ยังไม่พบโควิดกลายพันธุ์ ทั้งมิวและC.1.2 ในไทย
กรมวิทย์ แจงยังไม่พบโควิดกลายพันธุ์ ทั้งมิวและC.1.2 ในไทย พร้อมชี้ WHO ยังจับตาสายพันธุ์ที่ห่วงกังวล แค่ 4 สายพันธุ์“อัลฟา-เดลตา-เบตา-แกมมา” เท่านั้น
กรมวิทย์ แจงยังไม่พบโควิดกลายพันธุ์ ทั้งมิวและC.1.2 ในไทย พร้อมชี้ WHO ยังจับตาสายพันธุ์ที่ห่วงกังวล แค่ 4 สายพันธุ์“อัลฟา-เดลตา-เบตา-แกมมา” เท่านั้น
นิวซีแลนด์รายงานวันนี้ว่า พบผู้เสียชีวิตรายแรกจากการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา และมีผู้ติดเชื้อรายวันอีก 20 ราย ทั้งหมดอยู่ในเมืองออคแลนด์ ซึ่งเป้นศูนย์กลางการระบาด
สำนักข่าวไทย 31 ส.ค.- กรมวิทย์ฯ ยันยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ C.1.2 ในไทย ขณะที่ศูนย์จีโนม รามาธิบดีแจงทั้ง WHO และ CDC ยันไม่ได้จัดลำดับความรุนแรงของเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงกรณีมีการแผยแพร่ข้อมูลถึงการค้นพบไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ C.1.2 ซึ่งกลายพันธุ์มากกว่าทุกสายพันธุ์เกือบ 2 เท่า พบในประเทศแอฟริกาใต้กว่าครึ่งประเทศและแพร่ไปอีก 7 ประเทศทั้งอังกฤษ จีน นิวซีแลนด์ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ คองโกและเมอริเชียส ว่า จากข้อมูลของ GISAID (จีเสด) ดูตำแหน่งการกลายพันธุ์ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะส่งผลต่ออาการรุนแรงหลังรับเชื้อมากน้อยแค่ไหน ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก เพียงแต่ดูจากรหัสพันธุกรรมที่เป็นคาดเดาได้บ้าง จึงมีความวิตกว่าจะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นหรือไม่ คงต้องพิจารณาองค์ประกอบปัจจัยต่างๆ รวมถึงการระบาดเป็นอย่างไร และตอนนี้ องค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกาหรือ CDC ยังไม่ได้ยืนยันความรุนแรงจนจัดลำดับความสำคัญกับสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตามสายพันธุ์แอฟริกาใต้ไม่ค่อยระบาดมาถึงไทย จึงยังไม่มีอะไรบ่งชี้น่ากังวลใจ เพียงแต่เฝ้าจับตา ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวด้วยว่า […]
พาไปทำความรู้จักกับ “วัคซีนโปรตีนซับยูนิต” ชนิดแรกของไทย ที่กำลังจะมีการทดลองในคนเฟสแรก ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ผลิตได้เร็ว และรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดได้อย่างดี
สายพันธุ์เดลตาครองเมืองแล้วเกือบ 100% อธิบดีกรมวิทย์ฯ ไม่แนะนำให้ตรวจหาภูมิคุ้มกันเอง นอกจากไม่ถูกต้อง ยังสร้างความสับสน
เยรูซาเลม 1 ส.ค.- บริษัทยาในอิสราเอลกำลังพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แบบรับประทาน เตรียมทดลองทางคลินิกระยะแรกในต้นเดือนสิงหาคมนี้ นาดาฟ คิดรอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของออราเมด (Oramed) กล่าวว่า ในขณะที่ประชากรโลกได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบโดสเพียงร้อยละ 15 การต่อสู้กับการระบาดนี้ยังอีกไกลกว่าจะสำเร็จ หากมีวัคซีนแบบรับประทาน ไม่ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์มาฉีดให้และสามารถจัดส่งถึงบ้านเรือนได้โดยตรง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพราะช่วยลดภาระด้านโลจิติกส์ลงได้มาก และอาจช่วยเพิ่มอัตราการรับวัคซีนในประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนบางส่วนลังเลที่จะรับวัคซีนแบบฉีด ผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ชาวอเมริกันเกือบ 19 ล้านคนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนยินดีรับวัคซีนแบบรับประทาน นอกจากนี้ยังช่วยลดขยะทางการแพทย์อย่างเข็มและหลอดฉีด พลาสติก และอาจมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ปัจจุบันมีวัคซีนแบบรับประทานน้อยมาก เช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแบบหยอด เนื่องจากวัคซีนส่วนใหญ่ไม่ทนทานต่อสภาวะกรดในระบบย่อยอาหาร ออราเมดเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบแคปซูลทนทานต่อสภาวะกรดดังกล่าว จึงได้ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ ออราแวกซ์ (Oravax) ผลิตวัคซีนต้านโควิดแบบรับประทาน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแคปซูลแบบเดียวกับแคปซูลอินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แคปซูลอินซูลินของออราเมดมีสารเคลือบคุณภาพสูงช่วยให้ละลายช้า มีตัวยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสในลำไล้เล็กไม่ให้ย่อยอินซูลิน และมีตัวกระตุ้นการดูดซึมอินซูลินเข้าไปในกระแสเลือด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะสุดท้ายกับผู้ป่วยจำนวนมากในสหรัฐ คาดว่าจะทราบผลได้ในเดือนกันยายน 2565 ส่วนวัคซีนที่จะกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโควิดจะเลียนแบบโครงสร้างสำคัญ 3 อย่างของเชื้อไวรัสประกอบด้วยโปรตีนส่วนที่เป็นหนามแหลม (spike protein) โปรตีนส่วนที่เป็นเปลือกหุ้ม (envelope […]
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ ซีดีซี ของสหรัฐ กล่าววานนี้ว่า การต่อสู้กับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งเป็นเพราะเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ที่ติดต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว พร้อมกับกล่าวอย่างชัดเจนเรื่องการบังคับฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และการกลับไปสวมหน้ากากอนามัย
กัวลาลัมเปอร์ 20 มิ.ย.- ผู้เชี่ยวชาญในมาเลเซียสันนิษฐานว่า สาเหตุที่ผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้น อาจเป็นเพราะติดเชื้อไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์ที่แพร่ได้ง่ายขึ้น เช่น สายพันธุ์เดลตาที่พบในอินเดียเป็นแห่งแรก ศ.อาวัง บัลกิบา อาวัง มาห์มุด ประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเรื่องยุทธศาสตร์และการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาโรคโควิด-19 ของรัฐบาลเผยกับหนังสือสเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ว่า ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการทรุดลงเร็วขึ้นเพราะไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์ แต่เนื่องจากไม่มีรายงานการชันสูตรพลิกศพ ทำให้ไม่ทราบว่าเสียชีวิตจากสาเหตุใด และไม่เห็นภาพความสามารถในการก่อโรคของสายพันธุ์ที่พบอยู่ในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้ออาจคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาจึงไม่ไปตรวจหาเชื้อ หรือไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาล ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ศ.อาวัง บัลกิบาแนะนำว่า รัฐบาลต้องเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้นจากวันละ 2 แสนโดสในขณะนี้เป็น 3 แสน-5 แสนโดส จึงจะลดการแพร่ระบาดจากผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการลงได้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียระบุว่า นับจนถึงวันที่ 14 มิถุนายนมีผู้ติดเชื้อที่ถูกระบุว่าเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลทั้งหมด 370 ราย ในจำนวนนี้ 195 รายหรือกว่าครึ่งเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย เทียบกับการระบาดในปีที่แล้วทั้งปีที่มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล 136 คน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 471 คนเมื่อปีก่อน เป็นกว่า 3,000 คนแล้วในปีนี้ ยอดติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปีก่อนกว่า 691,100 […]
กรุงเทพฯ 1 มิ.ย.- สจล. ผนึกแพทย์รามาฯ ผุดเอไอตรวจโควิดกลายพันธุ์ พบความถูกต้อง 99% พร้อมแสดงผลใน 30 วินาที ใน 3 ขั้นตอน รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า จากกรณีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวนมาก ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย โดยล่าสุดพบโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ในคลัสเตอร์ตากใบ จ.นราธิวาส และรักษาหายแล้วในเวลาต่อมา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของคณะทำงาน ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยี “เอไอตรวจโควิดกลายพันธุ์” หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซีร่า คอร์ (CiRA CORE) ที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.สามารถบ่งชี้สายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ได้ถึง 8 สายพันธุ์ อาทิ สายพันธุ์ B.1.1.7 จากอังกฤษ สายพันธุ์ B.1.351 จากแอฟริกาใต้ […]
สหภาพแรงงานแพทย์ญี่ปุ่น กล่าววันนี้เตือนว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นยังเดินหน้าจัดการแข่งขันโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียวในกลางปีนี้ตามกำหนดที่วางเอาไว้ ซึ่งจะมีนักกีฬาหลายหมื่นคนจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมการแข่งขัน อาจจะทำให้เกิดการพัฒนากลายพันธุ์ใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นสายพันธุ์ “โอลิมปิก” ได้
นายอาดัม บาบา รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย กล่าววันนี้ว่า มาเลเซียตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายแรกที่เป็นเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่พบในอินเดียเป็นแห่งแรก โดยพบคนไข้เพียงไม่กี่วันหลังจากสั่งห้ามเที่ยวบินจากอินเดียเข้าประเทศ
ฮ่องกงจะระงับเที่ยวบินจากอินเดีย ปากีสถานและฟิลิปปินส์มายังฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากที่ฮ่องกงตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ที่มีชื่อเรียกขานว่า เอ็น501วาย เป็นรายแรก