ยูเอ็นชี้ญี่ปุ่นควรคว่ำบาตรเมียนมา

โตเกียว 28 เม.ย.- ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ชี้ว่า ญี่ปุ่นควรคว่ำบาตรเมียนมาเช่นเดียวกับที่คว่ำบาตรรัสเซียเรื่องรุกรานยูเครน และได้ประณามเมียนมาว่าป่าเถื่อนและกดขี่ประชาชน นายโทมัส แอนดรูว์ส ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในเมียนมากล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากเสร็จสิ้นการตระเวนพบกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาน่ากลัวและเลวร้ายลง ขอเรียกร้องให้ญี่ปุ่นพิจารณาเรื่องร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างเจาะจงกับกองทัพเมียนมาและแหล่งรายได้หลักของเมียนมา ดังที่ญี่ปุ่นกำลังใช้กับรัสเซียในวิกฤตยูเครน เพราะการคว่ำบาตรจะทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาถูกลดทอดศักยภาพในการทำร้ายประชาชน ญี่ปุ่นได้ระงับโครงการความช่วยเหลือโครงการใหม่ ๆ หลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนางออง ซาน ซู จี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ไม่มีผลต่อโครงการที่ยังดำเนินอยู่ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นแถลงเมื่อเดือนกันยายน 2565 ว่า ได้ยุติการรับสมัครคนเข้าโครงการฝึกฝนทหารเมียนมาแล้ว แต่นายแอนดรูว์สได้ขอให้ญี่ปุ่นยุติโครงการโดยทันที ไม่เช่นนั้นกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะถูกโยงกับระบอบทหารที่โหดร้าย เพราะทหารเมียนมาที่รับการฝึกสู้รบและเรียนรู้การเป็นทหารและผู้บังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพจะกลับไปรับใช้กองทัพที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นฯ ขอให้ญี่ปุ่นนำงบประมาณสำหรับโครงการช่วยเหลือโครงการใหม่ ๆ ที่ถูกระงับไปแล้ว ไปใช้สนับสนุนโครงการปันส่วนอาหารให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในบังกลาเทศราว 1 ล้านคน ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ส่วนใหญ่อพยพมาหลังจากกองทัพเมียนมายกกำลังไปปราบปรามในปี 2560 โครงการปันส่วนอาหารถูกตัดลดงบประมาณไปแล้วร้อยละ 17 ในเดือนมีนาคม และกำลังจะถูกลดลงอีกร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเด็ก ๆ […]

เมียนมาจำคุกโรฮีนจากว่าร้อยคน

ย่างกุ้ง 10 ม.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานว่า ทางการได้ตัดสินจำคุกชาวโรฮีนจา 112 คน เป็นเวลา 2-5 ปี โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วย โทษฐานพยายามเดินทางไปมาเลเซียโดยไม่มีเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานอ้างตำรวจท้องถิ่นว่า คนกลุ่มนี้ถูกจับกุมเมื่อเดือนธันวาคมที่เขตอิรวดี ทางตอนใต้ของประเทศ และถูกตัดสินจำคุกเมื่อวันที่ 6 มกราคม ส่วนเด็กสิบกว่าคนถูกย้ายไปยังโรงเรียนอบรมเยาวชนใกล้นครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 8 มกราคม รายงานเรียกชาวโรฮีนจากลุ่มนี้ว่า เบงกาลี เป็นคำเหยียดที่ใช้เรียกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ทางการเมียนมาไม่ให้สัญชาติและมักจำกัดการเดินทาง กองทัพเมียนมาใช้กำลังกวาดล้างในปี 2560 ทำให้ชาวโรฮีนจาหลายแสนคนหนีข้ามพรมแดนเข้าไปยังบังกลาเทศ และมีการฟ้องร้องเมียนมาต่อศาลโลกในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ละปีมีชาวโรฮีนจาจำนวนมากเสี่ยงชีวิตล่องเรือออกจากเมียนมาและค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหวังเดินทางไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีเรือไม้ลำหนึ่งที่มีชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรีไปขึ้นฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย นับเป็นลำที่ 5 แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน.-605

บังกลาเทศเผยพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาแล้ว

ธากา 27 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เสี่ยงชีวิตล่องเรือไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากมีความกังวลว่าปีนี้อาจมีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตกลางทะเลมากที่สุดปีหนึ่ง นายโมฮัมหมัด มิซานูร์ ราห์มาน กรรมาธิการบรรเทาทุกข์และส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เดินทางเสี่ยงอันตราย และจะตระเวนคุยกับแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้เข้าใจถึงอันตรายของการเสี่ยงล่องเรือ ขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย กองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งได้เฝ้าระวังและจับกุมผู้ที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี เขาคิดว่าชาวโรฮีนจาที่ออกไปเสี่ยงชีวิตกลางทะเลไม่ได้เดินทางออกจากบังกลาเทศทุกคน เพราะสถานการณ์ในเมียนมาเลวร้ายกว่าในค่ายผู้ลี้ภัยมากนัก ชาวโรฮีนจาคนหนึ่งที่เคยเป็นแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยและเดินทางไปถึงมาเลเซียแล้ว แต่ได้กลับมาบังกลาเทศเพื่อมาอยู่กับน้องสาว 2 คน เผยว่า ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้คนล้วนแต่สิ้นหวัง ขณะที่แกนนำชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศ เผยว่า ชาวโรฮีนจาจำนวนมากพร้อมเสี่ยงชีวิตบนเรือของแก๊งค้ามนุษย์ เพราะท้อแท้กับชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย และไม่มีหวังจะได้กลับบ้าน ชาวโรฮีนจาถูกทอดทิ้งจากประชาคมโลกที่ไม่สามารถกดดันบรรดานายพลในเมียนมา ปัจจุบันมีชาวโรฮีนจาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หลายคนหลบหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 เมื่อกองทัพยกกำลังขึ้นไปปราบปราม สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ประเมินว่า ปีนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 2,400 คนล่องเรือหรือพยายามล่องเรือไปยังประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี 2564 ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเหตุใดตัวเลขดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นมาก บางคนเชื่อว่า อาจเป็นเพราะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด.-สำนักข่าวไทย

เรือโรฮีนจาเกือบ 200 ชีวิตเกยหาดอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 27 ธ.ค.- อินโดนีเซียแจ้งว่า ได้ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินแก่ชาวโรฮีนจา หลังจากเรือที่มีชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คนมาเกยหาดเมื่อวันจันทร์ และเป็นการขึ้นฝั่งอินโดนีเซียครั้งที่ 4 ในช่วง 2 เดือน ตำรวจท้องถิ่นจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกสุดของอินโดนีเซียเผยว่า เรือไม้ลำหนึ่งมาเกยชายหาดเมื่อเวลา 17:30 น.วันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลาเดียวกันในไทย บนเรือมีชาวโรฮีนจา 185 คน เป็นผู้ชาย 83 คน ผู้หญิง 70 คน และเด็ก 32 คน เจ้าหน้าที่ได้นำไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว และให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ที่เจ็บป่วย ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ชาวโรฮีนจาหลายคนดูเหนื่อยล้ามาก ผอมโซ และต้องได้รับน้ำเกลือ บางคนมีอาการขาดน้ำ และมีเด็กอาเจียน ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องการล่องเรือของพวกเขา วัยรุ่นชาวโรฮีนจาวัย 14 ปี เผยว่า ล่องเรือมาจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ และหวังว่าอินโดนีเซียจะให้โอกาสให้พวกเขาได้เล่าเรียน ผู้นำชุมชนประมงในที่เกิดเหตุเผยว่า ช่วงหลายปีมานี้ชาวประมงอาเจะห์ได้ช่วยนำเรือชาวโรฮีนจามาขึ้นฝั่งหลายลำ แต่เรือลำล่าสุดมาเกยหาดเองเพราะกระแสลม เนื่องจากชาวประมงเริ่มลังเลที่จะให้ความช่วยเหลือ เรือลำนี้มาเกยหาดจังหวัดอาเจะห์ หลังจากเรืออีกลำที่มีชาวโรฮีนจา 57 คนเพิ่งมาขึ้นฝั่งได้ 1 […]

โรฮีนจา 180 ชีวิตหายพร้อมเรือล่องออกจากบังกลาเทศ

ธากา 26 ธ.ค.- หน่วยงานของสหประชาชาติสันนิษฐานว่า เรือลำหนึ่งที่มีชาวโรฮีนจาอยู่บนเรือประมาณ 180 คนน่าจะอับปางลงแล้ว ตั้งแต่ล่องออกจากบังกลาเทศเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) แจ้งช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เกรงว่าเรือลำดังกล่าวซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมออกทะเลได้สูญหายกลางทะเลไปแล้ว และคนบนเรือเสียชีวิตหมดทั้ง 180 คน  เพราะเรือน่าจะเริ่มแตกตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ก่อนขาดการติดต่อไป โฆษกระบุด้วยว่า ปีนี้มีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเลแล้วเกือบ 200 คน ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดปีหนึ่ง หลังจากที่มีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอลเกือบ 900 คนในปี 2556 และมากกว่า 700 คนในปี 2557 นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนชาวโรฮีนจาที่พยายามเสี่ยงตายหนีออกจากค่ายอพยพได้กลับมาใกล้ระดับก่อนโควิดระบาด เฉพาะที่ล่องเรือออกจากบังกลาเทศในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 5 เท่า ยูเอ็นเอชซีอาร์ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า การที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นจุดหมายหลักของชาวโรฮีนจาผ่อนคลายมาตรการจำกัดโควิด มีส่วนทำให้ชาวโรฮีนจาพากันล่องเรือเสี่ยงตายมากขึ้นหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

จับนายหน้าเครือข่ายค้ามนุษย์โรฮีนจา

ตำรวจ ปคม.จับนายหน้าค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนาทวี หลังหนีมากลบดานในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เบื้องต้นยังให้การปฏิเสธ

ทัพเรือภาคที่ 3 ช่วยชาวโรฮีนจาถูกปล่อยทิ้งเกาะลอ-กลอย

โฆษก ทร. เผย ทัพเรือภาคที่ 3 ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮีนจาที่ถูกปล่อยทิ้งบนเกาะลอ-กลอย จ.สตูล

อินเดียช่วยชาวโรฮีนจา 81 คนบนเรือในทะเลอันดามัน

โฆษกกระทรวงต่างประเทศอินเดียเปิดเผยว่า หน่วยยามฝั่งของอินเดียพบเรือของผู้อพยพชาวโรฮีนจาที่อยู่กันอย่างแออัดมากง ลอยอยู่ในทะเลอันดามัน บนเรือมีชาวโรฮีนจาที่ยังมีชีวิต 81 คนและเสียชีวิต 8 คน

1 2 3 4
...