ชัวร์ก่อนแชร์: CO2 จากลมหายใจสร้างสภาวะโลกร้อน จริงหรือ?

CO2 จากลมหายใจออกไม่ถือเป็นการเพิ่ม CO2 ต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก CO2 จากลมหายใจมาจากการกินอาหารซึ่งมีต้นกำเนิดจากการสังเคราะห์แสงของพืชที่ใช้ CO2 ในการเจริญเติบโต แม้ลมหายใจออกจะมีมีเทนและไนตรัสออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจก แต่ถือว่ามีในปริมาณที่น้อยมาก

ชัวร์ก่อนแชร์: ไม่ควรลด CO2 เพราะ CO2 ช่วยให้พืชเติบโตเร็วขึ้น จริงหรือ?

พืช C3 ต้องการ CO2 มากกว่าพืชชนิดอื่น แต่การเพิ่ม CO2 เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชในเรือนกระจกที่ปัจจัยด้านน้ำและดินมีความสมบูรณ์ ในธรรมชาติที่ปัจจัยด้านน้ำและดินมีอย่างจำกัด การเพิ่ม CO2 ในบรรยากาศจะนำมาซึ่งภัยแล้งและคลื่นความร้อน ส่งผลเสียต่อการเพาะปลูกโดยรวม

ชัวร์ก่อนแชร์: ชั้นบรรยากาศมี CO2 แค่ 0.04% ไม่จำเป็นลดปริมาณ CO2 จริงหรือ?

แม้ CO2 ในชั้นบรรยากาศจะมีเพียง 0.04% แต่ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โลกมีปริมาณ CO2 เพียง 0.028% CO2 ที่มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส หาก CO2 เพิ่มเป็น 0.05% อุณหภูมิโลกจะสูงมากกว่า 1.5 องศา และจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

ชัวร์ก่อนแชร์: ดวงอาทิตย์คือสาเหตุของสภาวะโลกร้อน จริงหรือ?

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกจากการโคจรของโลกกับดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุกหมื่น-แสนปี ต่างจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ร้อยปี นาซาไม่พบว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลกเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ไฟไหม้โฮสเทลในคาซัคสถาน ตาย 13 คน

สำนักงานสถานการณ์เหตุฉุกเฉินของคาซัคสถานแจ้งว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 คน จากเหตุเพลิงไหม้โฮสเทลแห่งหนึ่งในเมืองอัลมาตี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ

กองทัพแคนาดาร่วมปราบไฟป่า

กองทัพแคนาดาส่งกำลังพลไปยังภูมิภาคเหนือไกลในวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อช่วยควบคุมไฟป่าหลายร้อยจุดที่โหมไหม้หนักจนนักดับเพลิงไม่สามารถควบคุมได้

โลกสูญเสียป่าเท่า 1 สนามฟุตบอลทุก 5 วินาที

ปารีส 27 มิ.ย. – ผลวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมที่เผยแพร่ในวันนี้ระบุว่า ปี 2565 โลกสูญเสียป่าฝนคิดเป็นพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ หรือเทียบกับสูญเสียป่าขนาด 1 สนามฟุตบอล ในทุก 5 วินาที กลุ่มจับตาป่าโลก หรือโกลบอล ฟอเรสต์ วอทช์ สังกัดสถาบันทรัพยากรโลก หรือดับเบิลยูอาร์ไอ (WRI) เผยแพร่รายงานว่า ปี 2565 มีการทำลายป่าทั่วโลกมากกว่า 41,000 ตารางกิโลเมตร เป็นปีที่ป่าถูกทำลายมากเป็นอันดับ 4 ในรอบ 2 ทศวรรษ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2564 ทั้งที่ผู้นำโลกประกาศในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ที่กลาสโกว์ ในปี 2564 ว่าจะหยุดยั้งและพลิกฟื้นการสูญเสียป่าภายในปี 2573 รายงานระบุว่า การทำลายป่าเขตร้อนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 2,700 ล้านตัน เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในอินเดีย โลกกำลังสูญเสียป่าซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การค้ำจุนสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของคนหลายล้านคน เพราะพืชพรรณและดินช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 30 […]

อียูบรรลุข้อตกลงเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้า

บรัสเซลส์ 13 ธ.ค. – สหภาพยุโรป หรืออียู (EU) บรรลุข้อตกลงหลังจากเจรจากันตลอดทั้งคืน เรื่องเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) กับสินค้านำเข้าที่ก่อมลพิษ นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการเก็บภาษีลักษณะนี้ ผู้เจรจาของสมาชิกอียูและรัฐสภายุโรปบรรลุข้อตกลงเมื่อเวลา 05:00 น.วันนี้ตามเวลากรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม ตรงกับเวลา 10:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เรื่องกฎหมายเก็บค่าปล่อย CO2 กับการนำเข้าเหล็ก ซีเมนต์ ปุ๋ย อะลูมิเนียม ไฟฟ้า และไฮโดรเจน บริษัทที่นำเข้าสินค้าเหล่านี้เข้ามาในอียูจะต้องซื้อใบรับรองการปล่อย CO2 มีผลบังคับใช้ทั้งบริษัทนอกอียูและบริษัทในอียู ส่วนรายละเอียดของกฎหมาย เช่น กำหนดวันเริ่มบังคับใช้ จะมีการสรุปอีกครั้งในการเจรจาเรื่องการปฏิรูปตลาดคาร์บอนของอียู แกนนำการเจรจาเผยว่า ภาษีนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามต่อสู้โลกร้อนของอียู เพราะเป็นหนึ่งในกลไกที่อียูจะใช้จูงใจคู่ค้าให้ลดการปล่อย CO2 ในอุตสาหกรรมการผลิตของตนเอง และช่วยปกป้องอุตสาหกรรมของยุโรปที่ถูกตัดราคาจากสินค้าราคาถูกที่ผลิตโดยประเทศที่มีระเบียบสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวด ภาษีนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดนโยบายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอียูภายในปี 2573 ลงร้อยละ 55 จากระดับการปล่อยในปี 2533 ปัจจุบันบริษัทในอียูต้องซื้อใบอนุญาตปล่อย CO2 จากตลาดซื้อขายคาร์บอนของอียู แต่หลายอุตสาหกรรมไม่เสียค่าใบอนุญาต เนื่องจากอียูต้องการปกป้องไม่ให้ถูกกระทบจากการแข่งขันจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี อียูมีแผนจะทยอยยกเลิกการไม่เก็บค่าใบอนุญาตเมื่อทยอยนำการเก็บภาษีปล่อย CO2 มาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบขององค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอ […]

โควิดทำโลกปล่อยคาร์บอนต่ำสุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ลอนดอน 11 ธ.ค.- คณะนักวิจัยเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้ปีนี้โลกปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกลดลงมากที่สุดนับจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โกลบอลคาร์บอนโปรเจกต์หรือจีซีพี (GCP) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นในปี 2544 เพื่อวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกและค้นหาสาเหตุเผยผลการศึกษาว่า ปีนี้โลกปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 7 หรือลดลงถึง 2,400 ล้านตัน มากกว่าช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2552 ที่ปล่อยลดลงเพียง 500 ล้านตัน และมากกว่าช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ปล่อยลดลงไม่ถึง 1,000 ล้านตัน ยุโรปและสหรัฐปล่อยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 12 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรปล่อยลดลงถึงร้อยละ 15 และ 13 ตามลำดับเพราะมีการปิดเมืองสองระลอกที่รุนแรงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ส่วนใหญ่ลดลงจากภาคการขนส่ง ขณะที่ภาคการบินทั่วโลกซึ่งได้รับผลกระทบหนักมากจากโรคโควิด-19 คาดว่าปีนี้จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ถึงร้อยละ 40 ของปีก่อน อย่างไรก็ดี มีประเทศหนึ่งที่แนวโน้มการปล่อยจะกลับมานั่นคือจีน ผลการศึกษาคาดว่า ปีนี้จีนจะปล่อยลดลงร้อยละ 1.7 โดยลดลงมากที่สุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม แต่พบว่าแนวโน้มช่วงปลายปีกลับมาใกล้กับระดับการปล่อยเมื่อปีก่อน และอาจทำให้ปีนี้ทั้งปีจีนปล่อยเท่ากับปีก่อนทั้งที่มีการระบาด แวดวงนักวิทยาศาสตร์เตือนว่า การจะทำให้ได้ตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงสภาพภูมิอากาศปารีสปี 2558 โลกจะต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ปีละ 2,000 ล้านตันทุกปีตลอดช่วงทศวรรษหน้า.-สำนักข่าวไทย

...