สนข.สรุปรูปแบบรถไฟฟ้าสีน้ำตาล

กรุงเทพฯ 23 ส.ค. – สนข.สรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) พัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนบนสายทางเดียวกัน เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 7 สาย คาดเปิดใช้ปี 68   


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (การสรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้สนใจ และสื่อมวลชน เข้าร่วมการประชุมสัมมนาฯ


นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมระยะยาว เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร – นวมินทร์) ซึ่งกระทรวงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และมอบหมายให้ สนข.ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยศึกษาความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมครอบคลุมครบทุกมิติ โดยผลศึกษาได้ข้อสรุปว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และทางพิเศษ (ทางด่วน) บนแนวสายทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนตามที่ สนข. เสนอ ประกอบด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3  สายเหนือ ตอน N2 ส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เป็นแนวเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอก การพัฒนาเฉพาะระบบรถไฟฟ้าจึงไม่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินทางอื่น ๆ ที่ต้องผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนบุคคลและการขนส่งสินค้า  นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางทดแทนในกรณีที่โครงข่ายถนนระดับพื้นดินไม่สามารถใช้งานได้ เช่น เกิดอุทกภัย เป็นต้น


สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา – อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22.3 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง  สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน

ส่วนระบบทางด่วน จะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข – ทางพิเศษศรีรัช – ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยแนวโครงการจะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกมาตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17.2 กิโลเมตร

นายชัยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกันมีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในอัตราที่สูงมาก โดยรถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 22.3 และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ปลอดภัยและประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน ขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน ร้อยละ 38.9 และจะเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ โดยจะก่อสร้างระบบทางด่วนควบคู่ไปกับการจัดทำฐานรากของระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการจัดการพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าระบบทางด่วนจะเปิดใช้บริการปี 2567  ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเปิดใช้บริการปี 2568 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง