ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคไต จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม 2566 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคไตเอาไว้มากมาย ทั้ง หญ้าพันงู หญ้าไผ่น้ำ ช่วยรักษาโรคไต และการดื่มน้ำผักชีช่วยล้างไตได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กระชายโสมเมืองไทย ยาอายุวัฒนะ รักษาโรคไต จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำสรรพคุณของกระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงไต รักษาโรคไต บำรุงสมอง มีคุณค่าสูงกว่านมหลายเท่า ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : น.อ.นพ.พงศธร คชเสนี ประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ไม่มีงานวิจัยรองรับว่ากระชายปั่นรักษาโรคได้ การกินกระชายทำให้รู้สึกร้อน กระชุ่มกระชวย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ไม่ได้ช่วยบำรุงหรือรักษาโรคไตตามที่แชร์กัน ” อันดับที่ 2 : หญ้าไผ่น้ำแก้โรคไต จริงหรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : ระวัง! กินดอกอัญชัน อันตราย จริงหรือ?

มั่ว อย่าแชร์

อัญชันมีความปลอดภัยสูงโดยเฉพาะการบริโภคในรูปแบบอาหาร เช่น จะทำเป็นน้ำหรือทานทั้งตัวดอก หรือจะทำเป็นยำ ทานในปริมาณที่ปกติก็ไม่ได้มีอันตราย แต่ถ้าดื่มน้ำอัญชันเยอะๆแทนน้ำเปล่า แบบนั้นจะอันตราย

ไทยติด 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงสุด

กรมอนามัย เผยประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด แนะผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง และประชาชนทั่วไป หลีกเลี่ยง 8 ประเภทอาหารมีโซเดียมเกินความจำเป็น พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลด หวาน มัน เค็ม เลี่ยงอาหารรสจัด ลดเสี่ยงเป็นโรคไต

เปิดประวัติตลกดัง สู้ชีวิต “โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม”

เปิดประวัติตลกดังสู้ชีวิต ที่หลายคนชื่นชอบ “โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม” หลังจากเสียชีวิตจากโรคไตและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ในวัยเพียง 59 ปี ท่ามกลางความอาลัยรักของคนไทยทั้งประเทศ

กรมอนามัย เผยกินปลาร้าต้องต้มสุก โซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย กินปลาร้าต้องต้มสุก เลือกซื้อปลาร้าจากแหล่งน่าเชื่อถือได้มาตรฐาน และควรกินให้พอเหมาะ เนื่องจากมีโซเดียมสูง หากบริโภคเป็นประจำเสี่ยงเกิดโรคไตได้

สปสช.ไฟเขียวใช้เงิน กปท.หนุนมาตรการลดผู้ป่วยโรคไต

บอร์ด สปสช. ไฟเขียวใช้เงิน กปท. จัดทำโครงการเพื่อลดผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ หนุนนโยบาย “ทศวรรษมาตรการการชะลอไตเสื่อม เพื่อลดผู้ป่วยโรคไตรายใหม่” พร้อมเดินหน้า “มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้บริการไตวายเรื้อรัง” เริ่ม 1

พบแล้ว! ศพหนุ่ม ผจก.แบงก์ลำปาง ลอยแม่น้ำวัง

ลำปาง 2 ต.ค.- พบแล้ว! ศพหนุ่มผู้จัดการธนาคารที่ลำปาง หลังหายจากบ้านนาน 3 วัน ลอยริมฝั่งแม่น้ำวัง ไกลจากตัวสะพาน 4 กม. ญาติเผยคงเครียดป่วยโรคไตจากข้อความบอกลาครอบครัวในโทรศัพท์มือถือ กรณีญาติแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้ช่วยตามหานายวัชชรากร (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี ผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง หลังพบข้อความบอกลาในโทรศัพท์มือถือและหายตัวไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา เกรงว่าจะคิดสั้นจากความเครียดป่วยเป็นโรคไต ไม่อยากเป็นภาระของครอบครัว และพบร่องรอยน่าสงสัยอยู่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำวัง ต.แม่ถอด อ.เถิน เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่ถอด รวมทั้งนักประดาน้ำสมาคมกู้ภัยลำปาง และชาวบ้านช่วยกันค้นอย่างเต็มที่ ล่าสุด (2 ต.ค.) ชุดเจ้าหน้าที่ตระเวนลัดเลาะทั้งสองริมฝั่งแม่น้ำวัง กระทั่งเวลาประมาณ 09.00 น. พบร่างนายวัชชรากร ลอยอยู่ในพื้นที่บ้านสบแก่ง หมู่ 6 ต.แม่ถอด ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 4 กิโลเมตร จึงประสานตำรวจ สภ.เถิน และแพทย์มาตรวจพิสูจน์ในเบื้องต้น ก่อนนำศพไปชันสูตรอีกครั้งที่โรงพยาบาลเถิน เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต.-สำนักข่าวไทย

แพทย์แนะคัดกรองไตวาย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

กรุงเทพฯ15ก.ย.-ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ชี้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ต้องคัดกรองให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาและชะลอการเสื่อมของไตให้นานขึ้น พร้อมเผยกำลังพัฒนาชุดตรวจคัดกรอง หวังกระจายใช้ตาม รพ.สต.เพื่อให้ตรวจคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาของประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 8 ล้านคนและเพิ่มขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะสนับสนุนค่าฟอกไตให้คนไทยทุกคน แต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นถ้าสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็จะช่วยลดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไตในอนาคตได้ “ปกติโรคไตในระยะแรกๆ จะยังไม่ค่อยมีอาการ ไม่บวม ปัสสาวะปกติออกดี จะมีอาการก็ต่อเมื่อเป็นเยอะแล้ว เช่น ไตทำงานลดลงจนต่ำกว่า 30% จนกระทั่งไตทำงานน้อยลงจนต้องฟอกไต แต่หากตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็ว มีโอกาสชะลอการเสื่อม ของไตได้ดีขึ้น” รศ.นพ.ณัฐชัย รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงได้ร่วมกับ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.กิตตินันท์ โกมลภิส สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะหรืออาจจะเรียกว่าเป็นแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง คล้ายๆ แถบตรวจการตั้งครรภ์ เน้นการออกแบบให้ใช้งานง่าย กระจายไปตามชุมชนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ เพื่อให้การคัดกรองมีความครอบคลุมมากขึ้น เจอผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเร็วขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวด้วยว่า การทำงานของแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังจะเคลือบด้วยแอนตี้บอดีที่มีความจำเพาะต่อไข่ขาวในปัสสาวะ […]

ล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ

กทม.28 ส.ค.-สมาคมโรคไตฯ ชี้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 5-10% เริ่มมีอาการเยื่อบุช่องท้องเสื่อมแล้ว จำเป็นต้องใช้เครื่องล้างไตทางช่องท้องอัตโนมัติ เตรียมวิจัยประสิทธิภาพและความคุ้มค่าเสนอ สปสช.เพิ่มเป็นสิทธิประโยชน์ในปีหน้า นพ.สุชาย ศรีทิพยวรรณ เลขาธิการสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรงพยาบาลศิริราช เปิดเผยว่าขณะนี้ทางสมาคมโรคไตฯ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในการศึกษาวิจัยการล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อนำเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ต่อไป นพ.สุชาย กล่าวว่า การล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติก็คือการล้างไตทางช่องท้องชนิดหนึ่ง แต่ใช้เครื่องในการเปลี่ยนถ่ายรอบน้ำยา ทำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำยาได้หลายรอบต่อวัน ส่งผลเปลี่ยนถ่ายของเสียออกมาได้จำนวนมาก ขณะที่การล้างไตทางช่องท้องทั่วๆ ไป ผู้ป่วยเป็นผู้เปลี่ยนถ่ายน้ำยาด้วยตัวเองซึ่งทำได้อย่างมากไม่เกิน 5 รอบ/วัน นพ.สุชาย กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติว่า ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องมาเป็นเวลานานๆ เยื่อบุช่องท้องจะเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ต้องใช้ปริมาณน้ำยาล้างไตมากขึ้น การล้างไตด้วยมือก็จะไม่เพียงพอ ที่ผ่านมา สปสช.ให้สิทธิประโยชน์ล้างไตทางช่องท้องแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมา 13 ปี คนไข้ที่ทำมาเป็นเวลานานๆ ขณะนี้เยื่อบุช่องท้องเริ่มเสื่อมสภาพ มีภาวะสารน้ำและเกลือ มีของเสียคั่งในร่างกาย และต้องใช้น้ำยาล้างไตในปริมาณมากๆ การใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติจะทำให้เพิ่มปริมาณน้ำยาล้างไตได้มากขึ้น ล้างเอาน้ำและเกลือส่วนเกินได้สะอาดขึ้น ข้อดีอีกอย่างคือสามารถทำในขณะที่ผู้ป่วยนอนในเวลากลางคืนได้ จึงสะดวกกับผู้ป่วยที่ต้องไปทำงานในเวลากลางวัน หรือเด็กนักเรียน พอกลางคืนก็นอนพักแล้วให้เครื่องล้างไตทำงานไป “ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติ กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้ป่วยเด็กเพราะเขาต้องไปเรียนหนังสือ ต้องมีกิจกรรมในเวลากลางวัน […]

ชื่นชมหัวใจโชเฟอร์แท็กซี่สู้ชีวิต

กทม.28 ส.ค.-นายกสมาคมเพื่อนโรคไตฯ ชื่นชมหัวใจโชเฟอร์แท็กซี่สู้ชีวิต ต้องเลี้ยงชีพด้วยการขับรถพร้อมกับฟอกไต เผย “บัตรทอง” ให้สิทธิประโยชน์ “ล้างไตผ่านช่องท้อง-ฟอกเลือดด้วยเครื่อง-ปลูกถ่ายไต” ฟรี ขึ้นอยู่กับกรณีและเงื่อนไข ยืนยันสมาคมฯ พร้อมให้คำปรึกษา ผู้ป่วย-ญาติติดต่อได้ทันที นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงข่าวที่ปรากฏในสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์ กรณีโชเฟอร์แท็กซี่ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แต่ยังต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการขับรถไปพร้อมๆ กับการล้างไตในรถ โดยระบุว่า ขอคารวะหัวใจนักสู้ของโชว์เฟอร์แท็กซี่ที่ถึงแม้ว่าร่างกายจะป่วยแต่ก็ยังสู้ชีวิตไม่ยอมให้ตัวเองเป็นภาระของใคร ซึ่งจากข้อมูลพบว่าโชว์เฟอร์รายนี้มีสารพัดโรครุมเร้า อยู่บ้านเช่าคนเดียว ได้รับเพียงเบี้ยคนพิการ 800 บาท เพื่อประทังชีวิตจึงต้องออกมาทำงาน นายธนพลธ์ กล่าวว่า ข่าวที่ปรากฏต่อสาธารณะทำให้มีการตั้งคำถามถึงการให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีฐานะยากจน จึงอยากใช้โอกาสนี้อธิบายถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ทุกวันนี้ครอบคลุมการรักษารวมถึงการฟอกไตโดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสิทธินี้เป็นของคนไทยทุกคน และโชเฟอร์รายนี้ก็เป็นหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับสิทธิดังกล่าว นายธนพลธ์ กล่าวต่อไปว่า โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีวิธีการบำบัดทดแทนไตอยู่ 3 วิธี คือการล้างไตผ่านทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ผู้ป่วยในอดีตจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงการรักษาและต้องเสียชีวิตลง อย่างไรก็ดีตั้งแต่ปี 2551เป็นต้นมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ครอบ คลุมการรักษาทั้ง 3 วิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไข […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคเกาต์กำเริบห้ามบีบนวด จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หากมีอาการปวดกำเริบ ห้ามบีบนวดเด็ดขาด เรื่องนี้จริงหรือไม่ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 อาหารทำร้ายไต จริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ 10 อาหารทำร้ายไต มีทั้งผงชูรส ตับหมู ไข่เยี่ยวม้า ไปจนถึงปาท่องโก๋ เรื่องนี้จริงหรือไม่ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3 4
...