ตั้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินแห่งแรกในแอฟริกา

องค์การอนามัยโลก และเคนยา ร่วมกันเปิดศูนย์กลางการแพทย์ฉุกเฉินแห่งแรกในทวีปแอฟริกา เพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ช่วยประเทศเพื่อนบ้านได้รับยาและเครื่องมือแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น

WHO ถูกวิจารณ์เรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับฝีดาษลิง

ลอนดอน 23 มิ.ย.- นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำวิจารณ์องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่จะตัดสินใจในวันนี้ว่า จะประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลกหรือไม่ โดยระบุว่าโรคนี้เป็นวิกฤตในทวีปแอฟริกามาหลายปีแล้ว ศ.เอ็มมานูเอล นาโกเน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันปาสเตอร์ในสาธารณรัฐแอฟริกากลางที่กำลังทดลองการรักษาโรคฝีดาษลิงกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดโรคในประเทศกำลังพัฒนาจะไม่ถือว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน แต่จะกลายเป็นเรื่องฉุกเฉินต่อเมื่อกระทบกับประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี หาก WHO ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ก็ถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญ เพราะหากมีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะแบ่งปันวิธีการรับมือโรคฝีดาษลิงระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน ทุกประเทศก็จะได้รับประโยชน์ ข้อมูลของรอยเตอร์ระบุว่า มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาแล้ว 3,000 คน ในกว่า 40 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายรักชาย หลังจากพบผู้ป่วยรายแรกในเดือนพฤษภาคม และยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ขณะที่ทวีปแอฟริกาซึ่งมีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นพบผู้เข้าข่ายป่วยราว 1,500 คนตั้งแต่ต้นปี ในจำนวนนี้เสียชีวิต 66 คน คณะกรรมการเหตุฉุกเฉินของ WHO ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจะประชุมกันในวันนี้ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อ ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO ผู้จะตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว่าจะประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขหรือไม่ ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า โรคนี้เข้าเกณฑ์คำนิยามเหตุฉุกเฉินของ WHO เพราะแพร่ระบาดในระดับสากลอย่างฉับพลันและผิดปกติ และต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ.-สำนักข่าวไทย

เบียดกันตายกว่า 30 ศพในงานแจกอาหารที่ไนจีเรีย

อาบูจา 29 พ.ค.- เกิดเหตุมีคนเบียดกันเสียชีวิตมากกว่า 30 คนในงานแจกอาหารของโบสถ์แห่งหนึ่งทางตอนใต้ของไนจีเรียเมื่อวันเสาร์ ตำรวจเผยว่า เหตุเกิดในขณะที่คิงส์แอสเซมบลี ซึ่งเป็นโบสถ์ท้องถิ่นจัดงานแจกอาหารและข้าวของให้แก่ผู้ยากไร้ที่สโมสรโปโลคลับพอร์ตฮาร์คอร์ต รัฐริเวอส์ ฝูงชนจำนวนมหาศาลเบียดเสียดยื้อแย่งกันจนผู้จัดงานไม่สามารถควบคุมได้ เป็นเหตุให้มีคนถูกเบียดเสียชีวิต 31 คน รองเท้าและรองเท้าแตะกระจัดกระจายในที่เกิดเหตุ ภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เห็นหลายครอบครัวร่ำไห้และดูแลคนบาดเจ็บหน้าโรงพยาบาลทหาร ในจำนวนมีเด็กรวมอยู่ด้วย ด้านผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า มีการผลักกันไปมาในช่วงที่ฝูงชนซึ่งพยายามเข้าประตูสถานที่จัดงานถูกบอกให้ถอยหลังไป แต่ถูกกลุ่มคนด้านหลังดันกลับมา จนเกิดการเบียดและเหยียบกัน เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติชี้ว่า สมาชิกโบสถ์นั่งอยู่ในสโมสร และปล่อยให้ฝูงชนด้านนอกเบียดกันเข้ามาผ่านประตูแคบ ๆ จึงเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น ตำรวจได้เปิดการสอบสวนเป็นคดีอาญาแล้ว ขณะที่ตัวแทนโบสถ์ยังไม่ชี้แจงใด ๆ ไนจีเรียเกิดเหตุเบียดกันตายในงานแจกอาหารหลายครั้งในช่วงหลายปีมานี้ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกาแห่งนี้เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของทวีป แต่ข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ประชากร 4 ใน 10 คนมีความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับความยากจนแห่งชาติ หน่วยงานบรรเทาทุกข์หลายแห่งเตือนว่า สถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหารในทวีปแอฟริกาจะยิ่งเลวร้ายลงอีก เพราะสงครามยูเครนทำให้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงแพงยิ่งขึ้นไปอีก.-สำนักข่าวไทย

เปิดลงทะเบียน Thailand Pass สำหรับผู้เดินทางจากแอฟริกา 11 ม.ค.

กรมการกงสุล เริ่มเปิดระบบลงทะเบียน Thailand Pass สำหรับผู้ที่เดินทางจากแอฟริกา 11 ม.ค.นี้ เข้าไทยในแบบ Sandbox และ AQ เท่านั้น

สธ.ตามเจอ 11 คน จาก 8 ประเทศในแอฟริกา

สธ. 2 ธ.ค.-สธ.เร่งตามคนเดินทางจาก 8 ประเทศในแอฟริกาตรวจ RT-PCR ซ้ำ เฝ้าระวังโอไมครอน แม้รับวัคซีน m-RNA ครบ 2 เข็ม ตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าไทย 72 ชั่วโมง ตรวจซ้ำถึงไทยอีก 1 ครั้ง และตรวจ ATK หลังกัก 7 วัน ชี้ 252 คนถือเสี่ยงต่ำ เจอตัว 11 คน เป็นคนทำงานในนิคมอุตสากรรม นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวถึงการติดตามผู้ที่เดินทางเข้าไทยมาจาก 8 ประเทศในแอฟริกาเพื่อมาตรวจหาเชื้อเฝ้าระวังโอไมครอน ว่าขณะนี้จากข้อมูลพบว่าผู้ที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศ ได้แก่ บอตสวานา นามิเบีย เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก ซิมบับเว และแอฟริกาใต้ เข้าไทยมาทั้งหมด 252 คน โดยเป็นผู้เดินทางมาตั้งแต่ […]

ญี่ปุ่นห้ามชาวต่างชาติที่มาจากแอฟริกาแม้มีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่น

โตเกียว 1 ธ.ค.- ญี่ปุ่นจะห้ามชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่นเดินทางเข้าประเทศเป็นระยะเวลาหนึ่ง หากมาจาก 10 ประเทศในทวีปแอฟริกา เป็นการขยายมาตรการจากเดิมที่ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติรายใหม่เดินทางเข้าประเทศทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน นายฮิโรกาสุ มัตสึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงวันนี้ว่า เพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้า รัฐบาลไม่เพียงจำกัดการเข้าประเทศของชาวต่างชาติรายใหม่ แต่จะครอบคลุมถึงชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่นที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ เอสวาตีนี นามิเบีย แซมเบีย มาลาวี โมซัมบิก เลโซโท แองโกลา บอตสวานา และซิมบับเวด้วย ยกเว้นมีเหตุให้ผ่อนผันเป็นพิเศษเท่านั้น และจะปิดพรมแดนประเทศอย่างน้อย 1 เดือน ขณะเดียวกันจะคงสถานะความรู้สึกถึงความเร่งด่วนและติดตามสถานการณ์ในประเทศต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น ส่วนกรณีที่ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนคนแรกของประเทศเป็นนักการทูตนามิเบียเมื่อวันอังคารนั้น ผู้โดยสาร 70 คนที่โดยสารมาในเที่ยวบินเดียวกันและถูกจัดให้เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครแสดงอาการป่วย ญี่ปุ่นเพิ่งผ่อนคลายมาตรการจำกัดพรมแดนเมื่อไม่นานมานี้ แต่หลังจากแอฟริกาใต้พบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอนเป็นแห่งแรกของโลก ญี่ปุ่นได้กลับไปใช้มาตรการเข้มงวดอีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและแกนนำภาคธุรกิจที่แม้บางส่วนอาจได้รับผลกระทบก็ตาม.-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลียยืนยันพบผู้ติดโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว

ซิดนีย์ 28 พ.ย.- ออสเตรเลียยืนยันว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สองคนที่เดินมาจากตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เจ้าหน้าที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลียเผยว่า ผู้ติดเชื้อทั้งสองคนเดินทางมาถึงนครซิดนีย์เมื่อเย็นวันเสาร์ มีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกเมื่อกลางดึกวันเดียวกัน ต่อมาผลการจัดลำดับพันธุกรรมในวันนี้ยืนยันว่า เป็นสายพันธุ์โอไมครอน ทั้งคู่ไม่มีอาการป่วย ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และถูกกักโรคอยู่ ส่วนผู้โดยสารอีก 12 คนที่เดินทางมาจากตอนใต้ของทวีปแอฟริกาเช่นเดียวกันถูกกักโรค 14 วันเช่นเดียวกัน ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือเที่ยวบินเดียวกัน 260 คน ถูกแยกกักตัวดูอาการ การยืนยันวันนี้ทำให้ออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน หลังจากเมื่อวันเสาร์เพิ่งเข้มงวดผู้เดินทางมาจาก 9 ประเทศทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาประกอบด้วย แอฟริกาใต้ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตีนี มาลาวี โมซัมบิก และหมู่เกาะเซเชลส์.-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลียเร่งตรวจโควิดคนเข้าประเทศ

รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลียเร่งตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับคนเดินทางเข้าประเทศในวันนี้ หลังจากพบคนเดินทางมาจากตอนใต้ของทวีปแอฟริกามีผลตรวจเป็นบวก 2 คน

สธ.เสนอห้าม 8 ประเทศในแอฟริกาเข้าไทย คนเดินทางเข้ามาต้องกักตัว 14 วัน

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยหลังองค์การอนามัยโลกออกมาระบุถึงการพบเชื้อโควิด-19 “โอไมครอน” ที่มีการกลายพันธุ์มากถึง 50 ตำแหน่ง ขณะนี้ สธ.เตรียมใช้มาตรการกักตัว 14 วันอีกครั้งในผู้ที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศในแอฟริกา และอาจเสนอห้ามเดินทางเข้าไทย

โควิดระบาดอาจทำให้เอชไอวีระบาดเพิ่มในแอฟริกา

ดาการ์ 3 พ.ย.- สหประชาชาติเตือนว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาดอาจทำให้แอฟริกาตะวันตกและตอนกลางมีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปี เพราะระบบสาธารณสุขสะดุด ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) เผยว่า กำลังประเมินว่าโควิด-19 ระบาดมีผลต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างไร แต่ได้เห็นการสะดุดบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้น จึงค่อนข้างกังวลว่า เมื่อได้รับข้อมูลทั้งหมดของปีนี้อาจได้เห็นยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และอาจได้เห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปี เพราะหลายประเทศมีคนรับการป้องกันการติดเชื้อและตรวจหาเชื้อลดลง และมีผู้ไม่ได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณสุขในแอฟริกาตะวันตกและตอนกลางตึงตัว เพราะรัฐบาลต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปรับมือกับโควิด-19 ขณะที่มาตรการจำกัดการระบาด เช่น ล็อกดาวน์ ทำให้คนถูกจำกัดการเข้าถึงการป้องกันและรักษา ข้อมูลของยูเอ็นเอดส์ระบุว่า ปี 2563 แอฟริกาตะวันตกและตอนกลางมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์มากถึงร้อยละ 22 ของทั้งหมด และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 200,000 คน จากทั้งหมด 1 ล้าน 5 แสนคน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบางอย่างเด็กหญิง สตรี ชายรักเพศเดียวกัน ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้เสพยาเสพติด และผู้ต้องขัง.-สำนักข่าวไทย

เซเนกัลจะผลิตวัคซีนโควิดใช้ในแอฟริกาตะวันตก

แหล่งข่าวเผยว่า เซเนกัล ประเทศในแอฟริกาตะวันตกได้ทำข้อตกลงกับกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพเบลเยียมเรื่องผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เพื่อใช้ในภูมิภาค คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า

1 2 3 4 5 6 8
...