ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA พบว่า ไลน์ @PEANext  เป็นไลน์จริง แต่ใช้เฉพาะพื้นที่ภาคกลางเท่านั้น ได้แก่  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.1– พระนครศรีอยุธยา , สระบุรี , อ่างทอง , ปทุมธานี , ปราจีนบุรี , นครนายก , สระแก้วการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.2– ชลบุรี , ฉะเชิงเทรา , ระยอง , จันทบุรี , ตราดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทไทยออยล์รับสมัครพนักงาน เงินเดือนสูง พร้อมโบนัส จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ประกาศรับสมัครพนักงานบริษัทไทยออยล์ เงินเดือนสูง พร้อมโบนัส นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ เป็นข้อมูลเท็จที่ถูกนำกลับมาแชร์วนซ้ำ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจ ‘Thaioil Recruitment’ ได้มีการประกาศยืนยันหลายครั้งถึงข้อความดังกล่าวว่า ไม่จริงและไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทไทยออยล์แต่อย่างใด โดยการรับสมัครงานบริษัทไทยออยล์ จะเผยแพร่ผ่านทางบริษัทฯ เท่านั้น ได้แก่ ภาพประกาศยืนยันจากทางบริษัทไทยออยล์ ตรวจสอบจากฐานข้อมูล ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ข้อความดังกล่าว เริ่มแพร่กระจายในช่วงปี 2561 โดยเริ่มจาก มีเพจต่าง ๆ ได้นำรูปภาพแบนเนอร์เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ ประจำโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ในปี 2561 ซึ่งรูปดังกล่าวเป็นรูปภาพจริงของทางบริษัท ฯ โดยนำมาโยงเข้ากับข้อความที่ไม่เป็นความจริง  ภาพและข้อความที่แชร์ตั้งแต่ปี 2561 ในปี 2566 ทางศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ยังได้รับการสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นการรับสมัครงานของบริษัทไทยออยล์​ แต่มาในลักษณะข้อความที่เหมือนในปี 2561 เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏภาพแบนเนอร์❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ เป็นข้อความเก่าและไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อความที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ อ้างอิง : https://www.facebook.com/ThaioilGroupRecruitment/posts/1853242994761804/ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันมะพร้าวรักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]

[❌] แชร์ว่อนภาษาจีน เตือนห้ามเที่ยวไทย อ้าง 6 แสนคน โดนมอมยาลักพาตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

26 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Taiwan FactCheck Center ตามที่มีการแชร์เป็นภาษาจีน ทั้งแบบข้อความ และ คลิปวิดีโอ เตือนให้อย่าไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกว่า 600,000 คนถูกมอมยาและลักพาตัวไปสังหารและชำแหละอวัยวะนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Taiwan FactCheck Center หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในไต้หวัน ระบุว่า พบข้อความแชร์คำเตือนห้ามไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเอเชีย 600,000 คน ถูกมอมยาด้วยเครื่องดื่มในไทย และลักพาตัวหายไป พร้อมกับคลิปวิดีโอที่มีภาพสยดสยองของพฤติกรรมการชำแหละร่างมนุษย์นั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริง : คดีลักพาตัวนักท่องเที่ยว ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต.ต.อภิชาติ สุริบุญญา รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ได้รับการยืนยันว่า ข้อมูลที่แชร์กันในกลุ่มผู้ใช้ภาษาจีนดังกล่าว ที่ว่ามีนักท่องเที่ยวสูญหายมากกว่า 6 แสนคนนั้นไม่เป็นความจริงและไม่มีความเป็นไปได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปิดหน้ากากแอร์ ทำให้แอร์เย็น ประหยัดไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำให้เปิดหน้ากากแอร์ จะทำให้แอร์เย็นเร็วประหยัดไฟนั้น บทสรุป ⚠️จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ หากไม่ได้เพิ่มข้อมูลที่ครบถ้วน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.สถาพร ทองวิค อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ยืนยันว่า สิ่งที่แนะนำในคลิปมีส่วนเป็นไปได้จริง เนื่องจากทำให้ลมแรงขึ้นประมาณ 10% จะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ทำตาม โดยเฉพาะหากไม่มีความเข้าใจในการทำงานของแอร์ เนื่องจากอาจจะทำให้ฝุ่นเข้าไปสะสมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มโอกาสที่จะมีสัตว์เข้าไปตายในแอร์ และเพิ่มภาระงานในการล้างทำความสะอาดแอร์ถี่ขึ้น ซึ่งแม้อาจจะมีโอกาสลดระยะเวลาที่แอร์ทำงานในช่วงต้นได้ แต่ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเพิ่มด้วย นอกจากนั้น แอร์ติดผนังโดยทั่วไปก็ติดตั้งในจุดที่สูง และการขึ้นไปเปิดปิดหน้ากาก ก็ทั้งไม่สะดวกและมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการปีนขึ้นไปด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีการเปิดหน้ากากแอร์ ไม่มีคำแนะนำไว้ในคู่มือการใช้งาน แต่ผู้ผลิตหลายรายก็บรรจุปุ่มที่จะช่วยเร่งความเร็วในการทำความเย็นของแอร์ ซึ่งอาจจะชื่อว่า TURBO หรือ Hi-Speed ไว้ด้วย ซึ่ง ดร.สถาพร แนะนำว่า ให้ใช้ปุ่มดังกล่าว จะสะดวกกว่าการต้องปีนขึ้นไปเปิดปิดหน้ากากแอร์ “แม้การเปิดหน้ากากจะทำให้แอร์เย็นเร็วขึ้นได้ แต่ส่วนตัวแล้วไม่ใช้วิธีนี้ เพราะที่รีโมตแอร์ก็มีปุ่ม Hi-Power เร่งการทำความเย็นอยู่แล้ว ซึ่งผลที่ได้ก็ไม่แตกต่างกัน” ดร.สถาพร กล่าวและแนะนำให้ดูแลรักษา ล้างแอร์ตามรอบความถี่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 25 เมษายน […]

[❌] นักเคลื่อนไหวชาวสเปนอ้าง ไทยใช้กฎหมาย “ตัดอัณฑะ” ลงโทษคดีข่มขืน | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

23 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Juan Piero Solis จาก Verificador, La República เปรู ตามที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวสเปนคนหนึ่ง กล่าวในรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ระบุว่า “ในประเทศไทย หากผู้ชายพยายามข่มขืน หรือ ข่มขืนผู้หญิง ชายคนนั้นจะถูกตัดอัณฑะ (physically castrated)” ซึ่งมีการแชร์และการปฏิสัมพันธ์บน Twitter Instagram และ Tiktok กว่า 20,000 ครั้งนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Verificador หน่วยตรวจยืนยันข้อมูล ของสื่อ La República ในประเทศเปรู ว่า มีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังข้าวยี่ห้อที่ไม่ควรซื้อ จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION ตามที่มีการแชร์ ให้ระวัง “ข้าวหอมและไม่หอม ยี่ห้อที่ไม่ควรซื้อ เพราะมีอันตราย” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ชุดข้อความดังกล่าวมีการเผยแพร่ส่งต่อกันตั้งแต่ปี 2556 สืบเนื่องมาจากกรณีเหตุการณ์ภายหลัง นายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการ คนค้นฅน ได้โพสต์ข้อความบน Facebook ส่วนตัว เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีเนื้อหาเตือนให้ระวังอันตรายข้าวจากโรงสีข้าวบางแห่ง และข้าวที่รับซื้อไปจำหน่าย ซึ่งในขณะนั้นทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จนทำให้บริษัทและโรงสีข้าวที่ถูกกล่าวถึงออกมาตอบโต้และฟ้องร้องดำเนินคดี เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงตราฉัตร แจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้านเจ้าของโรงสีข้าวทรัพย์อนันต์ ได้เข้าแจ้งความที่ สภ.เมืองสุรินทร์ ขณะที่ บริษัท เอเชีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สารพัดสรรพคุณ “หัวหอมหั่นแช่เย็น” จริงหรือ ?

20 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เรื่องสรรพคุณของ “หัวหอมหั่นแช่เย็น” หลากหลายสรรพคุณนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบสืบหาต้นตอ พบว่า ข้อความดังกล่าวเคยมีการส่งต่อกันในภาษาจีนก่อนหน้านี้ โดยหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง Taiwan Fact-Check Center ได้เคยนำเสนอรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงไว้แล้ว พบว่าประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในบทความ ไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นรองรับ รวมทั้งการวางหัวหอมหั่นไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน จะทำให้หัวหอมเน่าและเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียได้ สามารถติดตามรายละเอียด (ภาษาจีน) ได้จากเว็บไซต์นี้ https://tfc-taiwan.org.tw/articles/5664 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยืนยันว่า หัวหอมไม่สามารถทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้ เนื่องจากไม่สามารถกำจัดฝุ่น หรือสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างแน่นอน สำหรับเนื้อหาฉบับเต็มและรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ชัวร์ก่อนแชร์ จะนำเสนอต่อไป 19 เมษายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตัวอย่างข้อความที่แชร์กัน

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินยาหอม ป้องกันฮีตสโตรกได้ จริงหรือ ?

20 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการรับประทานยาหอม ป้องกันฮีตสโตรก นั้น บทสรุป : แชร์ได้ หากมีการอธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายว่า ยาหอม เป็นสมุนไพรที่กินได้ มีสรรพคุณลดความร้อน จึงสามารถใช้เสริมได้ เมื่อมีอาการอันเนื่องจากอากาศร้อน อย่างไรก็ตาม ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ เมื่อมีอาการรุนแรงหรืออาการมาก ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก อย่างไรก็ตาม ยาหอมที่เลือกใช้ จะต้องเลือกประเภทที่มีส่วนผสมของพวกดอกไม้ ในบัญชียาหลักแห่งชาติจะมี ยาหอมเทพจิต กับ ยาหอมทิพโอสถ ใช้ได้ แต่ระวังกลุ่มผู้ที่แพ้ดอกไม้จะต้องระวัง นอกจากนั้น ระมัดระวังไม่ใช้ ยาหอมที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ยาหอมอินทรจักร นวโกฐ ซึ่งหากกินเข้าไปแล้วร่างกายจะร้อนยิ่งขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัยร้อน 40-50 องศา อย่าดื่ม-อย่าอาบน้ำเย็นทันที จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เตือนให้เตรียมรับมือกับอุณหภูมิ 40-50 องศา โดยเลี่ยงน้ำเย็นน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เส้นเลือดปริแตก นั้น บทสรุป ⚠️ จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า เมื่ออากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเย็นจัดในปริมาณมากคราวเดียวอาจส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อรับกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “แต่ถามว่า จะถึงขั้นที่เส้นเลือดจะตีบขณะที่เป็นสโตรกไหม หรือว่า ที่บอกว่า เอาเท้าแช่น้ำ แล้วตาบอดนั้น ลักษณะนี้เกิดได้จริง แต่ว่าเกิดได้น้อย แต่มักเกิดกับคนไข้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น คนที่มีหินปูนเกาะที่หลอดเลือด มีพวกเส้นเลือดสมองตีบบางส่วนอยู่แล้ว แล้วพอมันหดตัวลง การไหลของเลือดมันก็น้อยลง หรือกระทั่งที่ลูกตาก็เช่นกัน เส้นเลือดที่เลี้ยงลูกตา เล็กนิดเดียว พอหดตัวก็เกิด ตาบอดชั่วคราวได้ พอเส้นเลือดคลายตัวก็หาย ส่วนเรื่องเส้นเลือดแตก ก็เป็นกลไกตรงกันข้ามกัน เมื่อหดแล้วเกิดการคลายตัว ทำให้เส้นเลือดที่เปราะอยู่แล้ว เกิดการปริแตกง่ายเช่นกัน” พ.อ.นพ.วิริสสร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพ “ปูติน” “ไบเดน” อุปสมบท จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์พร้อมภาพ ของ วลาดิเมีย ปูติน ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย และ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่งกายในแบบพระสงฆ์ พร้อมข้อความว่าทั้งสองคนเคยบวช ณ วัดแห่งหนึ่งใน ทิเบต หรือ เขตปกครองตนเองทิเบต นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🔎 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ผ่านบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ “ต๋องสุเกะ สุวรรณกิจ” เผยแพร่ลงในกลุ่มสังคมออนไลน์ “Midjourney Thailand” ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลในกลุ่มสังคมดังกล่าว กลุ่มนี้เป็นพื้นที่โชว์งานศิลปะตามจินตนาการของผู้ใช้งานกับ ระบบ AI ชื่อว่า midjourney เท่านั้น 👉🏻 นอกจากนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้ทำการสอบถามไปยังผู้ใช้งานชื่อ “ต๋องสุเกะ สุวรรณกิจ” ซึ่งได้รับการยืนยันว่า เป็นผู้เผยแพร่ภาพดังกล่าวจริง ด้วยการป้อนคำสั่งไปยังระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว ทั้งนี้ตัวผู้เผยแพร่กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาในการสร้างความเข้าใจผิดแต่อย่างใด เป็นเพียงการแบ่งปันผลงานลงในกลุ่มเท่านั้น และได้แจ้งในรายละเอียดของภาพในภายหลังแล้วว่า […]

1 3 4 5
...