โมเดอร์นาเผยฉีดวัคซีน 3 เข็ม กระตุ้นภูมิต้านโอไมครอนได้
วัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มกระตุ้นของโมเดอร์นามีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
วัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มกระตุ้นของโมเดอร์นามีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
เจนีวา 13 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา และทำให้วัคซีนป้องกันโรคโควิดมีประสิทธิภาพลดลง แต่เชื้อดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้ เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ระบาดไปยัง 63 ประเทศทั่วโลกนับถึงวันที่ 9 ธันวาคม และพบการระบาดอย่างรวดเร็วในแอฟริกาใต้ ซึ่งพบการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในระดับต่ำ และอังกฤษ ซึ่งพบการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในระดับสูง ทั้งยังระบุว่า ยังขาดข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอัตราแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็นเพราะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่น้อยลง การแพร่เชื้อที่รวดเร็วขึ้น หรือทั้งสองปัจจัยรวมกัน องค์การอนามัยโลกรายงานอ้างข้อมูลเบื้องต้นที่ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้วัคซีนป้องกันโรคโควิดมีประสิทธิภาพลดลงในด้านการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดยังชี้ว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจเข้ามาแพร่ระบาดแทนที่เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในชุมชนหลายแห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้เกิดอาการป่วยเล็กน้อย หรือไม่มีอาการป่วย แต่องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อดังกล่าว ขณะนี้ หลายประเทศที่มีปริมาณวัคซีนโควิดเพียงพอ เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส ต่างสนับสนุนให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน.-สำนักข่าวไทย
ไฟเซอร์/ไบออนเทค เผยเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดของไฟเซอร์ครบ 3 เข็มมีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้
เจนีวา 25 พ.ย. – องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 40 พร้อมทั้งเตือนให้ผู้คนทั่วโลกเลิกเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนโควิดทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสล้วนเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว แต่ที่จริงแล้วผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ยิ่งเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้มากขึ้น ก็หมายความว่าวัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันลดลง ดร.ทีโดรส ยังระบุว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าวัคซีนจะทำให้การระบาดของโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง และผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค แม้วัคซีนจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ 100% ทั้งยังอ้างข้อมูลที่ระบุว่า ก่อนหน้านี้ วัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 60 แต่หลังเกิดการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาก็มีประสิทธิภาพลดเหลือเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ดร.ทีโดรส ยังเน้นย้ำว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสหมายถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่ออาการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสจึงต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และไม่ควรออกไปพบผู้อื่นนอกบ้านโดยไม่จำเป็น.-สำนักข่าวไทย
ไฟเซอร์/ไบออนเทค เผยเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไฟเซอร์ยังคงมีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิดได้ 100% ในเด็กอายุ 12-15 ปี หลังฉีดวัคซีนครบโดสเป็นเวลา 4 เดือน
นิวเดลี 12 พ.ย. – วารสารการแพทย์เดอะแลนเซต เผยผลการวิจัยที่ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่พัฒนาโดยสภาวิจัยการแพทย์แห่งอินเดียและภารัต ไบโอเทค บริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘โควาซิน’ มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 ได้ร้อยละ 77.8 เดอะแลนเซตระบุในรายงานว่า วัคซีนโควาซิน ซึ่งใช้เทคโนโลยีวัคซีนเชื้อตาย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีหลังฉีดวัคซีนครบสองโดสเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และไม่พบผู้เสียชีวิตหรือผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่มีความเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนดังกล่าวในการทดลองแบบสุ่มที่มีอาสาสมัครชาวอินเดียอายุ 18-97 ปีเข้าร่วมจำนวน 24,419 คนในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2563 ถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวระบุว่า จำเป็นต้องศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควาซินในระยะยาวต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในด้านการป้องกันอาการป่วยหนัก การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต รวมถึงประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาและเชื้อโควิดที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภารัต ไบโอเทค และสภาวิจัยการแพทย์แห่งอินเดีย สอดคล้องกับการเปิดเผยประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควาซินของภารัต ไบโอเทคในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศรับรองการใช้วัคซีนโควาซินเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว.-สำนักข่าวไทย
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี เผยผลการวิเคราะห์ที่ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไฟเซอร์/ไบออนเทค มีประสิทธิภาพป้องกันอัตราป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้สูงถึงร้อยละ 93 ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 12-18 ปี
สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN) ของสหรัฐวิจารณ์สื่อสายอนุรักษ์นิยมบางแห่งว่า นำข่าวการเสียชีวิตของพลเอกโคลิน พาวเวลล์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ มาบิดเบือนให้คนสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19
ผลวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์แลนเซต ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของไฟเซอร์/ไบออนเทค มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดเหลือร้อยละ 47
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของรัสเซีย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สปุตนิก-วี มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ร้อยละ 83 ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยระบุว่ามีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 90 ในเดือนมิถุนายน
โจฮันเนสเบิร์ก 6 ส.ค. – แอฟริกาใต้ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตาที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ได้ร้อยละ 67 และป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาที่พบครั้งแรกในอินเดียได้ร้อยละ 71 เกล็นดา เกรย์ ประธานสภาวิจัยการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ (SAMRC) เผยผลการศึกษาที่ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตาได้ร้อยละ 67 และป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ร้อยละ 71 ทั้งยังมีประสิทธิภาพป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้สูงถึงร้อยละ 91-96 ซึ่งยืนยันได้ว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแอฟริกาใต้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เกรย์ยังระบุเพิ่มเติมว่า ผลการศึกษาดังกล่าวอ้างอิงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแอฟริกาใต้ 477,234 คนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และเสร็จสิ้นการวิจัยในเดือนพฤษภาคม ก่อนหน้านี้ หน่วยงานสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ได้อนุมัติใช้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันในเดือนเมษายน และนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้เป็นวัคซีนหลักในโครงการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนร่วมกับวัคซีนของไฟเซอร์ โครงการฉีดวัคซีนของแอฟริกาใต้ต้องสะดุดปัญหาในเดือนกุมภาพันธ์หลังรัฐบาลสั่งหยุดใช้วัคซีนของแอสตราเซเนกา เนื่องจากผลการทดลองขนาดเล็กพบว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพป้องกันอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางจากเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตาที่กำลังระบาดหนักในช่วงนั้นได้ไม่ดีพอ ขณะนี้ แอฟริกาใต้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนกว่า 8.3 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 58 ล้านคน โดยมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 2.4 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 73,800 คน.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 5 ส.ค. – โมเดอร์นา อิงค์ เผยเมื่อวานนี้ตามเวลาท้องถิ่นว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของบริษัทยังคงมีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 93 เป็นเวลาหกเดือนหลังฉีดวัคซีนครบสองโดส และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับผลการทดลองทางคลินิกที่เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้ นายสตีเฟน โฮก ประธานบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ กล่าวว่า วัคซีนของโมเดอร์นายังคงมีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 93 เป็นเวลาหกเดือนหลังฉีดวัคซีนครบสองโดส โดยใช้ข้อมูลที่ครอบคลุมถึงเดือนมีนาคม และวัคซีนของบริษัทยังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิม นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพป้องกันอาการรุนแรงของโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 98 และป้องกันการเสียชีวิตได้เต็มร้อย ทั้งยังคาดว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่วงฤดูหนาวนี้ อย่างไรก็ดี ขณะนี้บริษัทยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาที่พบครั้งแรกในอินเดียและแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วจนทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ในขณะเดียวกัน นายสตีเฟน แบนเซล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ เผยว่า บริษัทจะไม่สามารถผลิตวัคซีนได้ราว 800-1,000 ล้านโดสตามเป้าที่เคยตั้งไว้ในปีนี้ได้ และจะปิดรับคำสั่งซื้อวัคซีนสำหรับปีนี้ เนื่องจากเกินกำลังการผลิตของบริษัท ทั้งนี้ ข้อมูลครั้งล่าสุดของโมเดอร์นามาจากการทดลองทางคลินิกที่มีผู้เข้าร่วมราว 30,000 คนที่เคยใช้ยื่นขออนุมัติใช้วัคซีนเป็นกรณีฉุกเฉินในเดือนธันวาคมปีก่อน.-สำนักข่าวไทย