ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปลี่ยนสีดวงตา ทำได้จริงหรือ ?

30 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปการเปลี่ยนสีดวงตา บริเวณรอบ ๆ รูม่านตา จากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า หรือสีอื่น ๆ ได้นั้น บทสรุป :  จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ทางการแพทย์มีวิธีการเปลี่ยนสีม่านตาได้ แต่แพทย์จะใช้รักษาคนไข้ในบางกรณีเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ทำตามแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ ในคลิปที่แชร์มาเป็นการเปลี่ยนสีดวงตา เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา แต่การกระทำตามคลิปดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และผู้ที่ไปทำอาจได้รับอันตราย หากต้องการเปลี่ยนสีดวงตาตามแฟชั่น แพทย์แนะนำวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือการใส่คอนแทคเลนส์สีต่าง ๆ ด้วยคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐานรับรอง การเปลี่ยนสีกระจกตา ทางการแพทย์ใช้รักษาคนไข้กรณีใดบ้าง ? สำหรับผู้ที่กระจกตาเป็นฝ้าขาวหนาทึบ โดยที่ตาข้างนั้นมองไม่เห็นแล้ว แต่กลางตาดำเป็นฝ้าขาวแลดูไม่สวยงาม มีวิธีที่ทำให้กระจกตาที่เป็นฝ้าขาวให้มีสีเหมือนตาอีกข้าง คือสีดำหรือน้ำตาล แพทย์จะใช้วิธีที่เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา หลังจากทำประมาณ 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทตรวจ Lab Covid เตือน “เมื่อวานคืนเดียว ตรวจพบเกือบ 100 ราย” จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ “เจ้าของบริษัทตรวจ lab เชื้อ covid แห่งหนึ่ง เตือนให้ระวังการระบาดใหญ่รอบใหม่ คืนเดียวพบเชื้อเกือบ 100 ราย” หืม… ชัวร์เหรอ ? 📌 บทสรุป : ❌เก่า ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้เป็นข้อความเก่าที่เคยแชร์กันมาก่อน โดยมีข้อมูลที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้รับข้อความนี้ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2564 อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ยังคงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและความรุนแรงหากผู้ติดเชื้อมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงยังคงไม่แตกต่างจากเดิม เช่น การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ อยู่เสมอ 29 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน เรียนพี่ๆ น้องๆคะ เมื่อเช้านี้ อาจารย์รุ่นน้องที่เป็นเจ้าของบริษัทตรวจ lab covid แห่งหนึ่ง เตือนมาแต่เช้าค่ะ ว่าระบาดรอบนี้ใหญ่มากเมื่อวานคืนเดียว แลบ แค่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินแก้ตาเหลือง จริงหรือ ?

17 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำวิตามินที่มีส่วนประกอบของ วิตามินเอ ลูทีนและซีแซนทีนกินแล้วช่วยแก้อาการตาเหลือง และทำให้ตาใสแจ๋วไม่พร่ามัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า อาการตาเหลือง เป็นอาการของโรคดีซ่าน การทำงานของตับและท่อน้ำดีผิดปกติ สีเหลืองเกิดจาก มีการสะสมของสารบิลิรูบินอยู่มากเกินไป ใครที่มีอาการตาเหลือง อ่อนเพลียร่วมด้วย สามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นดีซ่าน หรือตาเหลืองโรคตับ แชร์ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบของวิตามินเอ ลูทีน (Lutein) 20% และซีแซนทีน (Zeaxanthin)  20% ช่วยแก้อาการตาเหลืองได้ จริงหรือ ? แพทย์กล่าวว่า สารแต่ละตัวที่ระบุไว้ มีคุณสมบัติเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคตาเหลือง หรือป้องกันตาพร่ามัวได้ วิตามินเอ ช่วยการทำงานจอประสาทตา ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นน้อยมาก ในอาหารทั่วไปที่เรากินอยู่มีมากกว่านั้นหลายเท่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารที่มีผลทางการแพทย์ ช่วยชะลอ ยับยั้ง ไม่ให้เกิดการลุกลามของภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ แพทย์แนะนำวิธีปรับและลดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อดวงตา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วุ้นมะพร้าวทำจากกระดาษหรือพลาสติก จริงหรือ ?

13 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือน ระวังเครื่องดื่มผสมวุ้นมะพร้าว เทตากแดดไว้คืนเดียว แห้งเป็นแผ่น เหมือนกระดาษหรือพลาสติกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสมชาย สิขันธกบุตร ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท ทวีผลผลิตภัณฑ์ จำกัด วุ้นมะพร้าว เป็นวุ้นที่ได้จากกระบวนการหมักเช่นเดียวกับการผลิตน้ำส้มสายชู โดยนำน้ำมะพร้าวแก่มาใส่เชื้อ Acetobacter Xylinum  มาผ่านกระบวนการผลิต ในขณะที่เชื้อเจริญเติบโตจะสร้างแผ่นวุ้นที่เป็นเซลลูโลส (cellulose) ที่มีเส้นใยอาหารรวมตัวกัน ลักษณะมีสีขาว เป็นแผ่นหนา ในระดับอุตสาหกรรมมีการแปรรูปวุ้นมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นำไปตัดเป็นขนาดพอดีคำ และนำไปผสมกับน้ำผลไม้ ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ ก่อนบรรจุลงขวด ดังนั้น วุ้นมะพร้าวเป็นเซลลูโลสที่กินได้ ไม่ได้ทำจากกระดาษหรือพลาสติกตามที่แชร์กัน จึงไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด *หมายเหตุ : เนื้อหาชิ้นนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตร ภายใต้กรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ โดยไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทผู้ผลิตสินค้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามกินลูกพลับกับนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จริงหรือ ?

❌ เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ ❌ ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ห้ามกินลูกพลับ แล้วต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีเด็กเสียชีวิตแล้วนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ – เป็นข้อมูลเท็จเก่า ที่แชร์กันในจีน– ไม่พบข่าวหรือหลักฐานการเสียชีวิตตามที่กล่าวอ้าง– ลูกพลับแม้อาจย่อยยาก แต่การกินตามปกติทั่วไป ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าวมีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน ตั้งแต่ราวปี 2558 หรือก่อนหน้านั้น โดยมีการแชร์วนซ้ำเป็นประจำทุกปี หลายสำนักข่าวในประเทศจีน ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า ข้อความดังกล่าว ไม่เป็นความจริง โดยไม่พบหลักฐานว่ามีกรณีที่ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากการกินลูกพลับและโยเกิร์ตและกล้วยหอม ข่าวในประเทศจีน อ้างถึงผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีน บอกว่า แม้ลูกพลับอาจจะมีคุณสมบัติย่อยยากอยู่บ้าง แต่จะไม่ได้อันตรายถึงเสียชีวิตแต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญในจีน ไม่แนะนำให้กินลูกพลับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร รวมทั้งไม่แนะนำให้กินตอนท้องว่าง และไม่แนะนำให้กินเปลือกลูกพลับ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ แพทย์จีน ต้นสกุล สังข์ทอง แผนกอายุรกรรมทางเดินอาหาร คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน อธิบายว่า ยังไม่มีงานวิจัยระบุว่าการกินพลับตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จะมีสารอาหารที่ออกฤทธิ์เสริมกันแล้วก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้  ลูกพลับ มีสรรพคุณช่วยดับกระหาย ให้ความชุ่มชื่นกับปอด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : งดจัดงานปีใหม่ เนื่องจากเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนซึ่งเริ่มต้นด้วยข้อความระบุว่าจะมีการงดจัดเทศกาลปีใหม่เนื่องเนื่องด้วยเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้น.📌 บทสรุป : ❌เก่า คลาดเคลื่อน ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ.👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่าข้อความลักษณะนี้มีการแชร์มาตั้งแต่ปี 2564 เรื่องงดจัดเทศกาลปีใหม่ เป็นหัวข้อข่าวในปีก่อน ๆ โดยยังไม่มีข้อมูลว่าจะมีการงดจัดเทศกาลสำหรับปีใหม่ 2567 นี้แต่อย่างใด.👉🏻 สำหรับ “เดลตาครอน” เคยเป็นข่าวเมื่อช่วงปี 2565อ่านรายละเอียดบางส่วนจากข่าวนี้ https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/134827.🤟🏻 ส่วนข้อความด้านล่าง ส่วนมากไม่จริงและเก่าแล้ว ไม่มีประโยชน์ในการแชร์ต่อ.📌 อย่างไรก็ตาม เชื้อโควิดยังคงแพร่กระจายได้ หากไม่ระวัง และ อาจเป็นอันตรายกับบางคนได้ จึงควรดูแลตนเอง และเข้มงวดมาตรการต่าง ๆ ต่อไป ตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนเผชิญ เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด.🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION : หลากหลายคำเตือนโควิด จริงหรือ ? 6 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน รัฐบาลเตรียมจ่อประกาศงดเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ “เดลตาครอล XBC” ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่าย/รวดเร็ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 สิ่งห้ามทำ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง จริงหรือ ?

6 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า หยุดทำ 3 สิ่งนี้ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง เช่น กินยาสตรี กินหวานเกินจำเป็น และ นอนดึกนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Q : กินยาสตรีแล้วจะทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : ยาสตรี โดยทั่วไปมีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง และมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และจากองค์ประกอบของยาสตรี มีพวกสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น กวาวเครีอ ว่านต่าง ๆ ตังกุย เป็นต้น หากได้รับมากเกินไปหรือกินต่อเนื่องเป็นประจำก็จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ Q : กินหวานเกินไปทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : เรื่องความหวานกับมะเร็งนั้น ยังไม่มีการศึกษาค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ในทางกลับกันพบว่า น้ำตาลหรือความหวานนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอักเสบในร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรคที่ต้องหลีกเลี่ยงดื่มน้ำมะพร้าว จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าจะดื่มน้ำมะพร้าว คนที่ป่วย 3 โรคนี้ต้องระมัดระวัง โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไตเสื่อมนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมความรู้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสในปริมาณสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินน้ำมะพร้าวสดหรือเครื่องดื่มจากน้ำมะพร้าวชนิดหวานน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม 3.ผู้ป่วยโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ หากร่างกายขาดน้ำผู้ป่วยโรคไตอาจเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : ร่าง พ.ร.ฎ. เพิ่มเงินบำนาญสูงถึง 10,000 จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์กันว่า พ.ร.ฎ.เพิ่มเงินให้ผู้รับบำนาญ – ขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ​ ผ่านการพิจารณาแล้ว โดยเพิ่มเงินสูงถึง 10,000 นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ปรับเพิ่มเฉพาะผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับ ช.ค.บ. ที่ไม่ถึง 10,000 บาทเท่านั้น 👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าว ถูกส่งต่อกันตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยนางญาณี แสงศรีจันทร์ โฆษกกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ในขณะนั้น ได้ออกแถลงเตือน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ผ่านเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ ว่า กฎหมายดังกล่าวมีเพียงประเด็นปรับเพิ่ม เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เท่านั้น โดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 โดยปรับเพิ่มเงินให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ รวมกันทุกประเภทและรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) แล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตัดแว่นไม่ตรงค่าสายตา เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

5 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า การตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตา ทำให้ตาบอดได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ – มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำเป็นต้องเข้าพบและได้รับคำปรึกษากับจักษุแพทย์ก่อนทำการวัดสายตาเพื่อตัดแว่นให้ตรงกับค่าสายตา การที่เด็กไม่ได้รับภาพที่ชัดเจน จะทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่สายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่ได้ตัดแว่นที่ถูกต้องกับค่าสายตา ก็อาจทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจและอาจทำให้ตาบอดได้ สำหรับการวัดความผิดปกติของสายตาเด็กเนื่องจากเด็กมีจุดโฟกัสดีกว่าสายตาผู้ใหญ่ ต้องหยอดยาลดการเพ่งก่อน โดยหยอดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กเพ่งน้อยลง แล้วค่อยวัดความสั้น ความเอียง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าผิดปกติหรือไม่ต้องนัดตรวจซ้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง กรณีผู้ใหญ่หากตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาก็จะทำให้การมองเห็นไม่ดี ภาพไม่ชัดเจน แต่จะไม่มีผลทำให้เกิดภาวะตาบอดถาวรแบบในเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยแก้ไขก่อนจะสายเกินไป สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

2 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความว่ามีอาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Q : นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?A : จริง เพราะนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้ จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน หากใครแพ้นมวัว สามารถกินนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แทนได้เช่นกัน *คำแนะนำจากแพทย์ >> กินนม 1 แก้วก่อนนอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง Q : […]

1 2 3 4 5 6
...