ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถ ห้ามจ่าย จริงหรือ ?

20 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือนใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถห้ามจ่าย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ -เป็นเอกสารจริง เพื่อเตือนให้ชำระค่าปรับ ซึ่งจะไม่มีรูปรถขณะกระทำผิด  👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผ่าน กรมประชาสัมพันธ์ ว่า รูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารจริง โดยเป็นเอกสารการแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าปรับ หลังจากที่มีการส่งเอกสารครั้งแรก ซึ่งจะมีภาพรถขณะกระทำผิด แล้วผู้กระทำผิดยังไม่ชำระเงินค่าปรับ “ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว 👉 อย่างไรก็ตาม การสแกน QR CODE เพื่อชำระเงินใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังการสแกนจ่าย QR CODE เสี่ยงโดนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

15 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือน “ระวังการสแกนจ่ายซื้อของ เสี่ยงโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น  บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรณีสแกน QR CODE แล้วถูกดูดเงินหมดบัญชีในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก ซึ่ง QR CODE (Quick Response Code) เป็นเพียงรูปแบบของรหัสรูปภาพที่สามารถบรรจุข้อความ ลิงก์ ลงไปได้ ดังนั้นเพียงแค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นมาสแกน ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้โดยทันที แต่สำหรับการเข้าถึงบัญชีธนาคาร จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว  👉 อย่างไรก็ตาม ก่อนเปิดกล้องหรือกดสแกน QR CODE ใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ ว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเมื่อสแกน ให้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นปลายทางที่ต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะตรวจสอบที่อยู่ URL ของเว็บไซต์ หากพบความผิดปกติ สามารถกดยกเลิก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเด็กถือป้ายที่อยู่อ้างพลัดหลง เบื้องหลังคือแก๊งค้าอวัยวะ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า “ด่วน! จากกรมตำรวจ…” ให้ระวังเด็กถือกระดาษเขียนบ้านเลขที่แอบอ้างว่าพลัดหลง เพราะจะมีมิจฉาชีพรอปล้นหรือขโมยตัดอวัยวะ นั้น บทสรุป : มั่ว ❌ อย่าแชร์ เป็นข้อความข่าวลือในต่างประเทศ ที่ส่งต่อกันมาหลายปีแล้ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าว พบว่ามีข้อพิรุธหลายจุด เช่น ใช้คำว่า “กรมตำรวจ” ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้น ประเทศไทย ไม่มีหน่วยงานชื่อ “กรมตำรวจ” ตั้งแต่ปี 2541 เนื่องจากเปลี่ยนเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และเมื่อตรวจสอบไปที่แหล่งข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ไม่เคยประกาศคำเตือนในลักษณะนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้คำแนะนำกรณีการพบเด็กพลัดหลง ว่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยประสานงานตามหาผู้ปกครองต่อไป ด้านนายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ให้ความเห็นต่อข้อความดังกล่าวว่า “มันเป็นการแชร์ที่ไม่มีข้อเท็จจริงเลย เหมือนเป็นการแต่งเรื่องมาจากนักสร้างเรื่องมากกว่า เมื่อดูจากบริบทของเรื่องและลักษณะการให้ข้อมูล รวมทั้งการอ้างอิงคำว่า กรมตำรวจ ซึ่งสมัยนี้ไม่มีแล้ว จะมีแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น น่าจะเป็นข้อความขยะที่ส่งต่อกันมา หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย แนะนำว่า หากพบเด็กพลัดหลง สอบถามแล้วยังไม่ได้ข้อมูล สะท้อนว่าอาจจะมีประเด็นปัญหาบางประการในครอบครัว พลเมืองดีจึงควรประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนำเด็กส่งสถานีตำรวจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์​ : ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ?

23 สิงหาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรม รวมถึงไม่ต้องไปขนส่ง” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปยัง กรมการขนส่งทางบก ย้ำชัด ไม่จริง ใบขับขี่ทุกชนิด ต้องทำที่กรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น มีแค่การจองคิวล่วงหน้าในแอป DLT Smart Queue หรืออบรมผ่าน www.dlt-elearning.com เท่านั้นที่ทำผ่านออนไลน์ได้ อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม ใช้โลโก้กรมการขนส่งทางบก และลงรูปหน้าม้าพร้อมใบขับขี่ สร้างความน่าเชื่อถือ พบทั้ง บริการรับทำใบขับขี่ และ เข้าอมรมต่ออายุใบขับขี่แทน หลอกเก็บเงินเหยื่อ ตั้งแต่ 1,000 – 6,000 บาท เมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน มิจฉาชีพจะหลอกล่อให้โอนเงินเพิ่มและเงียบหาย ไม่สามารถตามคืนได้หรืออาจได้รับใบขับขี่ปลอม ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จดหมายจริงของธนาคารกสิกรไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ธนาคารกสิกรไทย ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊ก “KBank Live” ว่า จดหมายดังกล่าว เป็นของจริง โดยเป็นจดหมายเพื่อแจ้งสิทธิพิเศษของขวัญThe Wisdom Delight Gift ปี 2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่จัดส่งแบบลงทะเบียนให้ลูกค้าผู้ถือบัตรเดอะวิสดอมกสิกรไทยที่ได้รับสิทธิ์ ไม่ใช่มิจฉาชีพแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้นควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 6 สิงหาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์บันทึกการแก้ไข : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม  2566 ตามที่มีการแชร์เตือน สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ นั้น 📌บทสรุป : ❌ ข้อมูลเก่าวนซ้ำ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ของ จส.100 ได้ยืนยันว่า ข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ รวมถึง สำนักการโยธาได้ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อความเตือนที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยสำนักการโยธา ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ไม่พบความผิดปกติ สะพานมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามปกติ    👉  อย่างไรก็ตาม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ในปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก จส.100 มีการโพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความระบุว่า “อันตรายไปหน่อย จุดยูเทิร์นแยกวิทยุ ถ.พระราม4 มีชิ้นส่วนสะพานไทยเบลเยี่ยมชำรุด กลัวจะหล่นลงมา”  ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อชิ้นส่วนที่ไม่ปลอดภัยออกจากพื้นที่ รวมถึงปิดซ่อมและดำเนินการปรับปรุงเรียบร้อยแล้วในปีเดียวกัน  ❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ 20 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความ จัดตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌  👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ข่าวจริงประเทศไทย ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด ข้อมูลชุดนี้ เริ่มแพร่กระจายในช่วง เดือนกรกฎาคม 2562 ในกลุ่มฟซบุ๊ก “คนใต้ใจเต็ม” และกลับมาส่งต่อกันอีกครั้งใน เดือน กรกฎาคม 2566 👉  ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย  จ.สงขลา ชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้1. พื้นที่ จ.สงขลา ไม่ปรากฏ ว่ามีแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์แต่อย่างใด โดยในห้วงที่ผ่านมามีปรากฏแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดนาทวี เท่านั้น2. อ.กระแสสินธุ์ ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็กและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ3. ปัจจุบัน พื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ กำลังดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามสแกน QR CODE ไปรษณีย์ไทย เงินหายหมดบัญชี จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-เอกสารที่แชร์เป็นของไปรษณีย์ไทยจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพ-สแกน QR CODE แล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ รูปภาพเอกสารที่แชร์กันเป็นเอกสารจริงของไปรษณีย์ไทย เขตนำจ่ายภาษีเจริญ 5 ซึ่งเป็นแผนกในสังกัดของไปรษณีย์ภาษีเจริญที่ได้ส่งใบนัดนำจ่ายไว้ที่บ้านผู้รับที่ไม่มีคนอยู่บ้านและไม่สะดวกรับ ให้สามารถติดต่อนัดหมายกับบุรุษไปรษณีย์ให้นำจ่ายพัสดุได้ใหม่อีกครั้ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ ไปรษณีย์ไทยได้ยกเลิกนัดหมายเวลาในการนำจ่ายใหม่ผ่านระบบ QR CODE โดยจะติดต่อผู้รับเพื่อนัดหมายนำจ่ายใหม่ผ่านโทรศัพท์ 👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันผ่าน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากรูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารของไปรษณีย์ไทยจริง จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่บ้านและไม่สามารถรับพัสดุได้ สามารถสแกน QR CODE เพื่อนัดหมายวันให้ไปส่งใหม่ได้ 👉  อย่างไรก็ตาม ข้อความและภาพดังกล่าว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : รับสายไร้เสียงพูด อย่าตอบ เสี่ยงโดนปลอมเสียง จริงหรือ ?

8 กรกฏาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความอ้างว่า อ.ช้างเตือน รับสายโทรศัพท์ที่ไม่มีเสียงพูด อย่าพูดตอบ เพราะจะโดน AI ปลอมเสียงได้ นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-อาจารย์ช้างยืนยัน ไม่ได้พูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว-กรณีการปลอมเสียงด้วย AI มีความเป็นไปได้ แต่ค่อนข้างยากในปัจจุบัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.ต.ท. ธนันวัฒน์ นีรพัฒน์ชยากุล หรือ อาจารย์ช้าง ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผู้แชร์คำเตือน โดยอาจารย์ช้าง ยืนยันว่า ไม่เคยพูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว “มันจะเป็นไปได้อย่างไร ผมไม่เคยพูดแบบนี้มาก่อน เรื่องนี้เป็นข่าวปลอม อย่าไปหลงเชื่อ” อาจารย์ช้างกล่าว และ ย้ำเตือนประชาชนว่า “ก่อนจะแชร์อะไร ควรตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ใจ”สำหรับความเป็นไปได้ที่มิจฉาชีพจะบันทึกเสียงและใช้ AI ปลอมเสียง อาจารย์ช้างกล่าวกับชัวร์ก่อนแชร์ ว่า โดยหลักการนั้น มีความเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมต่าง ๆ และระบบ AI ที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์คลิปหนังสั้นมูลนิธิเวชดุสิต 1 วิว = 1 บาท จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการส่งต่อข้อความขอให้ช่วยแชร์คลิปหนังสั้น ที่อ้างว่าสร้างขึ้นโดย “มูลนิธิเวชดุสิต” เพื่อหาทุนช่วยเหลือการศึกษาให้เด็ก โดย 1 ยอดวิว = 1 บาท และมีเป้าหมายที่ 2 ล้านบาท นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปที่แชร์พร้อมข้อความนั้น เป็นคลิปให้กำลังใจของศิลปินคนตาบอด S2S ซึ่งทางวงดนตรีก็ได้ชี้แจงไว้แล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความที่แชร์กัน [Official MV] กำลังใจ by ศิลปิน S2S ด้านมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอดและมูลนิธิเวชดุสิต ต่างยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความและขอรับบริจาคตามที่แชร์กันแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาในปี 2558 ทางมูลนิธิเวชดุสิตเคยจัดทำคลิป Unlimited Dreams เพราะความฝันไม่มีวันพิการ ปีที่ 1 2558 โดย 1 วิวที่เข้าชม มูลนิธิได้ร่วมสมทบทุน 1 บาทผ่านโครงการความฝันไม่มีวันพิการ และโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้วเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี 2558 ดังนั้น จึงแนะนำว่า ❌ ข้อความที่แชร์กันไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ หากท่านใดมีความประสงค์ต้องการจะบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิเวชดุสิตฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?

3 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก” นั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ ทั้งการเทรดหุ้นระยะสั้น ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง ผ่านสื่อออนไลน์หรือโทรศัพท์ ทั้งสิ้น 🎯 บริษัทอมตะ มีเพจเฟซบุ๊กเดียว คือ “AMATA” เท่านั้น เพจอื่น ล้วนเป็นเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ มีทั้งการแอบอ้างใช้รูปคุณวิกรม กรมดิษฐ์ สัญลักษณ์ของบริษัทอมตะ รวมถึงมีการสร้างจดหมายปลอมขึ้น ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ เกิดการเสียทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง 🎯 ทั้งนี้บริษัทอมตะได้รวบรวมรายชื่อเพจปลอมได้ตามลิงก์ด้านล่างรวมเพจปลอมแอบอ้างบริษัทอมตะหมายเหตุ: รายชื่อที่เพจปลอมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิจฉาชีพอาจมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ 3 กรกฎาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข่เบอร์ไหนดี ที่เหมาะกับเรา จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำแนะนำเรื่องการเลือกไข่ ว่าขนาดหรือเบอร์ไหนที่เหมาะกับเรานั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ Q : มีไข่ที่เหมาะกับกลุ่มใดเป็นพิเศษ จริงหรือ ?A : ไม่จริง เบอร์ของไข่มีความต่างกันเรื่องสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าไข่เบอร์ไหนเหมาะกับใคร Q : ไข่ขนาด M หรือ เบอร์ 3 เบอร์ 4 มีคอเลสเตอรอลต่ำ โซเดียมต่ำ ไขมันปานกลาง โปรตีนต่ำ ความเข้มข้นวิตามินสูง จริงหรือ?A : ที่แชร์บอกว่า “คอเลสเตอรอลต่ำ” นั้นยังไม่ถูกต้อง ควรใช้คำว่า “ไข่เบอร์เล็กมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเบอร์ใหญ่” จึงจะถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากกินในปริมาณที่เหมาะสม Q : ไข่ขนาด M เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต จริงหรือ ?A : […]

1 2 3 4 5
...