ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวัง หลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

19 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ เหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบ อันตรายถึงชีวิตนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อธิบายว่า ข้อมูลในเนื้อข่าวยังขาดข้อมูลปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว การดื่มสุราเป็นประจำหรือไม่  “เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของร่างกายจะมีกลไกขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อคุมให้อุณภูมิในร่างกายให้คงที่ เพราะฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิที่ต่างกันมาก จะมีผลหลัก ๆ ที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมากกว่าถึงหลอดเลือดที่อยู่ข้างในตัว” การอาบน้ำส่งผลต่อหลอดเลือดในสมองหรือไม่ ? การอาบน้ำไม่ได้ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองถึงจะมีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจัด ก็ไม่เกี่ยวกับอาการหลอดเลือดในสมองแตกแต่อย่างใด ตามข่าวอาจเป็นความบังเอิญมาเกิดอาการหลอดเลือดในสมองแตกหลังอาบน้ำพอดี ในความเป็นจริง หลอดเลือดสมองสามารถแตกตอนไหนก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันแต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวข้องกัน ส่วนโรคเส้นเลือดในสมอง มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้สมองอยู่ในภาวะขาดเลือด โดยอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน จากการที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือไขมันที่สะสมเป็นเวลานาน เข้าไปขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะเข้าไปเลี้ยงสมอง และอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองปริแตก ฉีกขาด เพราะหลอดเลือดสมองอาจมีความเปราะบาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่รับสาย ก็โดนดูดเงินหายได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า แก็งคอลล์เซ็นเตอร์ มีเทคโนโลยีใหม่ สามารถดูดเงิน โดยไม่ต้องกดลิงค์ หรือลงแอป นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ACIS) ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ที่เพียงแค่รับสาย แล้วจะดูดเงินออกจากบัญชีได้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ : https://www.youtube.com/live/xq2Pjs9RDDY?si=J5VQemUc56ovb3ZG ด้าน TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เผยแพร่ข้อมูลยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารไม่มีการใช้เสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อโอนเงิน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงและยังไม่พบเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบบของธนาคารมีการป้องกันและพัฒนาการพิสูจน์ยืนยันตัวตนอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการให้ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนหน้า ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคล และรวมถึงการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ของลูกค้าทุกคน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธนาคาร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและประชาชน [แถลงการณ์จาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปเตือน ปูอัดทำจากกระดาษ-ไม่มีเนื้อสัตว์ จริงหรือ ?

5 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า ปูอัด ทำมาจากกระดาษ ห้ามกิน จะเกิดอันตราย ในขั้นตอนการผลิตไม่มีปู หรือเนื้อสัตว์เลย มีแต่แป้ง ผงชูรส และสารเคมีแต่งรสกลิ่นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กนกรัตน์ ลิมปิโสภณ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า คลิปที่แชร์มาเป็นกระบวนการผลิตปูอัดที่ได้มาตรฐาน ในคลิปที่เห็นมีก้อนสีขาว เรียกว่า ซูริมิ (surimi) หรือเนื้อปลาบด เป็นวัตถุดิบที่ใช้เตรียมขึ้นรูปในการผลิตปูอัด ซูริมิ (surimi)  คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อปลาบดแช่แข็ง ผ่านกรรมวิธีนวดให้เข้ากันและเหนียว ทำเป็นก้อนขนาดใหญ่สีขาว จากนั้นจะนำไปแช่แข็ง (freezing) เพื่อเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความเหนียวยืดหยุ่นต่อไป ดังนั้น คลิปที่แชร์ว่าปูอัดทำจากกระดาษ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ จึงไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ สัมภาษณ์เมื่อ : 30 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก จริงหรือ ?

29 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์แนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก คือ หาถุงมาครอบปากกับจมูกแล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ ประคบท้องด้วยน้ำอุ่น ข้ามมื้อเย็น หลัก 5 อ. และกลั้นหายใจนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ประโยชน์ของแก้วมังกร จริงหรือ ?

26 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ว่า แก้วมังกร ผลไม้ของสายสุขภาพ มีประโยชน์อย่างน้อย 8 อย่าง เช่น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อสู้โรคเรื้อรัง มีไฟเบอร์สูง มีพรีไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยธาตุเหล็ก บำรุงหัวใจ และบำรุงผิวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณเตือนโรคแพนิก จริงหรือ ?

28 มกราคม 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือน 10 สัญญาณอาการโรคแพนิกที่คุณอาจไม่รู้ เช่น เสียขวัญกะทันหัน ใจสั่น หายใจถี่ คลื่นไส้หรือปวดท้องนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แชร์ว่า 10 สัญญาณอาการโรคแพนิก มีดังนี้   สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คำแนะนำใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำให้ใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. นพ.พรพรหม เมืองแมนผู้ช่วยคณบดี และ รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาแผลไฟไหม้ ได้รับการยืนยันว่า ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้ ตามข้อมูลที่แชร์กัน “ดูแล้วไม่แนะนำครับ เพราะความสะอาดของไข่ขาวนั้นคาดการณ์ยาก แผลมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้นครับ” ศ. นพ.พรพรหม ระบุ สำหรับข้อความดังกล่าว เมื่อสืบค้นหาต้นตอ พบว่ามีแชร์กันเป็นภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงปี 2554 ซึ่งเว็บไซต์ Snopes.com ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยืนยันเช่นกันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่ควรใช้ไข่ขาวในการปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ เนื่องจากมีความเสี่ยงติดเชื้อ รวมถึงเชื้อซาลโมเนลลา ”In a nutshell, don’t do it, because the danger of introducing salmonella into an open wound should not be […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปหมูสามชั้นปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า “หมูเถื่อนคือหมูจริง ๆ แต่นำเข้าผิดกฎหมาย ไม่เสียภาษีแต่ตอนนี้มี หมู 3ชั้นปลอม แล้วนะ” บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาหารที่อยู่ในคลิป คือ ขนมเยลลี่ที่ทำเป็นรูปหมูสามชั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบคลิปที่แชร์มา ซึ่งเป็นคลิปที่มีข้อความภาษาจีนระบุว่า “惊人的人造肉” ซึ่งแปลได้ว่า เนื้อเทียม และ “看看制作过程吧不良商家罪该万死” แปลว่า มาดูกระบวนการผลิต ผู้ค้าที่แย่ ๆ สมควรตายจากการก่ออาชญากรรมนี้” ตรวจสอบต้นฉบับพบว่าโพสต์โดยผู้ใช้แอป 快手 รหัส 1580974446 สืบหาต้นตอ🔍 เมื่อนำวิดีโอในคลิปไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาต้นตอ พบว่ามีเบาะแสที่สำคัญ คือ ภาพการติดฉลาก ในช่วงนาทีที่ 02.26 และเมื่อนำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบค้นหาภาพกับเว็บ Baidu ก็พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีฉลากเป็นภาษาเกาหลี เขียนว่า 디담 삼겹살 모양 젤리 หรือ DIDAM PORK BELLY JELLY [ https://graph.baidu.com/s?card_key=&entrance=GENERAL&extUiData%5BisLogoShow%5D=1&f=all&isLogoShow=1&session_id=15932161682953549650&sign=126919df67580cf37f03901703131463&tpl_from=pc […]

ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปลี่ยนสีดวงตา ทำได้จริงหรือ ?

30 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปการเปลี่ยนสีดวงตา บริเวณรอบ ๆ รูม่านตา จากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า หรือสีอื่น ๆ ได้นั้น บทสรุป :  จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ทางการแพทย์มีวิธีการเปลี่ยนสีม่านตาได้ แต่แพทย์จะใช้รักษาคนไข้ในบางกรณีเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ทำตามแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ ในคลิปที่แชร์มาเป็นการเปลี่ยนสีดวงตา เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา แต่การกระทำตามคลิปดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และผู้ที่ไปทำอาจได้รับอันตราย หากต้องการเปลี่ยนสีดวงตาตามแฟชั่น แพทย์แนะนำวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือการใส่คอนแทคเลนส์สีต่าง ๆ ด้วยคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐานรับรอง การเปลี่ยนสีกระจกตา ทางการแพทย์ใช้รักษาคนไข้กรณีใดบ้าง ? สำหรับผู้ที่กระจกตาเป็นฝ้าขาวหนาทึบ โดยที่ตาข้างนั้นมองไม่เห็นแล้ว แต่กลางตาดำเป็นฝ้าขาวแลดูไม่สวยงาม มีวิธีที่ทำให้กระจกตาที่เป็นฝ้าขาวให้มีสีเหมือนตาอีกข้าง คือสีดำหรือน้ำตาล แพทย์จะใช้วิธีที่เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา หลังจากทำประมาณ 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทตรวจ Lab Covid เตือน “เมื่อวานคืนเดียว ตรวจพบเกือบ 100 ราย” จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ “เจ้าของบริษัทตรวจ lab เชื้อ covid แห่งหนึ่ง เตือนให้ระวังการระบาดใหญ่รอบใหม่ คืนเดียวพบเชื้อเกือบ 100 ราย” หืม… ชัวร์เหรอ ? 📌 บทสรุป : ❌เก่า ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้เป็นข้อความเก่าที่เคยแชร์กันมาก่อน โดยมีข้อมูลที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้รับข้อความนี้ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2564 อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ยังคงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและความรุนแรงหากผู้ติดเชื้อมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงยังคงไม่แตกต่างจากเดิม เช่น การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ อยู่เสมอ 29 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน เรียนพี่ๆ น้องๆคะ เมื่อเช้านี้ อาจารย์รุ่นน้องที่เป็นเจ้าของบริษัทตรวจ lab covid แห่งหนึ่ง เตือนมาแต่เช้าค่ะ ว่าระบาดรอบนี้ใหญ่มากเมื่อวานคืนเดียว แลบ แค่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินแก้ตาเหลือง จริงหรือ ?

17 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำวิตามินที่มีส่วนประกอบของ วิตามินเอ ลูทีนและซีแซนทีนกินแล้วช่วยแก้อาการตาเหลือง และทำให้ตาใสแจ๋วไม่พร่ามัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า อาการตาเหลือง เป็นอาการของโรคดีซ่าน การทำงานของตับและท่อน้ำดีผิดปกติ สีเหลืองเกิดจาก มีการสะสมของสารบิลิรูบินอยู่มากเกินไป ใครที่มีอาการตาเหลือง อ่อนเพลียร่วมด้วย สามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นดีซ่าน หรือตาเหลืองโรคตับ แชร์ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบของวิตามินเอ ลูทีน (Lutein) 20% และซีแซนทีน (Zeaxanthin)  20% ช่วยแก้อาการตาเหลืองได้ จริงหรือ ? แพทย์กล่าวว่า สารแต่ละตัวที่ระบุไว้ มีคุณสมบัติเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคตาเหลือง หรือป้องกันตาพร่ามัวได้ วิตามินเอ ช่วยการทำงานจอประสาทตา ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นน้อยมาก ในอาหารทั่วไปที่เรากินอยู่มีมากกว่านั้นหลายเท่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารที่มีผลทางการแพทย์ ช่วยชะลอ ยับยั้ง ไม่ให้เกิดการลุกลามของภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ แพทย์แนะนำวิธีปรับและลดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อดวงตา […]

1 2 3 4 5
...