ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินแก้ตาเหลือง จริงหรือ ?

17 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำวิตามินที่มีส่วนประกอบของ วิตามินเอ ลูทีนและซีแซนทีนกินแล้วช่วยแก้อาการตาเหลือง และทำให้ตาใสแจ๋วไม่พร่ามัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า อาการตาเหลือง เป็นอาการของโรคดีซ่าน การทำงานของตับและท่อน้ำดีผิดปกติ สีเหลืองเกิดจาก มีการสะสมของสารบิลิรูบินอยู่มากเกินไป ใครที่มีอาการตาเหลือง อ่อนเพลียร่วมด้วย สามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นดีซ่าน หรือตาเหลืองโรคตับ แชร์ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบของวิตามินเอ ลูทีน (Lutein) 20% และซีแซนทีน (Zeaxanthin)  20% ช่วยแก้อาการตาเหลืองได้ จริงหรือ ? แพทย์กล่าวว่า สารแต่ละตัวที่ระบุไว้ มีคุณสมบัติเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคตาเหลือง หรือป้องกันตาพร่ามัวได้ วิตามินเอ ช่วยการทำงานจอประสาทตา ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นน้อยมาก ในอาหารทั่วไปที่เรากินอยู่มีมากกว่านั้นหลายเท่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารที่มีผลทางการแพทย์ ช่วยชะลอ ยับยั้ง ไม่ให้เกิดการลุกลามของภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ แพทย์แนะนำวิธีปรับและลดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อดวงตา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วุ้นมะพร้าวทำจากกระดาษหรือพลาสติก จริงหรือ ?

13 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือน ระวังเครื่องดื่มผสมวุ้นมะพร้าว เทตากแดดไว้คืนเดียว แห้งเป็นแผ่น เหมือนกระดาษหรือพลาสติกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสมชาย สิขันธกบุตร ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท ทวีผลผลิตภัณฑ์ จำกัด วุ้นมะพร้าว เป็นวุ้นที่ได้จากกระบวนการหมักเช่นเดียวกับการผลิตน้ำส้มสายชู โดยนำน้ำมะพร้าวแก่มาใส่เชื้อ Acetobacter Xylinum  มาผ่านกระบวนการผลิต ในขณะที่เชื้อเจริญเติบโตจะสร้างแผ่นวุ้นที่เป็นเซลลูโลส (cellulose) ที่มีเส้นใยอาหารรวมตัวกัน ลักษณะมีสีขาว เป็นแผ่นหนา ในระดับอุตสาหกรรมมีการแปรรูปวุ้นมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นำไปตัดเป็นขนาดพอดีคำ และนำไปผสมกับน้ำผลไม้ ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ ก่อนบรรจุลงขวด ดังนั้น วุ้นมะพร้าวเป็นเซลลูโลสที่กินได้ ไม่ได้ทำจากกระดาษหรือพลาสติกตามที่แชร์กัน จึงไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด *หมายเหตุ : เนื้อหาชิ้นนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตร ภายใต้กรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ โดยไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทผู้ผลิตสินค้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามกินลูกพลับกับนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จริงหรือ ?

❌ เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ ❌ ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ห้ามกินลูกพลับ แล้วต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีเด็กเสียชีวิตแล้วนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ – เป็นข้อมูลเท็จเก่า ที่แชร์กันในจีน– ไม่พบข่าวหรือหลักฐานการเสียชีวิตตามที่กล่าวอ้าง– ลูกพลับแม้อาจย่อยยาก แต่การกินตามปกติทั่วไป ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าวมีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน ตั้งแต่ราวปี 2558 หรือก่อนหน้านั้น โดยมีการแชร์วนซ้ำเป็นประจำทุกปี หลายสำนักข่าวในประเทศจีน ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า ข้อความดังกล่าว ไม่เป็นความจริง โดยไม่พบหลักฐานว่ามีกรณีที่ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากการกินลูกพลับและโยเกิร์ตและกล้วยหอม ข่าวในประเทศจีน อ้างถึงผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีน บอกว่า แม้ลูกพลับอาจจะมีคุณสมบัติย่อยยากอยู่บ้าง แต่จะไม่ได้อันตรายถึงเสียชีวิตแต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญในจีน ไม่แนะนำให้กินลูกพลับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร รวมทั้งไม่แนะนำให้กินตอนท้องว่าง และไม่แนะนำให้กินเปลือกลูกพลับ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ แพทย์จีน ต้นสกุล สังข์ทอง แผนกอายุรกรรมทางเดินอาหาร คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน อธิบายว่า ยังไม่มีงานวิจัยระบุว่าการกินพลับตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จะมีสารอาหารที่ออกฤทธิ์เสริมกันแล้วก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้  ลูกพลับ มีสรรพคุณช่วยดับกระหาย ให้ความชุ่มชื่นกับปอด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : งดจัดงานปีใหม่ เนื่องจากเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนซึ่งเริ่มต้นด้วยข้อความระบุว่าจะมีการงดจัดเทศกาลปีใหม่เนื่องเนื่องด้วยเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้น.📌 บทสรุป : ❌เก่า คลาดเคลื่อน ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ.👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่าข้อความลักษณะนี้มีการแชร์มาตั้งแต่ปี 2564 เรื่องงดจัดเทศกาลปีใหม่ เป็นหัวข้อข่าวในปีก่อน ๆ โดยยังไม่มีข้อมูลว่าจะมีการงดจัดเทศกาลสำหรับปีใหม่ 2567 นี้แต่อย่างใด.👉🏻 สำหรับ “เดลตาครอน” เคยเป็นข่าวเมื่อช่วงปี 2565อ่านรายละเอียดบางส่วนจากข่าวนี้ https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/134827.🤟🏻 ส่วนข้อความด้านล่าง ส่วนมากไม่จริงและเก่าแล้ว ไม่มีประโยชน์ในการแชร์ต่อ.📌 อย่างไรก็ตาม เชื้อโควิดยังคงแพร่กระจายได้ หากไม่ระวัง และ อาจเป็นอันตรายกับบางคนได้ จึงควรดูแลตนเอง และเข้มงวดมาตรการต่าง ๆ ต่อไป ตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนเผชิญ เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด.🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION : หลากหลายคำเตือนโควิด จริงหรือ ? 6 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน รัฐบาลเตรียมจ่อประกาศงดเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ “เดลตาครอล XBC” ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่าย/รวดเร็ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 สิ่งห้ามทำ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง จริงหรือ ?

6 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า หยุดทำ 3 สิ่งนี้ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง เช่น กินยาสตรี กินหวานเกินจำเป็น และ นอนดึกนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Q : กินยาสตรีแล้วจะทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : ยาสตรี โดยทั่วไปมีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง และมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และจากองค์ประกอบของยาสตรี มีพวกสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น กวาวเครีอ ว่านต่าง ๆ ตังกุย เป็นต้น หากได้รับมากเกินไปหรือกินต่อเนื่องเป็นประจำก็จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ Q : กินหวานเกินไปทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : เรื่องความหวานกับมะเร็งนั้น ยังไม่มีการศึกษาค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ในทางกลับกันพบว่า น้ำตาลหรือความหวานนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอักเสบในร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรคที่ต้องหลีกเลี่ยงดื่มน้ำมะพร้าว จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าจะดื่มน้ำมะพร้าว คนที่ป่วย 3 โรคนี้ต้องระมัดระวัง โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไตเสื่อมนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมความรู้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสในปริมาณสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินน้ำมะพร้าวสดหรือเครื่องดื่มจากน้ำมะพร้าวชนิดหวานน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม 3.ผู้ป่วยโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ หากร่างกายขาดน้ำผู้ป่วยโรคไตอาจเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : ร่าง พ.ร.ฎ. เพิ่มเงินบำนาญสูงถึง 10,000 จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์กันว่า พ.ร.ฎ.เพิ่มเงินให้ผู้รับบำนาญ – ขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ​ ผ่านการพิจารณาแล้ว โดยเพิ่มเงินสูงถึง 10,000 นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ปรับเพิ่มเฉพาะผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับ ช.ค.บ. ที่ไม่ถึง 10,000 บาทเท่านั้น 👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าว ถูกส่งต่อกันตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยนางญาณี แสงศรีจันทร์ โฆษกกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ในขณะนั้น ได้ออกแถลงเตือน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ผ่านเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ ว่า กฎหมายดังกล่าวมีเพียงประเด็นปรับเพิ่ม เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เท่านั้น โดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 โดยปรับเพิ่มเงินให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ รวมกันทุกประเภทและรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) แล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตัดแว่นไม่ตรงค่าสายตา เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

5 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า การตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตา ทำให้ตาบอดได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ – มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำเป็นต้องเข้าพบและได้รับคำปรึกษากับจักษุแพทย์ก่อนทำการวัดสายตาเพื่อตัดแว่นให้ตรงกับค่าสายตา การที่เด็กไม่ได้รับภาพที่ชัดเจน จะทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่สายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่ได้ตัดแว่นที่ถูกต้องกับค่าสายตา ก็อาจทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจและอาจทำให้ตาบอดได้ สำหรับการวัดความผิดปกติของสายตาเด็กเนื่องจากเด็กมีจุดโฟกัสดีกว่าสายตาผู้ใหญ่ ต้องหยอดยาลดการเพ่งก่อน โดยหยอดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กเพ่งน้อยลง แล้วค่อยวัดความสั้น ความเอียง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าผิดปกติหรือไม่ต้องนัดตรวจซ้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง กรณีผู้ใหญ่หากตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาก็จะทำให้การมองเห็นไม่ดี ภาพไม่ชัดเจน แต่จะไม่มีผลทำให้เกิดภาวะตาบอดถาวรแบบในเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยแก้ไขก่อนจะสายเกินไป สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

2 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความว่ามีอาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Q : นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?A : จริง เพราะนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้ จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน หากใครแพ้นมวัว สามารถกินนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แทนได้เช่นกัน *คำแนะนำจากแพทย์ >> กินนม 1 แก้วก่อนนอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพร-อาหารเสริม รักษาโรคซึมเศร้า จริงหรือ ?

30 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำว่ามีสมุนไพรสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่น ขมิ้นชัน ใบบัวบก คาโมมาย กระท่อม กัญชา เห็ดหลินจือ กินต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ข้อมูลที่แชร์ว่ามีสมุนไพร หรืออาหารเสริมรักษาโรคซึมเศร้าได้นั้น ไม่เป็นความจริง ส่วนใหญ่เป็นเพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ขมิ้นชัน อาจจะมีส่วนช่วยปรับลดอาการซึมเศร้า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ใช่การรักษาหลักอย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยรองรับว่าการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า ใบบัวบก ยังไม่มีการศึกษาว่าใบบัวบกสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ คาโมมาย ช่วยคลายความวิตกกังวลได้ แต่รักษาโรคซึมเศร้าไม่ได้ กระท่อม มีฤทธิ์กระตุ้นให้มีความตื่นตัว แต่จิตใจก็ยังเศร้าอยู่ เมื่อหยุดกระท่อมก็จะทำให้เกิดอาการเพลีย แพทย์ไม่แนะนำ กัญชา สารสกัด CBD ในน้ำมันกัญชา สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็มีการศึกษาพบว่ากัญชาเพิ่มอัตราความเสี่ยงการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น เห็ดหลินจือ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยทำให้ความรู้สึกอ่อนล้าดีขึ้น แต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนอาหารเสริมที่มีสารไทโรซีน ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้ ช่วยลดภาวะความเครียด แพทย์ไม่แนะนำให้นำมารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสมุนไพรใดสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ การรักษาด้วยยาในปัจจุบัน คนไข้กลัวว่ายาจะเป็นอันตรายนั้นไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร นั้น บทสรุป : เป็นข้อมูลจริง อย่างไรก็ตาม ควรแชร์คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาตามที่แชร์นี้ ในส่วนที่เป็นคำแนะนำการงดพับธนบัตร หรือการใช้ลวดเย็บกระดาษนั้น สอดคล้องกับแนวทางเกี่ยวกับการจัดการธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องการใช้งานธนบัตรอย่างถูกวิธี ที่ระบุว่า “การใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี – แม้ธนบัตรจะผลิตจากกระดาษชนิดพิเศษที่ทนทานต่อการใช้งาน แต่ความเคยชินในการใช้ธนบัตรที่ไม่เหมาะสมของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ธนบัตรเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น เพื่อถนอมรักษาและยืดอายุการใช้งานธนบัตรให้ยาวนานขึ้น จึงขอความร่วมมือใช้ธนบัตรกันอย่างถูกวิธี “ ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการนำธนบัตรไปพับประดิษฐ์ต่าง ๆ การขีดเขียน การพับหรือกรีดเป็นรอย การประทับตรา การขยำธนบัตร และ การเย็บด้วยลวดเย็บกระดาษ สำหรับแนวทางที่แนะนำ หากจำเป็นต้องใช้ธนบัตรประกอบในพิธีหรืองานบุญต่าง ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงภาพถ่ายตัวอย่างการใช้ธนบัตรโดยไม่มีการพับ หรือเย็บด้วยลวด วิธีการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จากการสอบถามไปที่ธนาคารซึ่งมีชื่อระบุในข้อความที่แชร์กัน ได้รับการแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถดูเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสังเกตธนบัตรปลอมได้จากตอนอื่น ๆ ของ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยากษัยเส้นบำรุงไต จริงหรือ ?

24 กันยายน 2566 – บนโซเชียลแชร์แนะนำ “ยากษัยเส้นบำรุงไต” เพียงชุดละ 5 เม็ด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อ เส้นแข็งขึ้น ขัดยอกไปทั้งตัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัย ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) อธิบายว่า ยากษัยเส้นไม่ได้บำรุงไตแต่อย่างใด กลับกันฤทธิ์ของมันทำให้ไตวาย ไตเสื่อมได้ ยาในซอง จะเป็นยากลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยากษัยเส้นบำรุงไตแก้เมื่อยได้ จริงหรือ ? ตัวยามีสรรพคุณช่วยให้หายปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ได้จริง เนื่องจากยา NSAIDs มีฤทธิ์บรรเทาปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เจ็บปวดตามข้อ ยากลุ่ม NSAIDs อันตรายได้หลายประการ อย่างไรก็ตาม การขายยาแบบนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากประชาชนเห็นยาแบบนี้ ให้หลีกเลี่ยงและอย่าใช้เป็นอันขาด หากมีปัญหาสุขภาพจริง […]

1 2 3 4 5
...