เตรียมประท้วงทั่วฝรั่งเศสวันนี้

ปารีส 23 มี.ค.- สหภาพแรงงานในฝรั่งเศสเตรียมชุมนุมประท้วงทั่วประเทศครั้งใหม่ในวันนี้ หลังจากประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงยืนยันว่า จะดำเนินการตามแผนการปฏิรูประบบบำนาญภายในสิ้นปีนี้ แกนนำของซีจีที (CGT) ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานใหญ่สายแข็งกร้าวของฝรั่งเศสระบุว่า ประธานาธิบดีมาครงดูถูกเหยียดหยามประชาชนจำนวนมากที่กำลังประท้วงคัดค้านการปฏิรูประบบบำนาญ จากการให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ในช่วงเที่ยงวันพุธว่า เตรียมพร้อมที่จะไม่เป็นที่นิยมของประชาชน เพราะกฎหมายขยายอายุเกษียณขั้นต่ำจาก 62 ปี เป็น 64 ปี เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ ผู้นำฝรั่งเศสยืนยันว่า จะต้องดำเนินการตามมาตรการปฏิรูปภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสจะเป็นผู้ชี้ขาดเรื่องการปฏิรูประบบบำนาญว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ บริษัทเดินรถไฟแห่งชาติของฝรั่งเศสแจ้งยกเลิกการเดินรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดครึ่งหนึ่งในวันนี้ เนื่องจากมีข่าวว่า พนักงานจะนัดหยุดงานราว 1 ใน 3 และรถไฟชานเมืองเข้ากรุงปารีสจะงดให้บริการอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ขณะที่พนักงานเก็บขยะเทศบาลปารีสประกาศเดินหน้าการนัดหยุดงานไปจนถึงวันจันทร์หน้า ทำให้ขณะนี้ริมถนนเต็มไปด้วยกองขยะจำนวนมาก เช่นเดียวกับคนงานโรงกลั่นน้ำมันที่จะปิดกั้นทางเข้าออกโรงกลั่นต่อไป เสี่ยงทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง ขณะเดียวกันมีกระแสวิตกว่า สถานการณ์ในขณะนี้จะกระทบต่อหมายกำหนดการเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ของอังกฤษในวันอาทิตย์นี้หรือไม่ ซึ่งจะเป็นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศในฐานะกษัตริย์เป็นประเทศแรก.-สำนักข่าวไทย

ปตท. มุ่งพัฒนาศักยภาพ “ขยะ” ต่อยอดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า  

กรุงเทพฯ 6 ก.พ.-ปตท. มุ่งพัฒนาศักยภาพ “ขยะ” ต่อยอดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า  ใช้นวัตกรรมเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นทรัพยากรทดแทน ร่วมกับ 8 นักออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ   พร้อมร่วมขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ3 มิติ (BCG Model) ของประเทศไทย

อังกฤษจะห้ามใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

ลอนดอน 14 ม.ค.- อังกฤษจะห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ เพื่อจำกัดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงสิ่งแวดล้อมอังกฤษประกาศวันนี้ว่า กฎหมายใหม่จะห้ามการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ครอบคลุมพลาสติกหลากหลายประเภท รวมถึงของใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น จาน ช้อน ส้อม ถาด ถ้วย และกล่องใส่อาหาร ปัจจุบันอังกฤษใช้ของใช้บนโต๊ะอาหารแบบครั้งเดียวทิ้งมากถึง 2,700 ล้านชิ้นต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพลาสติก และมีเพียง 1 ใน 10 ชิ้นที่สามารถรีไซเคิลได้ ผู้ฝ่าฝืนหลายครั้งจะถือว่ากระทำความผิดอาญา และเสี่ยงถูกปรับ อย่างไรก็ดี กฎหมายใหม่จะไม่ครอบคลุมถึงอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่วางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ด้านรัฐบาลสกอตแลนด์และเวลส์ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกับอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือได้ออกกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ไปแล้ว ผู้จัดการเครือซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งเผยว่า ได้ลดการใช้พลาสติกแบบไม่จำเป็นอยู่แล้ว เช่น ใช้ช้อมส้อมไม้แทนพลาสติก การที่รัฐบาลออกกฎหมายห้ามจึงเป็นเรื่องน่าสนับสนุน ด้านนักรณรงค์ทางการเมืองของกลุ่มกรีนพีซฟอร์ยูเคมองว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลตัดสินใจห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ รัฐบาลจะต้องหยุดเอาใจอุตสาหกรรมพลาสติก หยุดส่งเสริมทางออกที่ผิด ๆ และหยุดขนขยะไปทิ้งในประเทศที่มีส่วนน้อยที่สุดในการทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

นิวเดลี 1 ก.ค.- อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่วันนี้ หวังแก้ปัญหาขยะพลาสติกอุดตันลำน้ำและเป็นพิษต่อสัตว์ในธรรมชาติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า จะเผชิญอุปสรรคจากผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมเปลี่ยนแปลง คำสั่งดังกล่าวครอบคลุมการห้ามการผลิต นำเข้าและจำหน่ายพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอดดูดน้ำ ภาชนะใส่อาหาร พลาสติกห่อซองบุหรี่ เจ้าหน้าที่จะออกตรวจตราในวันนี้ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้ หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ประกาศตั้งแต่ปี 2561 และเพิ่งมาผลบังคับใช้ ผู้ละเมิดจะมีโทษปรับสูงสุด 100,000 รูปี (ราว 44,935 บาท) หรือจำคุก 5 ปี ด้านอุตสาหกรรมพลาสติกที่จ้างงานคนหลายล้านคนเผยว่า การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และพยายามวิ่งเต้นให้รัฐบาลชะลอการบังคับใช้คำสั่ง พร้อมกับเตือนว่า คำสั่งนี้อาจทำให้อุตสาหกรรมพลาสติกเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเป็นการชั่วคราว และโรงงานจะขาดทุนเพราะลงทุนซื้อเครื่องจักรไปแล้ว อินเดียผลิตขยะพลาสติกปีละ 4 ล้านตัน ครึ่งหนึ่งเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ 1 ใน 3 ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล โดยไปตกค้างตามแม่น้ำและที่ทิ้งขยะที่มักมีปัญหาไฟไหม้และก่อมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารของวัวตาม 2 ข้างทาง และพบร่องรอยพลาสติกตกค้างในมูลช้างป่าทางเหนือของประเทศ.-สำนักข่าวไทย

เวียดนามหาทางลดนิสัยใช้ถุงพลาสติก

โฮจิมินห์ 6 มิ.ย.-สื่อเวียดนามเผยว่า รัฐบาลกำลังหาทางลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง แต่การห้ามใช้อย่างสิ้นเชิงดูเหมือนเป็นหนทางอีกยาวไกล เว็บไซต์เวียดนามเอ็กซ์เพรสส์รายงานว่า ร้านค้าแห่งหนึ่งในเทศบาลเมืองถู่ดึ๊กจัดเตรียมกล่องกระดาษฟรีให้แก่ลูกค้าที่มาซื้อของ หากลูกค้าต้องการถุงพลาสติกจะคิดราคาถุงละ 15,000-21,000 ด่ง (ราว 22-31 บาท) เป็นถุงที่สามารถย่อยสลายได้ ขณะที่ลูกค้าขาประจำก็สนับสนุนแนวทางนี้ อย่างไรก็ดี มีร้านค้าเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่แจกถุงพลาสติกให้แก่ลูกค้า และรัฐบาลกำลังหาทางเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเวียดนามประกาศเมื่อเดือนเมษายนว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในห้างสรรพสินค้าควรเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ หลังจากเมื่อเดือนมกราคมรัฐบาลได้ออกกฤษฎีกาแนะนำแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2563 ที่ห้ามผลิตถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งหลังปี 2573 ด้านร้านค้าย่อยชี้ว่า รัฐบาลควรหาทางออกให้ผู้ค้าขายของได้โดยไม่ต้องใช้ถุงพลาสติก เพราะลูกค้าไม่นำภาชนะมาใส่ ผู้ค้าของสดจึงจำเป็นต้องใส่ถุง 2 ชั้นเพื่อให้ลูกค้าพอใจ ส่วนถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ก็มีราคาแพงกว่าถุงพลาสติกทั่วไป ข้อมูลของกระทรวงฯ ระบุว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตในเวียดนามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเฉลี่ยวันละ 104,000 ใบ หรือราว 38 ล้านใบต่อปี ส่วนข้อมูลเมื่อปีที่แล้วระบุว่า ขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งในแต่ละวันเป็นขยะพลาสติกราวร้อยละ 7 หรือเกือบ 2,500 ตัน และแต่ละปีเวียดนามทิ้งขยะพลาสติกลงมหาสมุทรมากถึง 280,000-730,000 ตัน รัฐบาลเวียดนามสมัยนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุกออกแผนปฏิบัติการระดับชาติในปี 2562 […]

กำชับท้องถิ่นเฝ้าระวังไฟไหม้บ่อขยะ

นายกรัฐมนตรี มอบมหาดไทย กำชับท้องถิ่นเฝ้าระวังไฟไหม้บ่อขยะเข้มงวด โดยเฉพาะแหล่งกองขยะสะสมขนาดใหญ่ที่มักเกิดเหตุซ้ำ ป้องกันปัญหามลพิษกระทบชุมชน

รัสเซียยิงขีปนาวุธถูกที่ทิ้งขยะกัมมันตรังสีในยูเครน

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) เผยว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธถูกที่ทิ้งขยะกัมมันตรังสีในกรุงเคียฟของยูเครน แต่ยังไม่มีรายงานเรื่องความเสียหายหรือสิ่งบ่งชี้เรื่องสารกัมมันตรังสีรั่วไหล

ทส. – ศุลกากร จับผู้ลักลอบนำเข้าขยะ 14 ตู้คอนเทนเนอร์

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผย นำกำลังร่วมกับกรมศุลกากรเข้าตรวจตู้คอนเทนเนอร์ที่ด่านท่าเรือแหลมฉบัง พบขยะซึ่งนำเข้าผิดกฎหมายรวม 14 ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเร่งดำเนินคดีและส่งกลับประเทศต้นทาง

โควิดทำขยะพลาสติกเพิ่มจากการสั่งสินค้าออนไลน์

ครม.เห็นชอบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พบโควิด-19 สร้างปัญหาขยะพลาสติกเพิ่มจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และอาหารเดลิเวอรี

อ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวสู่การเป็น Zero wastes

โรงงานน้ำตาล ประกาศร่วมมือดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อลดกระทบด้านฝุ่นละออง น้ำเสีย หวังยกระดับอุตสาหกรรมก้าวสู่ Zero wastes

สตง.ตรวจพบหลากปัญหารายได้เก็บขยะของ อปท.

สตง. 13 พ.ค.-สตง. เข้าตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) พบไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามกฎหมายทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณในการบริหารการจัดเก็บและขนมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี และอาจส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเปิดเผยว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในปีงบประมาณ 2562 โดยสุ่มตรวจสอบ อปท. จำนวน 71 แห่งในพื้นที่ 70 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อปท.ให้ความสำคัญและเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอยได้อย่างครบถ้วน ทั่วถึง และเป็นธรรมรวมถึงเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง จากการตรวจสอบพบว่า อปท. จำนวน 67 แห่งคิดเป็นร้อยละ 94.37จัดทำประมาณการรายได้ค่าธรรมเนียมไม่ครอบคลุมจำนวนครัวเรือนที่ให้บริการเก็บและขนมูลฝอยโดยรายได้ที่จัดเก็บได้จริงไม่สัมพันธ์กับการจัดทำประมาณการรายได้ เช่น อปท. จำนวน 35 แห่ง ตั้งประมาณการรายได้ในปีงบประมาณ 2562 ไว้เท่ากับปีงบประมาณ 2561 แต่จัดเก็บรายได้จริงได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ถึง 13 แห่ง นอกจากนี้ ยังพบว่า อปท. จำนวน 51 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.83 สามารถระบุข้อมูลจำนวนครัวเรือนที่ให้บริการเก็บและขนมูลฝอยได้ แต่ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ จากครัวเรือนที่ให้บริการได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอยของ […]

คาดขยะติดเชื้อจากหน้ากากอนามัยพุ่ง หลังโควิดระลอกใหม่ระบาด

ทส. แนะการกำจัด “ขยะหน้ากากอนามัย” ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการระบาดของโควิดรอบใหม่ ขอความร่วมมือแยกทิ้งอย่างถูกวิธี

1 2 3 4 5 10
...