จ้างแรงงานกับกรมชลฯ ยอดทะลุ 4 หมื่นคน สนใจโทร 1460

“เกณิกา” เผย โครงการจ้างงานสร้างรายได้เสริมกับกรมชลฯ ยอดทะลุกว่า 4 หมื่นคน เชิญชวนเกษตรกรและประชาชนที่สนใจโทร 1460

2 อ่างเก็บน้ำ จ.มหาสารคาม เกินความจุ เร่งระบาย

กรมชลประทาน เร่งระบายน้ำอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานและอ่างเก็บน้ำห้วยคะคาง จ.มหาสารคาม หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำเกินความจุ ยืนยันสถานการณ์น้ำใน อ.เมือง ยังไม่อยู่ในภาวะวิกฤติ

เร่งสกัดน้ำอ่างฯ ห้วยเชียงคำ หลังน้ำกัดเซาะทำนบดินพังทลาย

อธิบดี​กรมชลประทาน​ สั่งด่วน เร่งปิดจุดทำนบดินบริเวณด้านข้างอาคารระบายน้ำล้นของอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ จ.​มหาสารคาม จากเหตุ​ฝนตกหนัก ส่งผลให้น้ำปริมาณ​มากกัดเซาะทำนบดินเสียหาย น้ำไหลทะลักไปยังพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ

กรมชลฯ เร่งซ่อมแนวป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา

นนทบุรี 11 มิ.ย. – กรมชลประทานกำชับผู้รับจ้างเร่งซ่อมแซมอาคารป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเชิงเลน อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรีที่ทรุดตัวลง ย้ำเสร็จทันช่วงน้ำหลาก สามารถป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ชุมชนริมตลิ่งได้แน่นอน นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางกล่าวว่า กำชับให้ผู้รับจ้างเร่งซ่อมแซมอาคารป้องกันตลิ่งบริเวณวัดเชิงเลน ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีที่ทรุดตัวลงเพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมชุมชนในฤดูน้ำหลาก สำหรับอาคารป้องกันตลิ่งดังกล่าว เป็นอาคารในโครงการป้องกันน้ำท่วมและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วัดแสงสิริธรรมถึง อาคารบังคับน้ำคลองวัดเชิงเลน 2 ยาวประมาณ 2.20 กิโลเมตร ทรุดตัวเป็นระยะทาง 75 เมตร กรมชลประทานเน้นย้ำให้ผู้รับจ้างเร่งนำเครื่องจักร-เครื่องมือเข้าไปซ่อมแซม โดยการใช้เหล็กเข็มพืด (Sheet plie) เสริมความมั่นคงแข็งแรงของตลิ่งตลอดแนว ระหว่างนี้ผู้รับจ้างสั่งหล่อเสาเข็มเพื่อซ่อมแซมอาคารป้องกันตลิ่งซึ่งทรุดตัวระหว่างก่อสร้างให้กลับมาใช้งานได้ก่อนที่ฤดูน้ำหลากจะมาถึง สาเหตุที่ของการทรุดตัว ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมกับสั่งการให้กรมชลประทานวางแผนเสริมความมั่นคงแข็งแรงอาคารป้องกันตลิ่งเพิ่มเติมในอนาคต . 512 – สำนักข่าวไทย

เร่งเก็บกักน้ำ ขอเกษตรกรรอฝนปลูกข้าวนาปี

กรุงเทพฯ 27 พ.ค. – กรมชลประทานระบุ เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 67 รองรับทั้งภาวะฝนทิ้งช่วงกลางเดือนมิ.ย. – กลางเดือนก.ค. ขณะเดียวกันเตรียมรับฝนตกชุกปลายฤดู เร่งเก็บกักน้ำต้นทุน สำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า พร้อมขอความร่วมมือเกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเตรียมแปลงปลูกข้าวนาปี นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานร่วมกับนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาแถลงถึงสถานการณ์น้ำในฤดูฝนและแผนบริหารจัดการน้ำ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า ขณะนี้สภาวะเอลนีโญอ่อนกำลังลงและจะเข้าสู่ภาวะเป็นกลางในเดือนมิถุนายน จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสภาวะลานีญากำลังอ่อนในเดือนกรกฎาคมซึ่งมีความน่าจะเป็นถึงร้อยละ 69 ดังนั้นช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมอาจมีฝนทิ้งช่วงบางพื้นที่ แต่กลางเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและตกชุกหนาแน่นบางพื้นที่ต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2567 นอกจากนี้ยังคาดหมายว่า ประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมอาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1 – 2 ลูก โดยปริมาณฝนรวมในฤดูฝนปีนี้จะใกล้เคียงกับค่าปกติ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศให้ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 67 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนดอย่างเคร่งครัด  พร้อมเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์และอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ควบคู่ไปกับการเก็บกัก รวมทั้งตรวจสอบอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกำหนดบุคลากร กำหนดพื้นที่เสี่ยง เตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือและระบบสื่อสารประจำพื้นที่ต่างๆ  เพื่อให้สามารถเข้าแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที  ที่สำคัญให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตามข้อสั่งการของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้กรมชลประทานพร้อมรับทั้งภาวะฝนทิ้งช่วงและฝนตกชุกหนาแน่น โดยจะบริหารจัดการน้ำอย่างประณีตรัดกุมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ […]

เร่งทำแนวกั้นน้ำกึ่งถาวรบริเวณพนังริมแม่น้ำเจ้าพระยาทรุด

นนทบุรี 14 พ.ค.- ปลัดกระทรวงเกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเร่งช่วยเหลือประชาชนบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา อ. บางกรวย จ. นนทบุรีซึ่งพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งทรุดตัวเป็นแนวยาว 50 เมตร โดยจะสร้างทำนบกึ่งถาวรเพื่อแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน อธิบดีกรมชลประทานยืนยัน ทำนบกึ่งถาวรเสร็จภายใน 1 เดือน สามารถป้องกันน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้ไหลเข้าที่อยู่อาศัยริมตลิ่งได้แน่นอน นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ตรวจสอบสภาพพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสูบน้ำบางกรวย ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยนายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานรายงานแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งในระยะเร่งด่วนจะเร่งทำคันดิน จากนั้นจะสร้างทำนบกึ่งถาวรด้านหลังพนังคอนกรีตที่ทรุดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าที่อยู่อาศัยริมตลิ่ง ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่พนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งทรุดตัวเป็นแนวยาว 50 เมตร จากนั้นกรมชลประทานจะเร่งสร้างพนังป้องกันตลิ่งถาวรให้เร็วที่สุด นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า การสร้างทำนบกึ่งถาวรจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนจึงอยากขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ ทำนบกึ่งถาวรดังกล่าว จะสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามาในช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนได้แน่นอน พร้อมกันนี้ขอความร่วมมือผู้ใช้เรือ ไม่ใช้พนังกั้นน้ำตลอดแนวในการผูกเรือเพื่อจอดเทียบเนื่องจากอาจทำให้โครงสร้างของพนังคอนกรีตเกิดการชำรุดได้ โครงสร้างพนังคอนกรีตแห่งนี้ ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2555 จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่า เกิดการชำรุดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับต่ำจึงเกิดการทรุดตัวลง ส่งผลให้ปัจจุบันปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถไหลผ่านพนังคอนกรีตที่ทรุดตัวเข้าคลองบางกรวยตามกระแสน้ำขึ้นลงได้ตลอดเวลา เบื้องต้นได้ติดป้ายประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่ใช้สัญจรเดินผ่าน […]

กรมชลฯ​ เร่งทำแนวกันตลิ่งชั่ว​คราวที่จุดทรุดตัว​บางกรวย

กรมชลประทานเร่งทำแนวป้องกันตลิ่งชั่วคราวบริเวณที่แนว​ป้องกัน​ตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา​ อ.​บางกรวย​ซึ่งใช้งานตั้งแต่ปี 2552 ทรุดตัว

กปน.-กรมชลประทาน เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนรอบใหม่ 5-15 พ.ค.นี้

กปน.-กรมชลประทาน เตรียมแผนรับมือน้ำทะเลหนุนรอบใหม่วันที่ 5-15 พ.ค.นี้ หลังช่วงปลายเดือน เม.ย. ทำให้น้ำเค็มเกินมาตรฐาน ส่งผลให้น้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนแปลงบ้าง มั่นใจทุกขั้นตอนผลิตน้ำประปาที่ต้นสถานีสูบน้ำดิบสำแลถึงผลิต 3 แห่ง น้ำประปามีคุณภาพสูง ขอให้ประชาชนสบายใจ และขอให้ตามข้อมูลคุณภาพน้ำสม่ำเสมอ

เขื่อนป่าสักฯ น้ำน้อย แต่มีพอจัดสรรตามแผนฤดูฝน

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.- กรมชลประทานระบุ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำเหลือ 14% เหตุไม่มีน้ำไหลเข้าตั้งแต่เข้าฤดูแล้ง ส่วนการระบายเพื่อเจือจางค่าความเค็ม เป็นเพียงช่วงสั้นๆ และปริมาณไม่มาก ยืนยันเพียงพอสำหรับจัดสรรเพื่ออุปโภคบริโภคตลอดฤดูฝน 67 อย่างแน่นอน ส่วนค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล ไม่เกินมาตรฐานการผลิตประปาแล้ว นายธเนศ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทานกล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มี 135 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุ โดยระบายน้ำเพื่อในอัตรา 40 ลบ.ม./วินาทีหรือวันละ 3.5 ล้านลบ.ม. โดยปรับเพิ่มจากช่วงก่อนหน้าเล็กน้อยเพื่อส่งไปเจือจางค่าความเค็มในห้วงน้ำทะเลหนุนสูงตั้งแต่วันที่ 8 – 11 พฤษภาคม ทั้งนี้ยืนยันว่า การใช้จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อเจือจางค่าความเค็มจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับที่ระบายไปไล่น้ำเค็มที่จังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการซึ่งตอนนั้นใช้น้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 5 วันประมาณ 5 ล้านลบ.ม. ปีนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำน้อยเนื่องจากตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้ง ไม่มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ แต่ยืนยันว่า วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดฤดูฝนปี 2567 ส่วนสถานการณ์ค่าความเค็มบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงช่วง 25-30 เมษายนทำให้เกินมาตรฐานที่ 0.50 กรัมต่อลิตรบางช่วงเวลา ขณะนี้คลี่คลายแล้ว […]

ปลัดเกษตรฯ เปิดส่งน้ำทำนาปีที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา แนะปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง

ชัยนาท 2 พ.ค. – ปลัดเกษตรฯ Kick Off เปิดการส่งน้ำเพื่อเตรียมความพร้อมการทำนาปี 2567 สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมแนะเกษตรกรปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ส่งเสริมปลูกพืชหลังนา พืชใช้น้ำน้อย เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่เปิดการส่งน้ำเพื่อเตรียมความพร้อม การทำนาปี 2567 โดยมีนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทานรายงานถึงความพร้อมส่งน้ำให้นาปีที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเปิดประตูระบายน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน 3 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 ปากคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลเทพ, จุดที่ 2 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ซ้าย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก  จุดที่ 3 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ขวา พร้อมแนะแนวทางการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งแก่ชาวนาเพื่อประหยัดน้ำในการเพาะปลูก สำหรับการทำนาปีนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก โดยการส่งน้ำให้ช่วงนี้ เป็นการส่งให้สำหรับเกษตกรในทุ่งลุ่มต่ำเพื่อจะเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนช่วงน้ำหลาก ส่วนนาในที่ดอนขอให้รอฝนตกสม่ำเสมอก่อนจึงค่อยเตรียมแปลง แล้วใช้น้ำชลประทานสนับสนุนซึ่งเป็นการวางแผนการใช้น้ำภาพรวมให้เพียงพอตลอดฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี 2567 ขณะเดียวกัน หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พร้อมสนับสนุน ส่งเสริมองค์ความรู้แก่เกษตรกรในด้านต่างๆ  ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ได้แก่ […]

“ธรรมนัส” สั่งคุมเข้มการส่งน้ำ รับแล้ง-ฝนทิ้งช่วง

กรุงเทพฯ 2 พ.ค. – รมว. เกษตรฯ สั่งชลประทานคุมเข้มการจัดสรรน้ำรับแล้งช่วงโค้งสุดท้าย เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดจะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนปลายเดือนพ.ค. ย้ำจะต้องลดการส่งน้ำในพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว พร้อมจัดรอบเวรรับน้ำอย่างเคร่งครัด กรมชลประทานขออย่าทำนาปรังรอบ 2 เหตุต้องสงวนสำหรับอุปโภคบริโภค พร้อมเร่งแก้ค่าความเค็มจุดสูบน้ำดิบสำแลที่ส่งน้ำเข้าระบบประปาของกทม. และปริมณฑล ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า สั่งการให้กรมชลประทานคุมเข้มการจัดสรรน้ำในระยะนี้เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคมซึ่งช้ากว่าค่าปกติ 1-2 สัปดาห์ ขณะนี้อุณหภูมิหลายพื้นที่ยังสูงอยู่มาก อีกทั้งภาวะโลกเดือดส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของทั่วโลกสูงขึ้นซึ่งไทยได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นคนไทยต้องปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพาะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือทำเกษตรประเภทอื่นทดแทนการทำนาซึ่งใช้น้ำมาก โดยกระทรวงเกษตรฯ จะส่งเสริมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ ตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้ง ได้ขอความร่วมมือมาตลอดว่า เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว ขอความร่วมมืองดทำนาปรังรอบ 2 โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาเนื่องจากกรมชลประทานจะลดการส่งน้ำเข้าระบบเพื่อสงวนน้ำไว้ใช้สำหรับรักษาระบบนิเวศและอุปโภคบริโภค เมื่อฝนจะมาช้าอาจต้องพิจารณาจัดรอบเวรรับน้ำเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝน รวมถึงสำรองกรณีฝนทิ้งช่วงด้วย นอกจากนี้ยังสั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเร่งทำฝนหลวงในพื้นที่ที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติการ ขณะที่กรมพัฒนาที่ดินต้องเร่งเจาะบ่อจิ๋วเพื่อคลี่คลายภัยแล้งด้วย สำหรับระยะนี้เป็นช่วงท้ายของสภาวะเอลนีโญ โดยในฤดูฝนจะเข้าสู่สภาวะลานีญาทำให้ปลายฤดูจะมีฝนตกมากกว่าค่าปกติ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อรองรับฝนที่จะตกลงมาเพื่อเก็บกักไว้เป็นน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งต่อไป นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยากล่าวว่า ชาวนาทุ่งลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11 ทุ่งสามารถทำนาปีได้แล้วตั้งแต่วานนี้ (1 พ.ค.) แต่พื้นที่ดอน ขอให้รอน้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่า […]

สทนช. เผยภัยแล้งไม่ขยายวงกว้าง ประกาศเขตภัยพิบัติ 4 จังหวัด

เลขาธิการ สทนช. ระบุภัยแล้งปี 67 ถือว่าไม่ขยายวงกว้าง โดยมีพื้นที่ที่ประกาศเขตภัยพิบัติแล้งเพียง 4 จังหวัด ส่วนสถานการณ์น้ำภาคตะวันออก ได้ประสานงานในการระบายน้ำให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

1 2 3 4 5 49
...