ชัวร์ก่อนแชร์ : พายุไต้ฝุ่นจ่อถล่มไต้หวัน ก่อนเข้าไทย ทำกทม. น้ำท่วมหนักกว่าปี 54 จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “พายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่จ่อถล่มไต้หวัน ก่อนเคลื่อนเข้าไทย ทำให้กรุงเทพฯ น้ำท่วมหนักกว่าปี 54“ นั้น บทสรุป ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยัน เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลือและเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อน ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง และข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่จากบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ หรือหน่วยงานที่แจ้งเตือนภัยธรรมชาติโดยตรง อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการติดตามและคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในขณะนี้มีพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ 1 ลูก เป็นพายุหมุนเขตร้อนมีความรุนแรงอยู่ในระดับพายุโซนร้อน ชื่อ “ชีมารอน” (CIMARON) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับต่อไป และจะมีการก่อตัวของความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นและจะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวัน ในขณะที่มี “ความกดอากาศสูง” หรือ “มวลอากาศเย็นกำลังแรง” จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และแผ่ลงมาต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรกๆ หลังจากนั้นอากาศเย็นลงพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่ออากาศของประเทศไทยโดยตรง ถึงแม้ว่าความกดอากาศสูงจะอ่อนกำลังลง พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้านตะวันออกมากขึ้น จะไม่เคลื่อนลงมาทางประเทศเวียดนาม และทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย หรือไม่พายุนี้ก็อาจจะอ่อนกำลังลงก่อนขึ้นฝั่ง จึงขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศในระยะนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่วงถ่ายฤดูกาล อากาศอาจจะมีความแปรปรวนในบางวัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังข้าวสารถุง ผสมข้าว 10 ปี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ภาพและข้อความ “ข้าวเบญจรงค์ขายข้าว 10 ปี มีเมล็ดเหลืองปน บนถุงมีการคาดสีแดง” นั้น บทสรุป ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊ก Benjarong Rice – ข้าวเบญจรงค์ ได้ออกจดหมายยืนยันว่า ข้อความที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยทางบริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าข้าวสารบรรจุถุงตราข้าวเบญจรงค์ ไม่ได้เข้าร่วมประมูลข้าวรัฐบาลและไม่ได้มีการซื้อขาย รวมทั้ง ไม่มีการนำข้าวสารจากการประมูลดังกล่าวมาผลิตสินค้าข้าวสารบรรจุถุง และขอยืนยันว่า ทางบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลและมุ่งมั่นผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐานมาโดยตลอด “ทางบริษัทฯ ขอให้หยุดส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จ และขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินคดีตามกฎหมายถึงที่สุดสำหรับผู้มีเจตนาสร้างและส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จ เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นในสินค้าและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ อย่างร้ายแรง” บริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด ระบุในแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ทั้งนี้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้รายงานผลการเปิดประมูลข้าวสารหอมมะลิปริมาณ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จีนประกาศน้ำอัดลมดัง เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ จีนประกาศ Coca-Cola ไม่ใช่เครื่องดื่มสำหรับบริโภค แต่เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factcrescendo ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยพบว่า บทความที่แชร์กัน มาจากเว็บไซต์ของรัสเซีย Panorama.pub ที่มีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า  “Coca-Cola จะขายเป็นน้ำยาทำความสะอาดท่อในจีน” ในปี 2561 โดยเนื้อหาของบทความมีความคล้ายคลึงกับข้อความที่แชร์กันในปัจจุบัน เว็บไซต์ Panorama.pub เป็นที่รู้จักในฐานะเว็บไซต์บทความเสียดสี รวมถึงในตอนท้ายของบทความ ยังมีป้ายกำกับระบุว่า  “ข้อความทั้งหมดในเว็บไซต์นี้เป็นการล้อเลียนและไม่ใช่ข่าวจริง ด้านบริษัท Coca-Cola เคยออกมายืนยันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า  เครื่องดื่มโค้กมีปริมาณกรดที่ปลอดภัยต่อการดื่ม เช่นเดียวกับอาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ซึ่งกรดในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่เข้มข้นมากพอที่จะทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย และกรดในกระเพาะอาหารตามธรรมชาติ มีความเป็นกรดมากกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมอีกด้วย  นอกจากนั้นยังพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง Snopes ได้ตรวจสอบบทความเกี่ยวกับเครื่องดื่มน้ำอัดลมในหลายประเด็น อาทิ  Coca-Cola  จะทำให้ลิ้นเสียการรับรส (ไม่จริง)  Coca-Cola  ป้องกันการตั้งครรค์ได้ (ไม่จริง)  Coca-Cola […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ เสี่ยงระเบิดได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าไปในลิฟต์ เพราะประจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก จนระเบิดได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น ที่เขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ในปี 2564 ส่วนสาเหตุการระเบิด ไม่ได้เกิดจากการนำแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์แต่อย่างใด เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการชาร์จหรือการคายประจุเท่านั้น ดังนั้น การระเบิดอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดัดแปลงแบตเตอรี่ หรือมีความร้อนสูงเกินไป นอกจากนั้น ยังพบรายงานเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากการดัดแปลงแบตเตอรี่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอาจลุกไหม้ได้ หากความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในการผลิต การใช้งานผิดวิธี ความเสียหายจากภายนอก ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้เกิดการระเบิดภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอนั้น ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ อ้างอิง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดียไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า ยังไม่พบรายงานว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์บลูทูท (RF EMFs) สามารถรบกวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากรถไฟ (EMFs) ได้ และทั้งสองต่างอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี นั้น📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นเอกสารจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับเพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ยืนยันว่า เอกสารที่มีการแชร์กัน เป็นเอกสารจริง โดยเป็นใบแจ้งเตือนให้ชำระค่าไฟฟ้า ตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 มีระยะเวลาในการชำระค่าไฟ นับตั้งแต่วันที่จดหน่วย รวม 21 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สามารถเข้างดจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการส่งใบแจ้งเตือนให้กับทางผู้ใช้ไฟก่อนจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า 18 มีนาคม 2567 – เพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ลงรูปประชาสัมพันธ์ ความแตกต่างระหว่าง ใบแจ้งค่าไฟฟ้า กับ ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ ใบแจ้งค่าไฟฟ้าและใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับตามรอบการใช้ไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาในการชำระเงินตามวันที่ระบุในใบแจ้งค่าไฟฟ้า 10 วัน ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ เป็นการแจ้งเตือนกรณีมีค่าไฟฟ้าค้างชำระ จะจัดส่งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากวันครบกำหนดในใบแจ้งค่าไฟฟ้า มีกำหนดชำระเงิน 7 วัน 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด  พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นจดหมายจริงของกรมสรรพากร 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาเดียวกับที่เผยแพร่บน เว็บไซต์ และ เพจเฟซบุ๊ก ของกรมสรรพากร โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ช่องทางการยืนยันตัวตนเพื่อยื่นแบบเสียภาษีออนไลน์ และไม่มีองค์ประกอบที่ถือเป็นความเสี่ยงจากการปลอมแปลงของมิจฉาชีพ ทั้ง Qr code หรือ Link อย่างไรก็ตามศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้สอบถามไปยังผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีบางท่าน ก็ได้รับจดหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จดหมายดังกล่าวจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า ถูกส่งมาจากมิจฉาชีพ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 2 มีนาคม 2567ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ข้อความที่แชร์กัน ใครที่ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรให้ยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล ไอดี ตั้งสติอย่าทำตาม เป็นจดหมายจากมิจฉาชีพที่ทำได้เสมือนจริงว่ามาจากสรรพากร

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็น QR CODE จริง เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บนเว็บไซต์ของสำนักงานศาลปกครอง ยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง โดยเป็นแบบสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง ทั้งนี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า สำนักงานศาลปกครองได้ปิดรับแบบสำรวจฯ เนื่องจากได้จำนวนครบที่ต้องการแล้ว 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ใบสั่งจราจร  ไปรษณีย์ไทย ธนาคารกสิกรไทย 👉 สำหรับกรณีที่ “สแกนแล้ว ถูกดูดเงินในบัญชีจนหมดบัญชี” ในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอป หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินปลาแถมปรอท จริงหรือ ?

26 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า เชยแล้ว “กินปลาแล้วฉลาด” เพราะสมัยนี้ “กินปลาแถมปรอท” น่าตกใจ ไทย อันดับ 9 ของโลกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร​์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากคลิปเป็นการนำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง มีการตัดต่อคำพูดจนทำให้ผู้บริโภคตระหนกตกใจ” สารปรอท มักพบปนเปื้อนอยู่ใน อากาศ น้ำ และดิน สาเหตุมาจากการเผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสารปรอทสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายรูปฟอร์ม ได้แก่  Methyl Mercury และ Ethyl Mercury ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ปรอททั้งหมดในปลา ก็ไม่ได้พบค่าปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่าการรับประทานปลาของคนไทยยังคงมีความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ พบปลาหน้าเหมือนมนุษย์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด [เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and […]

1 2 3 5
...