“เฉลิมชัย” แจงไม่ปกปิดโรค ASF ในหมู
“เฉลิมชัย” แจงไม่ปกปิดโรค ASF ในหมู ลั่นไม่ไว้หน้า หากพบ ขรก.เรียกรับผลประโยชน์เคลื่อนย้ายสัตว์ ยันพร้อมให้ความร่วมมือ ไม่ได้เล่นการเมืองเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ และไม่ปัดความรับผิดชอบ
“เฉลิมชัย” แจงไม่ปกปิดโรค ASF ในหมู ลั่นไม่ไว้หน้า หากพบ ขรก.เรียกรับผลประโยชน์เคลื่อนย้ายสัตว์ ยันพร้อมให้ความร่วมมือ ไม่ได้เล่นการเมืองเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ และไม่ปัดความรับผิดชอบ
ปลัดกระทรวงมหาดไทยสนองนโยบายนายกฯ สั่งด่วนผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาและควบคุมเนื้อหมูแพง หลังพบราคาสูงผิดปกติ พร้อมปรามผู้ประกอบการห้ามฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชน ฝ่าฝืนมีโทษหนัก และสั่งทุกจังหวัดเร่งสกัดโรค ASF
อธิบดีกรมปศุสัตว์เรียกเจ้าหน้าที่สารวัตรและด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรอย่างเข้มงวด รวมทั้งจะตรวจคัดกรองโรค ASF ทั้งที่ฟาร์มและโรงฆ่าเพื่อไม่ให้เนื้อของหมูที่ติดเชื้อออกจำหน่าย
อธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งทุกจังหวัดคุมเข้มการเคลื่อนย้าย “หมูมีชีวิต” เพื่อให้การควบคุมโรค ASF มีประสิทธิภาพสูงสุดและจะเป็นหลักฐานสำคัญในการขอคืนสถานภาพปลอดโรคจาก OIE โดยเร็ว หลังจากโรคสงบ ล่าสุดพบโรคแล้ว 3 พื้นที่
กรุงเทพฯ 10 ม.ค.- อธิบดีกรมปศุสัตว์ส่งตัวอย่างที่เก็บจากสุกรในฟาร์ม โรงเรือน และโรงฆ่าตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทราบผลใน 2-3 วันนี้ หากพบเชื้อ ASF ต้องประกาศเขตโรคระบาดและดำเนินการตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์อย่างเคร่งครัด นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ได้ส่งตัวอย่างที่เก็บจากสุกร โรงเรือน และโรงฆ่าพื้นที่ที่เลี้ยงสุกรหนาแน่น โดยในวันที่ 8 มกราคม สุ่มดำเนินการในจังหวัดราชบุรี 6 ฟาร์ม รวม 196 ตัวอย่าง วันที่ 9 มกราคมสุ่มดำเนินการในจังหวัดนครปฐม 4 ฟาร์ม 2 โรงฆ่า รวม 114 ตัวอย่างซึ่งสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์จะตรวจหาเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งจะทราบผลใน 2-3 วัน หากพบเชื้อ ASF จะประกาศเขตโรคระบาดสัตว์และดำเนินการตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์อย่างเคร่งครัด กรณีต้องทำลายสุกรเพื่อควบคุมโรคจะชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย รวมทั้งเฝ้าระวังโรคทั้งในฟาร์มสุกร โรงฆ่าสุกร สถานที่จำหน่ายเนื้อสุกร และสถานที่จำหน่ายอาหารสัตว์ รวมถึงเฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสุกร/หมูป่าที่มีชีวิตและซาก เคลื่อนย้ายสุกรภายในประเทศและระหว่างประเทศ เฝ้าระวังการลักลอบเคลื่อนย้ายทุกกรณีอย่างเข้มงวด […]
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฟาร์มสุกรทั่วประเทศเพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดโรคระบาดที่ทำให้สุกรตาย หากเป็นโรค ASF จริงจะดำเนินการตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ส่วนพื้นที่เสี่ยงต้องทำลายสุกรเพื่อควบคุมโรค พร้อมเน้นย้ำทุกฟาร์มให้จัดระบบป้องกันโรคภายในฟาร์มอย่างเคร่งครัด