fbpx

รำลึก 30 ปี เหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กว่า 8 แสนคนในรวันดา

คิกาลี 7 เม.ย.- ประธานาธิบดีรวันดา รวมทั้งผู้นำทั้งอดีตและปัจจุบันจากหลายประเทศร่วมพิธีรำลึก 30 ปี เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาที่มีคนถูกสังหารมากกว่า 800,000 คน ประธานาธิบดีพอล คากาเมของรวันดาและภริยาเป็นประธานในการจุดไฟแห่งความหวังในงานรำลึกที่เรียกว่า คีบูกา (Kwibuka) แปลว่า การระลึกถึง ที่กรุงคิกาลีในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบ 30 ของการเริ่มต้นเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 2537 ที่ดำเนินไปจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2537 ประมาณกันว่า ในช่วงเวลาราว 100 วันนี้มีคนถูกสังหาร 491,000-800,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวทุตซี (Tutsi) ชาวฮูตู (Hutu) สายกลางบางส่วนและชาวทวา (Twa) ที่ถูกไล่ล่าสังหารโดยกองกำลังติดอาวุธชาวฮูตูที่เป็นคนส่วนใหญ่ของรวันดาซึ่งเป็นประเทศไม่มีทางออกทางทะเล ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา เหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวนี้เกิดขึ้นในช่วงท้ายของสงครามกลางเมืองในรวันดาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2533 และสิ้นสุดในวันที่ 18 กรกฎาคม 2537 ผู้นำทั้งอดีตและปัจจุบันของหลายประเทศมาร่วมพิธีรำลึกในวันนี้ด้วย เช่น อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันของสหรัฐที่ดำรงตำแหน่งปี 2536-2544 อดีตประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งปี 2550-2555 […]

เตรียมกดดันศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนแกนนำฮามาส

ท่าอากาศยานเบนกูเรียน 14 ก.พ.- ชาวอิสราเอลที่รอดชีวิตจากเหตุฮามาสบุกโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 และครอบครัวตัวประกันเตรียมเดินทางไปเรียกร้องให้อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซี (ICC) สอบสวนแกนนำฮามาส สมาชิกครอบครัวตัวประกันและผู้รอดชีวิตรวม 100 คนเตรียมตัวเดินทางจากท่าอากาศยานเบนกูเรียนของอิสราเอลไปยังไอซีซีที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ เพื่อยื่นคำร้องในนามเหยื่อชาวอิสราเอลต่ออัยการคาริม ข่านของไอซีซี อัยการข่านเคยระบุว่า ไอซีซีมีเขตอำนาจศาลต่อการก่ออาชญากรรมสงครามที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ฮามาสกระทำในอิสราเอลและอิสราเอลกระทำในฉนวนกาซา แม้ว่าอิสราเอลไม่ได้เป็นสมาชิกไอซีซี และไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลของไอซีซีก็ตาม การยื่นคำร้องนี้จะเป็นคำร้องล่าสุดจากหลายคำร้องที่ต้องการให้ข้อมูลแก่การดำเนินคดี และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันให้ไอซีซีดำเนินคดีกับแกนนำฮามาส คดีที่ไอซีซีเป็นคดีแยกต่างหากจากคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีผู้ยื่นร้องอิสราเอลต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเฮกเช่นเดียวกัน.-814.-สำนักข่าวไทย

จัดงานวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากล

กรุงเทพ 2 ก.พ.- สถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยจัดงานวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากลประจำปี 2567 วันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากลที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อรำลึกและเป็นเกียรติแก่ชาวยิว 6 ล้านคน ประกอบด้วยเด็ก 1 ล้านคนและกลุ่มผู้คนอื่นๆ อีก 5 ล้านคน ที่ถูกนาซีสังหารอย่างเป็นระบบและโหดเหี้ยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยได้จัดงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม เริ่มด้วยการจุดเทียน 6 เล่ม เพื่อรำลึกถึงชาวยิวผู้เสียชีวิต 6 ล้านคน โดยเอกอัครราชทูตอิสราเอล นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเยอรมนี ดร. แอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล และ นางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย หลังจากนั้น เป็นการกล่าวสุนทรพจน์โดยเอกอัครราชทูตเยอรมนี ในหัวข้อ “ทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และวิธีที่เยอรมนีนำการศึกษามาใช้เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก” ตามด้วย ดร. เกลน ชัทเทลิเอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึง “วิธีเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจเรื่องเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” พิธีจบลงด้วยสุนทรพจน์โดยเอกอัครราชทูตอิสราเอลที่กล่าวถึงผลอันเกิดจากความล้มเหลวในการจัดการศึกษาที่ดี […]

ศาลโลกสั่งอิสราเอลต้องป้องกันมิให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซา

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเจ ที่กรุงเฮก ของเนเอร์แลนด์ ออกคำสั่งให้อิสราเอลป้องกันการกระทำที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์และต้องดำเนินการมากกว่ารนี้ในการช่วยเหลือพลเรือน แต่ไอซีเจ ไม่ได้สั่งให้หยุดยิงตามที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องในคดีนี้ร้องขอ

อิสราเอลจะแก้ต่างเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อศาลโลกวันนี้

กรุงเฮก 12 ม.ค.- อิสราเอลจะให้การต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ในวันนี้ แก้ต่างข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้เรื่องปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในกาซาเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ แอฟริกาใต้ซึ่งยื่นฟ้องต่อศาลโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ร้องขอต่อองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกเมื่อวานนี้ ให้ออกมาตรการฉุกเฉินสั่งให้อิสราเอลระงับปฏิบัติการทางทหารในกาซาโดยทันที แอฟริกาใต้ระบุว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดินของอิสราเอลมีเป้าหมายเพื่อนำมาซึ่งการทำลายประชากรของกาซา ขณะที่อิสราเอลปฏิเสธข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่าไร้มูล และว่าแอฟริกาใต้กำลังทำตัวเป็นกระบอกเสียงให้แก่ฮามาสที่อิสราเอลมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่หาทางกำจัดรัฐอิสราเอล กองทัพอิสราเอลมุ่งเป้าหมายที่กลุ่มนักรบฮามาส ไม่ใช่พลเรือนชาวปาเลสไตน์ แอฟริกาใต้ยุคหลังสิ้นสุดการแบ่งแยกสีผิวได้ให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องของปาเลสไตน์มาโดยตลอด ความสัมพันธ์ของ 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์หรือพีแอลโอ (PLO) แสดงความสนับสนุนพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกาหรือเอเอ็นซี (ANC) ที่ต่อสู้กับการปกครองของกลุ่มคนผิวชาวที่เป็นชนส่วนน้อยของแอฟริกาใต้ คาดว่าศาลโลกจะมีคำตัดสินเรื่องมาตรการฉุกเฉินในเดือนนี้ แต่จะยังไม่ตัดสินเรื่องข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลานานหลายปี คำตัดสินของศาลโลกถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ศาลโลกไม่สามารถนำคำตัดสินไปบังคับใช้ได้.-814.-สำนักข่าวไทย

ศาลโลกจะไต่สวนวันนี้เรื่องอิสราเอลฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซา

กรุงเฮก 11 ม.ค.- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะเปิดการไต่สวนในวันนี้ในคดีที่แอฟริกาใต้ยื่นเรื่องฟ้องว่าอิสราเอลกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในกาซา ศาลโลกจะเปิดการไต่สวนเป็นเวลา 2 วัน (11-12 มกราคม) ในคดีที่แอฟริกาใต้ยื่นเรื่องเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2566 กล่าวหาอิสราเอลว่า ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 2491 ที่เริ่มบังคับใช้ในปี 2494 คำฟ้องหนา 84 หน้าของแอฟริกาใต้ระบุว่า อิสราเอลกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์จากการสังหารชาวปาเลสไตน์ในกาซา ทำให้พวกเขาได้รับอันตรายทางร่างกายและจิตใจ และจากการสร้างสภาพการณ์ที่คำนวณแล้วว่าจะนำมาซึ่งการทำลายทางกายภาพ แอฟริกาใต้และอิสราเอลเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ที่นิยามคำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ว่า เป็นการกระทำที่มีเจตนาจะทำลายกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มสีผิว หรือกลุ่มศาสนาทั้งหมดหรือบางส่วน การไต่สวน 2 วันนี้จะมุ่งพิจารณาเฉพาะเรื่องที่แอฟริกาใต้ร้องขอให้มีมาตรการฉุกเฉินในการสั่งให้อิสราเอลระงับการใช้ปฏิบัติการทางทหารในกาซา ส่วนการไต่สวนเรื่องคดีมีมูลหรือไม่เป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาหลายปี โฆษกรัฐบาลอิสราเอลแถลงเมื่อวันพุธว่า รัฐอิสราเอลจะขึ้นศาลโลกเพื่อหักล้างการหมิ่นประมาทที่ไร้สาระอย่างยิ่งของแอฟริกาใต้ เนื่องจากแอฟริกาใต้ให้ความคุ้มครองทางการเมืองและทางกฎหมายแก่ระบบฮามาสที่เป็นนักข่มขืน ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลโพสต์ผ่านเอ็กซ์ (X) ว่าอิสราเอลไม่มีเจตนาจะยึดครองกาซาอย่างถาวร หรือขับไล่พลเรือนในกาซา.-814.-สำนักข่าวไทย

ยูเครนสกัดโดรนรัสเซียโจมตีกรุงเคียฟครั้งใหญ่ที่สุด

ยูเครนเผยว่า ยิงโดรนโจมตีของรัสเซียตก 71 ลำ ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เป็นการโจมตีเมืองหลวงของยูเครนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564

อิหร่านย้ำอิสราเอลต้องหยุดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ทันที 

กรุงเทพฯ 23 พ.ย.– รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศอิหร่านจะหยิบยกเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ขึ้นหารือระหว่างเยือนไทย และเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์โดยทันที ดร. อาลี บาเกรี คานี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านซึ่งดูแลด้านกิจการเมือง แถลงเช้านี้ที่สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทยว่า ในการเยือนประเทศไทยครั้งนี้  จะหยิบยกประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ขึ้นหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย พร้อมทั้งย้ำว่า สิทธิอันชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ คือ การเป็นเจ้าของดินแดนปาเลสไตน์ แต่สิทธินั้นกำลังถูกทำลายโดยระบอบอิสราเอล การโจมตีอย่างไร้มนุษยธรรมของอิสราเอลทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในปาเลสไตน์จำนวนมากต้องเสียชีวิต โดยมากกว่าร้อยละ 60  เป็นเด็กและสตรี หากอิสราเอลยังไม่หยุดโจมตีอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จะยิ่งทำให้ไฟแค้นในใจชาวปาเลสไตน์รวมทั้งชาวโลกคุกรุ่นหนักขึ้น ดังนั้นอิสราเอลต้องยุติการกระทำอันเป็นการทำลายล้าง และหยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์ในทันที รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศอิหร่านเปิดเผยว่า ในช่วง 45 วันที่ผ่านมา อิหร่านใช้ความพยายามทางการทูต และใช้ทุกวิถีทางที่มีศักยภาพเพื่อที่จะหยุดการโจมตี อีกทั้งยังได้พยายามที่จะช่วยให้ตัวประกันชาวต่างชาติ รวมทั้งตัวประกันไทย ได้รับการปล่อยตัว โดยได้ประสานงานผ่านกลุ่มฮามาส ทั้งที่อยู่ในปาเลสไตน์ และในต่างประเทศ เช่น กาตาร์ เลบานอนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงท่าทีของประเทศมุสลิมว่า ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นสมรภูมิใด บรรดาชาติอาหรับไม่เคยผนึกกำลังร่วมกันอย่างแข็งขันเช่นนี้มาก่อน แต่นับจากที่ได้เห็นการกระทำอันป่าเถื่อนของอิสราเอลที่มีต่อประชาชนปาเลสไตน์ ทำให้ชาติมุสลิมต่างร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในปาเลสไตน์กันอย่างเต็มที่ และขอวิงวอนชาวโลก อย่านิ่งเงียบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะจะเท่ากับเป็นการสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์.-สำนักข่าวไทย

เหตุคลังน้ำมันระเบิดในคาราบัคตายเพิ่มเป็น 170 คน

รัฐบาลกลุ่มแยกดินแดนนากอร์โน-คาราบัค แจ้งว่า เหตุคลังน้ำมันระเบิดเมื่อวันจันทร์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 170 คน

โกดังน้ำมันระเบิดในนากอร์โน-คาราบัคตายเพิ่มเป็น 20 คน

เยเรวาน 26 ก.ย.- รัฐบาลกลุ่มแยกดินแดนนากอร์โน-คาราบัคแจ้งว่า เหตุคลังน้ำมันระเบิดเมื่อวันจันทร์มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 20 คนแล้ว รัฐบาลสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคหรือสาธารณรัฐอาร์ทซัค ซึ่งไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติเผยวันนี้ว่า พบศพในที่เกิดเหตุ 13 ศพ และมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต 7 คน ขณะที่ผู้บาดเจ็บราว 290 คนกำลังรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลายสิบคนยังคงอาการวิกฤต ด้านกระทรวงสาธารณสุขอาร์เมเนียแถลงว่า ได้ส่งทีมแพทย์ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังเมืองสเตฟาเนเกิร์ตที่เป็นเมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค ขณะที่ทำเนียบประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานแถลงว่า ได้ส่งทีมแพทย์ไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเช่นกัน เหตุคลังน้ำมันระเบิดเกิดขึ้นในขณะที่ชาวอาร์เมเนียพากันอพยพออกจากนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอาร์เซอร์ไบจาน รัฐบาลอาร์เมเนียเตือนว่า อาจเกิดการฆ๋าล้างเผ่าพันธุ์คนเชื้อสายอาร์เมเนีย หลังจากอาเซอร์ไบจานบุกโจมตีสาธารณรัฐนี้แบบสายฟ้าแลบเมื่อวันที่ 19 กันยายน และนับตั้งแต่มีคนหนีข้ามพรมแดนเข้ามาในอาร์เมเนียชุดแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน จนถึงขณะนี้รวมมากกว่า 13,000 คนแล้ว ขณะเดียวกันตัวแทนของอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเตรียมพบกันที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม โดยจะมีที่ปรึกษาการทูตของประธานคณะมนตรียุโรปเป็นประธานการหารือ และมีที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของฝรั่งเศสและเยอรมนีเข้าร่วมด้วย อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานทำสงครามแย่งชิงนากอร์โน-คาราบัค 2 ครั้งตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย พื้นที่นี้อยู่ในอาเซอร์ไบจานแต่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอาร์เมเนีย.-สำนักข่าวไทย

อาร์เมเนียในพื้นที่พิพาทหนีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

เยเรวาน 26 ก.ย.- ชาวอาร์เมเนียในพื้นที่พิพาทกับอาเซอร์ไบจานหลั่งไหลออกจากพื้นที่ด้วยความหวาดกลัวว่า จะถูกสังหารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พื้นที่พิพาทดังกล่าวคือ นากอร์โน-คาราบัค อยู่ในอาเซอร์ไบจาน แต่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์เมเนียที่อาศัยมานาน เดิมอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่เมื่อโซเวียตล่มสลายจึงได้เกิดการแย่งชิงกัน ทำสงครามกันมาแล้ว 2 ครั้ง  และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาร์เซอไบจานได้เปิดฉากโจมตีชาวอาร์เมเนียเสียชีวิตราว 200 คน อาร์เมเนียยอมจำนนและตกลงที่จะวางอาวุธ เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม อย่างไรก็ตาม ชาวอาร์เมเนียในพื้นที่ยังคงออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายพันคน โดยยอมละทิ้งบ้านเรือนเพราะเกรงว่า จะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อกำจัดคนเชื้อสายอาร์เมเนีย ทำให้ถนนต่าง ๆ มีรถยนต์ติดขัดเป็นทางยาว นายกรัฐมนตรีนิโคล ปาชินยาน ของอาร์เมเนียกล่าวหาว่า เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้นแล้วในนากอร์โน-คาราบัค รัฐบาลอาร์เมเนียกำลังพยายามประสานงานขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ และได้จัดเตรียมที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับผู้อพยพ 40,000 คน แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเพียงพอหรือไม่ ขณะเดียวกันชาวอาร์เมเนียในกรุงเยราวาน ยังคงประท้วงรัฐบาลอย่างรุนแรง เพราะไม่พอใจที่รัฐบาลอ่อนข้อให้อาเซอร์ไบจานมากเกินไปและกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก  เพราะทำให้ประเทศต้องสูญเสียเกียรติภูมิจากการถูกขับออกจากดินแดนบ้านเกิดตัวเอง.-สำนักข่าวไทย

รัสเซียโจมตีหลายเมืองทั่วยูเครนในวันนี้

เคียฟ 28 เม.ย.- รัสเซียเปิดฉากยิงถล่มหลายเมืองทั่วยูเครนในวันนี้ ด้านยุโรประบุว่าการที่รัสเซียบังคับนำตัวเด็กชาวยูเครนไปรัสเซียถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ยูเครนและสื่อสังคมออนไลน์หลายแห่งระบุว่า กรุงเคียฟของยูเครนถูกยิงถล่มอย่างหนักในเช้าวันนี้ และมีเสียงไซเรนแจ้งเตือนภัยทางอากาศและเสียงระเบิดดังขึ้นในอีกหลายเมืองทั่วยูเครนในช่วงหลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา เช่น ดนีโปร เมืองใหญ่อันดับ 4 ที่อยู่ทางตะวันออก เครเมนชุกและโปลตาวาที่อยู่ทางตอนกลาง ไมโคลาอีฟที่อยู่ทางใต้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุบินไม่ทราบประเภทมุ่งหน้าไปยังตะวันตกของยูเครนด้วย นายกเทศมนตรีดนีโปรแจ้งว่า มีสตรีและบุตรชายวัย 3 ปีเสียชีวิตจากการโจมตีของรัสเซีย ด้านสภายุโรป ( Council of Europe) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในยุโรปที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรมออกมติเรียกร้องให้รัสเซียส่งเด็กชาวยูเครนกลับประเทศอย่างปลอดภัย เพราะการที่รัสเซียบังคับนำตัวเด็กไปรัสเซียซึ่งมีหลักฐานบันทึกยืนยันถือว่าเข้าข่ายคำนิยามของคำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนชื่นชมมตินี้ว่า เป็นการตัดสินใจอย่างสำคัญที่จะทำให้รัสเซียและผู้บรรดานำรัสเซียต้องถูกลงโทษ เพราะการเนรเทศเด็กชาวยูเครนไปรัสเซียเป็นหนึ่งในความพยายามของรัสเซียที่ต้องการกำจัดความเป็นตัวตนของชาวยูเครนและทำลายสิ่งสำคัญที่สุดของชาวยูเครน.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4
...