โกดังน้ำมันระเบิดในนากอร์โน-คาราบัคตายเพิ่มเป็น 20 คน

เยเรวาน 26 ก.ย.- รัฐบาลกลุ่มแยกดินแดนนากอร์โน-คาราบัคแจ้งว่า เหตุคลังน้ำมันระเบิดเมื่อวันจันทร์มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 20 คนแล้ว รัฐบาลสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคหรือสาธารณรัฐอาร์ทซัค ซึ่งไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติเผยวันนี้ว่า พบศพในที่เกิดเหตุ 13 ศพ และมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต 7 คน ขณะที่ผู้บาดเจ็บราว 290 คนกำลังรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลายสิบคนยังคงอาการวิกฤต ด้านกระทรวงสาธารณสุขอาร์เมเนียแถลงว่า ได้ส่งทีมแพทย์ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังเมืองสเตฟาเนเกิร์ตที่เป็นเมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค ขณะที่ทำเนียบประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานแถลงว่า ได้ส่งทีมแพทย์ไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเช่นกัน เหตุคลังน้ำมันระเบิดเกิดขึ้นในขณะที่ชาวอาร์เมเนียพากันอพยพออกจากนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอาร์เซอร์ไบจาน รัฐบาลอาร์เมเนียเตือนว่า อาจเกิดการฆ๋าล้างเผ่าพันธุ์คนเชื้อสายอาร์เมเนีย หลังจากอาเซอร์ไบจานบุกโจมตีสาธารณรัฐนี้แบบสายฟ้าแลบเมื่อวันที่ 19 กันยายน และนับตั้งแต่มีคนหนีข้ามพรมแดนเข้ามาในอาร์เมเนียชุดแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน จนถึงขณะนี้รวมมากกว่า 13,000 คนแล้ว ขณะเดียวกันตัวแทนของอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเตรียมพบกันที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม โดยจะมีที่ปรึกษาการทูตของประธานคณะมนตรียุโรปเป็นประธานการหารือ และมีที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของฝรั่งเศสและเยอรมนีเข้าร่วมด้วย อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานทำสงครามแย่งชิงนากอร์โน-คาราบัค 2 ครั้งตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย พื้นที่นี้อยู่ในอาเซอร์ไบจานแต่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอาร์เมเนีย.-สำนักข่าวไทย

อาร์เมเนียในพื้นที่พิพาทหนีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

เยเรวาน 26 ก.ย.- ชาวอาร์เมเนียในพื้นที่พิพาทกับอาเซอร์ไบจานหลั่งไหลออกจากพื้นที่ด้วยความหวาดกลัวว่า จะถูกสังหารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พื้นที่พิพาทดังกล่าวคือ นากอร์โน-คาราบัค อยู่ในอาเซอร์ไบจาน แต่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์เมเนียที่อาศัยมานาน เดิมอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่เมื่อโซเวียตล่มสลายจึงได้เกิดการแย่งชิงกัน ทำสงครามกันมาแล้ว 2 ครั้ง  และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาร์เซอไบจานได้เปิดฉากโจมตีชาวอาร์เมเนียเสียชีวิตราว 200 คน อาร์เมเนียยอมจำนนและตกลงที่จะวางอาวุธ เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม อย่างไรก็ตาม ชาวอาร์เมเนียในพื้นที่ยังคงออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายพันคน โดยยอมละทิ้งบ้านเรือนเพราะเกรงว่า จะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อกำจัดคนเชื้อสายอาร์เมเนีย ทำให้ถนนต่าง ๆ มีรถยนต์ติดขัดเป็นทางยาว นายกรัฐมนตรีนิโคล ปาชินยาน ของอาร์เมเนียกล่าวหาว่า เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้นแล้วในนากอร์โน-คาราบัค รัฐบาลอาร์เมเนียกำลังพยายามประสานงานขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ และได้จัดเตรียมที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับผู้อพยพ 40,000 คน แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเพียงพอหรือไม่ ขณะเดียวกันชาวอาร์เมเนียในกรุงเยราวาน ยังคงประท้วงรัฐบาลอย่างรุนแรง เพราะไม่พอใจที่รัฐบาลอ่อนข้อให้อาเซอร์ไบจานมากเกินไปและกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก  เพราะทำให้ประเทศต้องสูญเสียเกียรติภูมิจากการถูกขับออกจากดินแดนบ้านเกิดตัวเอง.-สำนักข่าวไทย

รัสเซียโจมตีหลายเมืองทั่วยูเครนในวันนี้

เคียฟ 28 เม.ย.- รัสเซียเปิดฉากยิงถล่มหลายเมืองทั่วยูเครนในวันนี้ ด้านยุโรประบุว่าการที่รัสเซียบังคับนำตัวเด็กชาวยูเครนไปรัสเซียถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ยูเครนและสื่อสังคมออนไลน์หลายแห่งระบุว่า กรุงเคียฟของยูเครนถูกยิงถล่มอย่างหนักในเช้าวันนี้ และมีเสียงไซเรนแจ้งเตือนภัยทางอากาศและเสียงระเบิดดังขึ้นในอีกหลายเมืองทั่วยูเครนในช่วงหลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา เช่น ดนีโปร เมืองใหญ่อันดับ 4 ที่อยู่ทางตะวันออก เครเมนชุกและโปลตาวาที่อยู่ทางตอนกลาง ไมโคลาอีฟที่อยู่ทางใต้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุบินไม่ทราบประเภทมุ่งหน้าไปยังตะวันตกของยูเครนด้วย นายกเทศมนตรีดนีโปรแจ้งว่า มีสตรีและบุตรชายวัย 3 ปีเสียชีวิตจากการโจมตีของรัสเซีย ด้านสภายุโรป ( Council of Europe) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในยุโรปที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรมออกมติเรียกร้องให้รัสเซียส่งเด็กชาวยูเครนกลับประเทศอย่างปลอดภัย เพราะการที่รัสเซียบังคับนำตัวเด็กไปรัสเซียซึ่งมีหลักฐานบันทึกยืนยันถือว่าเข้าข่ายคำนิยามของคำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนชื่นชมมตินี้ว่า เป็นการตัดสินใจอย่างสำคัญที่จะทำให้รัสเซียและผู้บรรดานำรัสเซียต้องถูกลงโทษ เพราะการเนรเทศเด็กชาวยูเครนไปรัสเซียเป็นหนึ่งในความพยายามของรัสเซียที่ต้องการกำจัดความเป็นตัวตนของชาวยูเครนและทำลายสิ่งสำคัญที่สุดของชาวยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ชาวเมียนมายื่นฟ้องกองทัพต่อศาลเยอรมนี

ชาวเมียนมากลุ่มหนึ่งยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลในเยอรมนี กล่าวหากองทัพเมียนมาในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก่ออาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ศาลยูเอ็นเดินหน้าดำเนินคดีเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเจ ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ลงความเห็นในวันศุกร์ว่า คดีสำคัญที่มีการกล่าวหาเมียนมาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา สามารถเดินหน้าต่อไปได้

โรฮิงญาในบังกลาเทศดีใจสหรัฐชี้ขาดเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ธากา 22 มี.ค. – ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศแสดงความยินดีที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกดขี่ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชายชาวโรฮิงญาวัย 60 ปี ที่ลี้ภัยอยู่ในค่ายแห่งหนึ่งในเขตค็อกบาซาร์ของบังกลาเทศเผยว่า ดีใจมากที่นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประกาศขณะกล่าวสุนทรพจน์ที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ว่า การปราบปรามของเมียนมาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยอ้างตามคำให้การที่มีการยืนยันเรื่องกองทัพเมียนมากระทำความโหดร้ายกับพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อชาวโรฮิงญา ชายคนนี้กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาทรมานชาวโรฮิงญาและชุมชนต่าง ๆ มานาน 60 ปีแล้วเริ่มตั้งแต่ปี 2505 เขาเชื่อว่าการประกาศของสหรัฐเปิดทางให้ประชาคมโลกสามารถดำเนินการกับเมียนมาได้ ด้านศูนย์เพื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยธากาในบังกลาเทศมองว่า การประกาศของสหรัฐถือเป็นก้าวเชิงบวก แต่จำเป็นต้องดูต่อไปว่า จะมีก้าวที่เป็นรูปธรรมติดตามมาหรือไม่ ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการประกาศของสหรัฐจะทำให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้รับการรับรองสถานภาพพลเมืองในเมียนมา คำถามพื้นฐานคือผู้ลี้ภัยที่อยู่ตามค่ายต่าง ๆ ในเขตค็อกบาซาร์ราว 1 ล้านคนจะได้กลับเมียนมาอย่างไรและเมื่อใด ทางศูนย์คาดว่า สหรัฐอาจใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเมียนมาเป็นมาตรการขั้นถัดไป และต้องรอดูว่าสหรัฐจะสนับสนุนกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกในกรุงเฮกที่กำลังไต่สวนเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาตามที่แกมเบียยื่นฟ้องหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

รัฐบาลไบเดนชี้ขาดเมียนมา “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” โรฮิงญา

วอชิงตัน 21 มี.ค.- รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐชี้ขาดอย่างเป็นทางการว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รอยเตอร์อ้างเจ้าหน้าที่สหรัฐที่ขอสงวนนามว่า นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจะประกาศการตัดสินใจในวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตัน ซึ่งกำลังจัดแสดงนิทรรศการว่าด้วยสถานการณ์เลวร้ายของชาวโรฮิงญา นายบลิงเคนให้คำมั่นขณะรับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 2564 ว่าจะทบทวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาในเมียนมา หลังจากนายไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศคนก่อนหน้าเขาไม่ตัดสินใจในเรื่องนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐและบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งรวบรวมหลักฐานนำเสนอให้รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวลานั้นเร่งยอมรับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องร้ายแรง เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยว่า นายบลิงเคนได้สั่งการให้วิเคราะห์เชิงกฎหมายและข้อเท็จจริง ผลการวิเคราะห์สรุปว่า กองทัพเมียนมากำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าการชี้ขาดอย่างเป็นทางการจะเพิ่มแรงกดดันของนานาชาติในการทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาต้องรับโทษและทำผิดได้ยากขึ้น คณะทำงานค้นหาความจริงของสหประชาชาติสรุปในปี 2561 ว่า ปฏิบัติการทางทหารในปี 2560 ที่รัฐบาลทหารเมียนมาอ้างว่าเป็นการปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย มีการกระทำที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal acts) แต่รัฐบาลสหรัฐในเวลานั้นระบุว่า เป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ซึ่งไม่มีคำนิยามทางกฎหมายในกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐใช้คำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” อย่างเป็นทางการเพียง 6 ครั้งกับเหตุสังหารหมู่ในบอสเนีย, รวันดา, อิรักและดาร์ฟูร์, เหตุกลุ่มรัฐอิสลามปองร้ายชาวยาซิดีและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ และการที่จีนปฏิบัติไม่ดีต่อชาวอุยกูร์และชาวมุสลิม.-สำนักข่าวไทย

“ปูติน” พูดเรื่องยูเครนและชาติตะวันตก

มอสโก 17 มี.ค.- ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียกล่าวปราศรัยล่าสุดเกี่ยวกับยูเครนและชาติตะวันตกเมื่อวานนี้ว่า การที่บรรดาประเทศตะวันตกยึดติดอยู่กับการครอบงำที่แตกสลายคือ ตัวขับเคลื่อนพื้นฐานที่ทำให้เกิดวิกฤติขณะนี้ เว็บไซต์รัสเซียทูเดย์หรืออาร์ที (RT) ซึ่งเป็นสื่อทางการรัสเซียรายงานว่า ประธานาธิบดีปูตินใช้การหารือกับผู้นำระดับภูมิภาคเรื่องมาตรการสนับสนุนทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย พูดเรื่องความขัดแย้งกับยูเครน สาเหตุของความขัดแย้งและเป้าหมายของรัสเซียว่า การเปิดปฏิบัติการทางทหารพิเศษเป็นทางเลือกเดียวที่รัสเซียเหลืออยู่ เพื่อยุติเหตุนองเลือดนานหลายปีทางภาคตะวันออกของยูเครน เพราะการจำกัดขอบเขตของรัสเซียไว้ที่สาธารณรัฐในภูมิภาคดอนบาสที่แยกตัวจากยูเครนจะเป็นเพียงการผลักดัน “แนวหน้า” ไปทางตะวันตกเท่านั้น ไม่สามารถปลดชนวนสถานการณ์ความขัดแย้งได้ พร้อมกับกล่าวหายูเครนว่า เตรียมเปิดฉากบุกครั้งใหญ่เพื่อรวบสาธารณรัฐที่แยกตัวไปกลับคืน ทำให้พลเรือนและเด็กเกือบ 14,000 คนถูกสังหาร อีกทั้งยังหาทางโจมตีคาบสมุทรไครเมียที่แยกตัวจากยูเครนในปี 2557 แล้วมารวมกับรัสเซียผ่านการลงประชามติ ยูเครนได้รับแรงยุจากสหรัฐและชาติตะวันตกให้เตรียมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในดอนบาส แต่กองกำลังรัสเซียสามารถทำลายแผนการเหล่านี้ ประธานาธิบดีปูตินกล่าวหายูเครนว่า ต้องการมีอาวุธทำลายล้างอย่างระเบิดนิวเคลียร์เพื่อใช้กับรัสเซีย มีเครือข่ายห้องทดลองปฏิบัติการที่ทำโครงการอาวุธชีวภาพ เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ โดยได้รับคำแนะนำและสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ รัฐบาลยูเครนที่มีตะวันตกเป็นเจ้านายได้เปลี่ยนยูเครนให้หันมาต่อต้านรัสเซียอย่างก้าวร้าว โดยไม่สนใจชะตากรรมของประชาชน และรับความช่วยเหลือทางทหารจากตะวันตกเพื่อให้การนองเลือดยืดเยื้อ ผู้นำรัสเซียระบุว่า ความปรารถนาของตะวันตกที่ต้องการคงไว้ซึ่งการครอบงำโลกคือ ต้นเหตุของวิกฤตในยูเครนและอีกหลายแห่งทั่วโลก วันนี้ทั้งโลกต้องสูญเสียให้แก่ความทะเยอทะยานของตะวันตกที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อคงไว้ซึ่งการครอบงำที่แตกสลาย ตะวันตกที่ห่วงแต่ผลประโยชน์และผลกำไรนำโลกเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยการตัดสินใจที่ผิดพลาดและตื้นเขินมาตลอดหลายปี เช่น การใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่กำลังส่งผลกระทบต่อคนทั่วไปในโลกตะวันตก แต่กลับพยายามโทษว่าเป็นความผิดของรัสเซีย อาร์ทีปิดท้ายรายงานด้วยการยกคำกล่าวของปูตินขึ้นเป็นข้อความตัวใหญ่ว่า เขาต้องการให้ชาวตะวันตกทั่วไปได้ยินคำพูดของเขาเช่นกัน การบอกกล่าวซ้ำ ๆ ว่าความลำบากในขณะนี้เป็นผลจากการกระทำที่เป็นปรปักษ์ของรัสเซีย และทางการต้องนำเงินของประชาชนมารับมือกับภัยของรัสเซียนั้น […]

รัสเซียกำลังหารือจริงจังเรื่องความเป็นกลางของยูเครน

มอสโก 16 มี.ค.- นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเผยว่า รัสเซียกำลังหารืออย่างจริงจังเรื่องสถานะความเป็นกลางของยูเครน นายลาฟรอฟให้สัมภาษณ์อาร์บีซีนิวส์ (RBC News) ที่เป็นช่องข่าวดาวเทียมและเคเบิลของสหรัฐในวันนี้ว่า การเจรจาสันติภาพกับยูเครนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีความหวังที่จะประนีประนอมกันได้ เรื่องที่กำลังมีการเจรจาอย่างจริงจังคือ สถานะความเป็นกลางของยูเครนและการรับรองเรื่องความมั่นคง รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียระบุว่า ประเด็นสำคัญได้แก่ความปลอดภัยของประชาชนทางภาคตะวันออกของยูเครน การทำให้ยูเครนเป็นประเทศปลอดทหาร และสิทธิของผู้พูดภาษารัสเซียในยูเครน ด้านยูเครนแสดงความเห็นเชิงบวกอย่างระมัดระวังต่อการเจรจาสันติภาพ โดยระบุว่าพร้อมเจรจาเพื่อยุติสงคราม แต่จะไม่ยอมจำนนหรือยอมรับการยื่นคำขาดของรัสเซีย ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียประกาศใช้ปฏิบัติการทางทหารพิเศษกับยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โดยกล่าวโทษสหรัฐว่า คุกคามรัสเซียด้วยการขยายองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการทหาร ให้มาทางฝั่งตะวันออกจนประชิดชายแดนรัสเซีย และว่าเขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องใช้ปฏิบัติทางการทหาร เพราะผู้พูดภาษารัสเซียในยูเครนตกเป็นเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชาตินิยมและนาซีใหม่ในยูเครนนับตั้งแต่รัสเซียผนวกคาบสมุทรไครเมียของยูเครนในปี 2557 ด้านยูเครนและชาติตะวันตกแย้งว่า ข้ออ้างของรัสเซียเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องไม่มีมูลความจริง.-สำนักข่าวไทย

เมียนมาจะขึ้นศาลโลกคดีโรฮิงญาโดยไม่มี “ซู จี”

เฮก 21 ก.พ. – รัฐบาลทหารเมียนมาจะส่งตัวแทนขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก แทนนางออง ซาน ซู จี ในวันนี้ เพื่อแถลงคัดค้านในเบื้องต้นต่อการไต่สวนสาธารณะในคดีที่เมียนมาถูกแกมเบียยื่นฟ้องในนามตัวแทนองค์กรประเทศมุสลิมว่า เมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา สื่อท้องถิ่นของเมียนมารายงานว่า ในการไต่สวนสาธารณะต่อคำคัดค้านที่เริ่มต้นขึ้นในวันนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาจะให้การคัดค้านว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าว และต้องยกฟ้องคดีนี้ก่อนที่จะไปถึงขั้นการพิจารณาคดีที่สำคัญ ทั้งยังระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้แต่งตั้งให้ โก โก หล่าย รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ ธิดา อู่ อัยการสูงสุดของเมียนมา เป็นตัวแทนคนใหม่ในการเข้าฟังการไต่สวนแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ในครั้งนี้ บุคคลทั้งสองถูกสหรัฐขึ้นบัญชีคว่ำบาตรจากเหตุรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ก่อนหน้านี้ นางซู จี เคยเป็นตัวแทนเมียนมาเพื่อโต้แย้งคำไต่สวนของศาลโลกเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2562 ก่อนที่จะถูกกองทัพเมียนมายึดอำนาจการปกครองในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ขณะนี้ นางซู จี ซึ่งถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนโจมตีว่ามีส่วนพัวพันกับคดีดังกล่าว ถูกควบคุมตัวอยู่ในบ้านพักและถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในหลายคดีที่ทำให้อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 150 ปี. -สำนักข่าวไทย

ศาลโลกจะไต่สวนคำค้านเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา

กรุงเฮก 20 ก.พ.- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะเปิดการไต่สวนสาธารณะต่อคำคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาที่ถูกแกมเบียยื่นฟ้องในนามตัวแทนองค์กรประเทศมุสลิมว่า เมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา การไต่สวนสาธารณะเป็นเวลา 4 วันจะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องผู้ที่จะขึ้นศาลในฐานะตัวแทนเมียนมา เนื่องจากนางออง ซาน ซู จี ที่เคยนำทีมกฎหมายเมียนมาขึ้นศาลโลกครั้งหลังสุด ถูกคุมขังตั้งแต่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาเผยว่า ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ 2 คนเป็นตัวแทนประเทศ ขณะที่กลุ่มวิจารณ์รัฐบาลทหารเมียนมาเห็นว่า ควรให้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติที่เป็นรัฐบาลพลเรือนเงาเป็นตัวแทนในศาลโลก ด้านรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเผยว่า ได้แต่งตั้งนายจ่อ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติเป็นตัวแทนทางเลือก และกำลังถอนคำคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาต่อศาลโลก ทนายความของแกมเบียได้แสดงภาพแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม และภาพกราฟฟิกต่อศาลโลกในการไต่สวนสาธารณะเมื่อปลายปี 2562 แจกแจงรายละเอียดสิ่งที่พวกเขาระบุว่าเป็นการฆาตกรรม ข่มขืน และทำลายล้างที่เทียบเท่ากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาที่ดำเนินการโดยกองทัพเมียนมา ครั้งนั้นศาลมีคำสั่งให้เมียนมาหาทางป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา เป็นคำสั่งชั่วคราวเพื่อปกป้องชาวโรฮิงญาในระหว่างที่กำลังมีการไต่สวนคดี ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาหลายปี.-สำนักข่าวไทย

เขียว สัมพัน แกนนำเขมรแดงที่เหลืออยู่คนเดียวขึ้นศาลอุทธรณ์

นายเขียว สัมพัน อดีตประมุขแห่งรัฐของเขมรแดง ซึ่งเป็นแกนนำคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ ขึ้นศาลวันนี้ เพื่ออุทธรณ์ที่ถูกศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศตัดสินว่ามีความผิดข้อหาฆ่าล้างเผ่าพัน

1 2 3 4
...