันเต็มถังขาดทุน จริงหรือ ? มีการแชร์เตือนกันเรื่องการเติมน้ำมันว่า ไม่ควรเติมแบบเต็มถัง เพราะจะทำให้เราขาดทุน เนื่องจากน้ำมันที่ค้างสายจะไหลคืนเป็นของปั๊ม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายนรเศรษฐ จินดานิล ผู้จัดการส่วนซ่อมบำรุงสถานีบริการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “อุปกรณ์จ่ายน้ำมันตามสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันเป็นระบบ Close Loop คือจ่ายน้ำมันออกอย่างเดียว ไม่ไหลย้อนกลับไปสายเติมน้ำมันได้ ดังนั้นการเติมน้ำมันเต็มถังจึงไม่ได้ทำให้ขาดทุน และได้ปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายไป ไม่ได้คิดรวมถึงน้ำมันที่ค้างในสายแต่อย่างใด” อันดับที่ 2 : เติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ สำหรับผู้ใช้รถว่าเติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายสุรมิส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 7 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม จริงหรือ ?

8 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 7 วิธีการขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย เช่น ไม่ควรสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งเมื่อเครื่องยนต์ดับนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ข้อความที่แชร์ : 7 เทคนิค หากต้องขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Imitation Behavior

Imitation Behavior หมายถึง พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยและเป็นไปได้ทั้งด้านบวกและด้านลบพฤติกรรมของผู้เลียนแบบจะแสดงออกโดยอาศัยพฤติกรรมของตัวแบบเป็นต้นแบบเมื่อตัวแบบประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร ผู้เลียนแบบก็จะกระทำอย่างนั้นโดยฝ่ายตัวแบบอาจมีตัวตนอยู่จริง หรืออาจมาจากในจินตนาการ

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : เปลือกส้มรักษาสิวได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ว่าเปลือกส้มรักษาสิวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.นภดล นพคุณ อาจารย์พิเศษภาควิชาอายุรกรรม สาขาวิชาตจวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “อาจเกิดการระคายเคือง เปลือกส้มไม่มีคุณสมบัติรักษาสิวอุดตัน สิวอักเสบและยังไม่มีการยืนยันว่าวิตามินซีที่อยู่ในเปลือกส้มจะเพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจนขึ้นมาจะรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวได้ เพราะปริมาณวิตามินซีที่จะช่วยสร้างคอลลาเจนได้ต้องมีปริมาณที่สูงมาก”

ชัวร์ก่อนแชร์ : บอระเพ็ดแช่โซดา บรรเทาชาปลายประสาทได้ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์สูตรบอระเพ็ดแช่โซดา ดื่มหลังอาหารทุกวัน ช่วบรรเทาอาการชาปลายมือปลายเท้า เส้นตึงเส้นยึดและแก้ปวดได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ. สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย กล่าวว่า “ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสูตรนี้ใช้ได้ผล บอระเพ็ดและโซดาไม่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการชา อาการเส้นตึง เส้นยึด และชา มาจากพฤติกรรมการทำงาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ ไอแพด ภาษาแพทย์เรียกว่า กลุ่มออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ถ้าอาการน้อย ๆ จะมีอาการปวดที่บริเวณ คอ บ่า ไหล่ แต่หากมีอาการมากก็ที่มือ” แพทย์กล่าวต่อว่า “ถ้าเรารู้ว่าสาเหตุการปวดมาจากการทำงาน ควรปรับพฤติกรรมใหม่ แต่ก็มีบางงานที่เราเลี่ยงไม่ได้ หากมีอาการปวด หรือ ตึง ก็ให้ยืดกล้ามเนื้อ หรือประคบอุ่น มาประคบที่บ่า ไหล่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จดหมายจริงของธนาคารกสิกรไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ธนาคารกสิกรไทย ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊ก “KBank Live” ว่า จดหมายดังกล่าว เป็นของจริง โดยเป็นจดหมายเพื่อแจ้งสิทธิพิเศษของขวัญThe Wisdom Delight Gift ปี 2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่จัดส่งแบบลงทะเบียนให้ลูกค้าผู้ถือบัตรเดอะวิสดอมกสิกรไทยที่ได้รับสิทธิ์ ไม่ใช่มิจฉาชีพแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้นควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 6 สิงหาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์บันทึกการแก้ไข : […]

เทรนด์ภัยไซเบอร์ในปี 2023 ตอนที่ 3| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 สิงหาคม 2566 มาต่อกับตอนที่ 3 ในข้อที่ 6-10 ของเทรนด์ภัยไซเบอร์ในปี 2023 ว่าจะเป็นแบบไหน ล้ำยุคไปขนาดใด และเราจะต้องต่อกรรับมืออย่างไร ได้ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน คุณผู้ฟังคิดว่าภัยไซเบอร์ในปี 2023 จะล้ำหน้าจนเกินความควบคุมของเราหรือไม่ ? #THECYBERMINDSET#ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

เทรนด์ภัยไซเบอร์ในปี 2023 ตอนที่ 2| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

1 สิงหาคม 2566 มาต่อกับตอนที่ 2 ของเทรนด์ภัยไซเบอร์ในปี 2023 ว่าจะมีหน้าตาแบบไหน ล้ำยุคไปขนาดใด และเราจะต้องต่อกรรับมืออย่างไร ได้ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน คุณผู้ฟังคิดว่าภัยไซเบอร์ในปี 2023 จะล้ำหน้าจนเกินความควบคุมของเราหรือไม่ ? #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

เทรนด์ภัยไซเบอร์ในปี 2023 ตอนที่ 1| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

31 กรกฎาคม 2566 ภัยไซเบอร์ในปี 2023 จะมีหน้าตาแบบไหน ล้ำยุคไปขนาดใด และเราจะต้องต่อกรรับมืออย่างไร มาร่วมคาดการณ์เทรนด์ของภัยไซเบอร์และหาวิธีป้องกันภัยเหล่านี้ได้ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน คุณผู้ฟังคิดว่าภัยไซเบอร์ในปี 2023 จะล้ำหน้าจนเกินความควบคุมของเราหรือไม่ ? #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคมะเร็ง จริงหรือ ?

3 สิงหาคม 2023 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคมะเร็งเอาไว้มากมาย เช่น การนำใบมะละกอมาคั้นเป็นน้ำช่วยรักษามะเร็งให้หายขาด และการกินผักจิงจูฉ่าย ช่วยบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มีสมุนไพรที่รักษามะเร็งได้ จริงหรือ ? มีการแชร์สารพัดสูตรรักษามะเร็งที่ปลอดภัย ได้ผลและเป็นธรรมชาติ ด้วยการกินสมุนไพร ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “สมุนไพรกำจัดมะเร็งมีความเป็นไปได้จริง แต่อาจไม่ใช่การกินสด ๆ ตามที่แชร์กัน ต้องนำมาผ่านกระบวนการสกัดสารต้านมะเร็งให้มีความเข้มข้นสูงและร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ หากผู้ป่วยจะนำสมุนไพรไปใช้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย” อันดับที่ 2 : อังกาบหนูรักษามะเร็ง จริงหรือ ? มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรชื่อ “อังกาบหนู” เพียงแค่ต้มกิน สามารถรักษามะเร็งได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย บทสรุป […]

1 38 39 40 41 42 202
...