ผู้อพยพชาวโรฮีนจา 200 คนได้ขึ้นฝั่งที่อินโดนีเซีย

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ กล่าววันนี้ว่า ผู้อพยพชาวโรฮีนจาประมาณ 200 คน เดินทางด้วยเรือถึงจังหวัดปลายสุดด้านตะวันตกของอินโดนีเซียเมื่อคืนที่ผ่านมา

โรฮีนจาขึ้นฝั่งอินโดนีเซียวันเดียวกว่า 500 คน

หน่วยงานของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) เผยว่า มีเรือ 3 ลำ บรรทุกผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจารวมมากกว่า 500 คน ขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของอินโดนีเซีย ในวันนี้

ผู้อพยพชาวโรฮีนจา 250 คน ถูกผลักดันออกจากอินโดนีเซีย

ผู้อพยพโรฮีนจาประมาณ 250 คน บนเรือไม้ที่อยู่กันอย่างแออัด ถูกปฏิเสธจากประชาชนในพื้นที่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย และถูกผลักดันให้กลับไปสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

สหรัฐเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโรฮีนจา

สหรัฐจะจัดสรรเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพิ่มเติมให้แก่เมียนมาและบังกลาเทศ เพิ่มอีก 116 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา

“โรฮีนจา” ประท้วงในบังกลาเทศวาระครบ 6 ปีที่อพยพจากเมียนมา

ผู้อพยพชาวโรฮีนจาหลายพันคนชุมนุมประท้วงที่ค่ายพักในบังกลาเทศในวันนี้ เพื่อเรียกร้องขอกลับเมียนมาอย่างปลอดภัย ในวาระครบรอบ 6 ปี ที่เกิดเหตุรุนแรงในเมียนมา และทำให้พวกเขาต้องหนีภัยจากบ้านเรือนมายังบังกลาเทศ

เรือโรฮีนจาแตกกลางทะเล ตาย 17 คน

มูลนิธิในเมียนมา เผยว่ามีผู้เสียชีวิต 17 คน จากเหตุเรือบรรทุกผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหนีออกจากรัฐยะไข่ของเมียนมา แตกกลางทะเลเมื่อไม่กี่วันก่อน

ชาวโรฮีนจาขึ้นศาลอาร์เจนตินาเรื่องเมียนมาก่ออาชญากรรม

บัวโนสไอเรส 8 มิ.ย.- ชาวโรฮีนจาจำนวนหนึ่งขึ้นศาลในกรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินา เพื่อให้การด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกในคดีที่ศาลอาร์เจนตินาเปิดการสอบสวนเรื่องกองทัพเมียนมาก่ออาชญากรรม ประธานองค์การโรฮีนจาพม่ายูเค (Burmese Rohingya Organisation UK) เผยว่า การไต่สวนที่จัดขึ้นแบบปิดเมื่อวันพุธตามเวลาอาร์เจนตินาถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของทุกคนในเมียนมา เพราะมีการขึ้นให้การด้วยตัวเองและมีการแสดงหลักฐานที่มีน้ำหนักต่อศาลได้เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดี เขาไม่ขอเปิดเผยข้อมูลหรือจำนวนชาวโรฮีนจาที่ขึ้นให้การด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แหล่งข่าวเผยว่า การไต่สวนจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 13 มิถุนายน ระบบตุลาการของอาร์เจนตินาประกาศในปี 2564 ว่า จะเปิดการสอบสวนตามที่ได้รับคำร้องเรื่องทหารเมียนก่ออาชญากรรมกับชาวโรฮีนจา โดยอาศัยหลักการเขตอำนาจศาลสากลที่อนุญาตให้รัฐอ้างเขตอำนาจศาลทางอาญาเหนือผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่คำนึงว่าผู้ถูกกล่าวหาก่ออาชญากรรมที่ใดและมีสัญชาติใด อันเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สตรีโรฮีนจา 6 คนที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศได้ขึ้นศาลอาร์เจนตินาในปีดังกล่าวผ่านทางออนไลน์ ร้องเรียนเรื่องถูกประทุษร้ายทางเพศและมีคนในครอบครัวเสียชีวิตเพราะการกดขี่ของทางการเมียนมา ชาวโรฮีนจาประมาณ 750,000 คนลี้ภัยไปยังบังกลาเทศในปี 2560 หลังจากกองทัพเมียนมาใช้ปฏิบัติการกวาดล้างครั้งใหญ่ ขณะนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซี (ICC) และศาลโลกกำลังแยกกันสอบสวนกองทัพเมียนมา.-สำนักข่าวไทย

ผู้เสียชีวิตในเมียนมาจากไซโคลน “โมคา” เพิ่มเป็น 145 ราย

คณะโฆษกของรัฐบาลทหารเมียนมากล่าววันนี้ว่า ยอดผู้เสียชีวิตในเมียนมาจากพายุไซโคลน “โมคา” เพิ่มเป็น 145 รายแล้ว หลังจากพายุลูกนี้พัดกระหน่ำสร้างความเสียหายแก่เมียนมาเมื่อ 5 วันก่อน

เมืองในเมียนมาถูกตัดขาดหลังโดนถล่มด้วยไซโคลน “โมคา”

ประชาชนนับแสนคนในเมืองซิตตเว เมืองท่าและเมืองหลักของรัฐยะไข่ของเมียนมา ถูกตัดขาดจากการติดต่อในวันนี้หลังจากที่พายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มทางตะวันตกของเมียนมาและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกัน

ไซโคลน “โมคา” ระดับ 5 ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมา

เทคนาฟ 14 พ.ค.- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศแจ้งว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) ได้ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมาแล้วในวันนี้ ทำให้ต้นไม้ล้มและมีฝนตกในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยโรฮีนจาอาศัยอยู่ร่วมล้านคน สำนักงานฯ แจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมา ก่อนหน้านี้ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐแจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 140 นอตหรือ 259 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ชายชาวโรฮีนจาวัย 28 ปีที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศเผยว่า ที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยสร้างด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพียงแค่ถูกลมพัดเบา ๆ ก็เสียหายแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ใช้เป็นที่หลบภัยไซโคลนก็ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต้านทานแรงลมได้ ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ด้านชาวโรฮีนจาที่อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเวเผยว่า เริ่มมีลมพัดแรงตั้งแต่เช้าและแรงขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักในค่ายพังเสียหาย หลังคาของที่หลบภัยซึ่งสร้างโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ถูกลมพัดปลิวหาย บังกลาเทศเคยถูกไซโคลนซิดร์ (Sidr) พัดถล่มทางตอนใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 9,000 คน สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ขณะที่เมียนมาเคยถูกไซโคลนนาร์กิส (Nargis) พัดถล่มบริเวณสันดอนแม่น้ำอิรวดีในปี 2551 คร่าชีวิตคนไปมากถึง 138,000 คน.-สำนักข่าวไทย

คาดไซโคลน “โมคา” จะขึ้นฝั่งบังกลาเทศ-เมียนมา 13:30 น.วันนี้

ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติจากไซโคลน “โมคา”

นิวยอร์ก 13 พ.ค.- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นจากการที่ไซโคลนโมคา (Mocha) จะพัดถล่มบังกลาเทศและเมียนมาราวเที่ยงวันอาทิตย์นี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานหรือไอโอเอ็ม (IOM) แจ้งว่า ไซโคลนโมคากำลังมุ่งหน้าตรงไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ เจ้าหน้าที่ไอโอเอ็มเผยจากเมืองค็อกบาซาร์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบล้านคนอาศัยตามค่ายต่าง ๆ เผยว่า บังกลาเทศมีแผนความเตรียมพร้อมขนานใหญ่ไว้แล้ว โดยมีไอโอเอ็มเข้าร่วมด้วย ค่ายผู้ลี้ภัยแต่ละค่ายจะมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วคอยดูแล 100 คน และมีการใช้ระบบเตือนภัยด้วยธงในค่ายผู้ลี้ภัย 17 แห่งที่ไอโอเอ็มดูแลอยู่ อาสาสมัครทุกคนมีชุดอุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล และมีการจัดเตรียมชุดสุขอนามัยและอุปกรณ์ที่พักฉุกเฉินไว้พร้อม ด้านองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ได้เตรียมพร้อมรถฉุกเฉิน 40 คัน และทีมแพทย์เคลื่อนที่ 33 ทีมไว้ที่ค็อกซ์บาซาร์แล้ว เช่นเดียวกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งยูเอ็นหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ที่ได้จัดเตรียมอาหารแห้ง 230 ตัน และบิสกิตเสริมสารอาหาร 24.5 ตัน รวมทั้งเตรียมพร้อมจัดส่งอาหารร้อนวันละ 50,000 ชุดในกรณีที่จำเป็น ด้านสำนักงานมนุษยธรรมยูเอ็นแจ้งว่า ชุมชนในเมียนมาได้รับแจ้งให้เตรียมตัวรับมือไซโคลนโมคา และมีการประกาศใช้แผนเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมทั่วทั้งเมียนมาแล้วตั้งแต่ต้นสัปดาห์ องค์กรมนุษยธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐยะไข่ได้ตระเตรียมบุคลากรและสิ่งจำเป็นเท่าที่สามารถหาได้ ปัจจุบันมีคนในรัฐยะไข่และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากถึง 6 ล้านคน และมีคนพลัดถิ่นประมาณ 1 ล้าน […]

1 2 3 4
...