คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ตั้งโรงงานผลิตรถไฟ
คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ตั้งโรงงานผลิตรถไฟ หวังลดต้นทุนผลิต-นำเข้า กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท
คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ตั้งโรงงานผลิตรถไฟ หวังลดต้นทุนผลิต-นำเข้า กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท
กรุงเทพฯ 6 ต.ค -กระทรวงคมนาคม เดินหน้า ดันรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก เข้า ครม.เร็วๆนี้ ย้ำเป็นโครงข่ายสำคัญต้อง เร่งอนุมัติก่อสร้างก่อนเลือกตั้ง ส่วนระบบตั๋วร่วมแมงมุม ยังลุ้นทั้ง แอร์พอร์ตลิงก์ และรถเมล์ ขสมก.รวมเข้าระบบได้ในเดือนตุลาคมนี้
กรุงเทพฯ 9 ก.ย.-ก.คมนาคมหวังให้กรมการขนส่งทางรางดูแลรถไฟฟ้าทั้งระบบ ตามแผนแม่บทปี 72 รถไฟฟ้าจะเสร็จ 12 เส้นทางยอดผู้ใช้บริการวันละกว่า 5 ล้าน คน นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า เพื่อให้การกำกับดูแลบริการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความสมบูรณ์ ทางกระทรวงคมนาคมกำหนดที่จะให้กรมการขนส่งทางราง เป็นหน่วยงานกำกับดูแลหรือเลคกูเลตอร์ โดยมีกฎหมายพระราชบัญญัติ ขนส่งทางรางเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งในอนาคตจะดูแลครอบคลุมในทุกด้าน เช่น ปัญหารถเสีย เดินรถล่าช้า รวมถึงการดูแลการประกอบการมีความเป็นธรรมกับผู้ให้บริการแต่ละรายด้วย เนื่องจากแนวโน้มจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการแล้ว 5 เส้นทาง มียอดรวมวันละกว่า 1ล้านคน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแผนแม่บทระบบการขนส่งทางรางในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล หรือ M-MAP ที่กำหนดการพัฒนาจนถึงปี 2572 ซึ่งจะทำให้มีระบบรถไฟฟ้าครอบคลุม 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 509 กิโลเมตร 312 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 680 ตารางกิโลเมตร(ตร.กม.) ซึ่งยอดผู้ใช้บริการจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละกว่า 5.1 ล้านคน สำหรับความคืบหน้าการออกพระราชบัญญัติขนส่งทางรางปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกระทรวงคมนาคมทยอยให้ข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายเป็นรายมาตราและเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยตั้งเป้าหมายว่า […]
กรุงเทพฯ 8 ก.ย. สนข. มั่นใจก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าเส้นแรกในจังหวัดเชียงใหม่ได้ตามเป้า นำร่องสายสีแดง 12 กิโลเมตร เงินลงทุนพุ่งเกือบแสนล้านเพราะเป็นระบบใต้ดิน นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ ศึกษาและสำรวจเส้นทางการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมั่นใจว่า จะสามารถเริ่มเดินหน้าตามเป้าหมาย สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา ในจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังได้สรุปแนวทางก่อสร้างใน รูปแบบ A วิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ระยะทาง 35 กิโลเมตร งบลงทุนรวม 8.6 หมื่นล้านบาท เพราะมองว่ามีความเหมาะสมกว่ารูปแบบ B ที่เป็นการติดตั้งรางแทรมบนถนน (LRT) จากสภาพถนนในเชียงใหม่ที่แคบ อาจทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้น แม้จะใช้เวลาก่อสร้างและวงเงินลงทุนสูงกว่าก็ตาม “ทั้งนี้ที่วงเงินลงทุน สูงเกือบ 100,000 ล้าน เนื่องจาก มีการลงทุน เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 70 % ของเส้นทาง ซึ่งมีการลงทุนมากกว่า ระบบลอยฟ้าถึง 3 เท่า”นายชัยวัฒน์กล่าว อีกทั้งยังเป็นความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรอบคูเมืองและเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ไว้ดังเดิม […]
สนข.สรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล พัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วน คาดเปิดใช้ปี 68
สนข.เร่งทำแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะส่วนภูมิภาค เดินหน้ายกระดับมาตรฐานและเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน
สนข.จับตาปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าเติบโตรวดเร็ว หลัง BEM เตรียมเปิดขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้า
สนข.ยันระบบตั๋วร่วมสำหรับผู้มีรายได้น้อยเริ่มใช้ตุลาคมนี้ คาด รฟม.สรุปความชัดเจนบัตรแมงมุมสำหรับบุคคลทั่วไป 18 กันยายนนี้
สนข.แจงระบบตั๋วร่วมจะมีรถไฟฟ้าเข้าร่วมไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า ล่าสุดเนื้อหอมแบงก์ใหญ่-ร้านสะดวกซื้อเจรจาพร้อมร่วมธุรกิจ
สนข.ดันพิษณุโลกฮับโลจิสติกส์ เชื่อมเหนือ-อีสาน-อาเซียน หนุนเศรษฐกิจจังหวัดโต 2 เท่า
กรุงเทพฯ 10 พ.ค.-สนข. ระบุปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนน หน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมกันทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างถูกต้อง เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายพื้นที่ที่ประสบปัญหา มีการแก้ไขลักษณะทางกายภาพโดยมีการตัดถนนเส้นใหม่ผ่านจุดที่มีความปลอดภัย ความร่วมมือของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) ไปแล้ว แต่ประสบปัญหาชาวบ้านไม่ต้องการให้มีการทางข้าม ซึ่งเป็นทางลักผ่านเดิม เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ถนนที่ตัดผ่านตรงจุดใหม่นั้นไม่สามารถเปิดใช้งานได้เนื่องจากติดข้อกฎหมาย ระเบียบของการรถไฟฯ ที่ทางข้ามทางรถไฟ ต้องมีระยะห่างกันเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด สนข. เห็นว่า หน่วยงานที่เป็นเจ้าของการก่อสร้างทั้งการไฟฯ และหน่วยงานที่ตัดถนน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้ง 3 ฝ่ายต้องไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านและชุมชน ความจำเป็นที่ต้องมีการใช้ทางตัดผ่านใหม่ โดยในการก่อสร้างจุดตัดใหม่ ในทุกจุดที่ภาครัฐดำเนินการ ได้มีการศึกษาข้อมูลทางด้านวิศวกรรมและมาตรฐานความปลอดภัยแล้วว่าเป็นจุดข้ามที่มีความปลอดภัยสูงสุด โดยหาก มีการทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนการก่อสร้าง การทำแผนฯ และหลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็เชื่อว่าปัญหาในลักษณะดังกล่าวจะไม่เกิดและชุมชนจะมีความเข้าใจในการดำเนินการของภาครัฐ ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาความปลอดภัย เนื่องจากปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางลักผ่านนั้น มีต่อเนื่องทุกปีสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้เดินทางและรฟท.เองไม่น้อย-สำนักข่าวไทย
สนข.เร่งรัดบัตรแมงมุม เสนอ รฟม.ตั้งหน่วยงานกลางจัดการรายได้